สืบค้นงานวิจัย
พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ บ้านทุ่งนาเรา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ฤชุอร วรรณะ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ บ้านทุ่งนาเรา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง (EN): Behaviors on pesticide application of jasmine growers in Tungnarao village, Koeng sub-district, Maung district, Mahasarakham province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฤชุอร วรรณะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ruchuon Wanna
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรัญญู แก้วดวงตา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Waranyoo Kaewduangta
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากเกษตรกรมีพฤติกรรมในการใช้สารกำจัดศัตรู พืชไม่ถูกต้อง จะส่งผลเสี่ยต่อตัวเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ บ้านทุ่งนาเรา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเก็บร่วบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เกษตรกร 30 คน ซึ่งได้จากวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ระหว่างมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2554 เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ต่ำสุด ค่าสูงสุด และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สถิติ F-test จากผลการวิจัยพบว่าเกษตรกร ผู้ปลูกมะลิส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 70) อายุเฉลี่ย 47 ปี เกษตรกรผู้ปลูกมะลิร้อยละ 56.7 จบการศึกษาระดับชั้นประถม ศึกษา มีรายได้จากการปลูกไม้ดอกเฉลี่ย 7 1,235 บาทต่อปี มีประสบการณ์การปลูกมะลิเฉลี่ย 1 1 ปี เกษตรกรทุกรายปลูกพันธุ์ มะลิลา ปัญหาที่สำคัญในการผลิต คือ ปัญหาปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง โรคและแมลงศัตรูมะลิ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และด้านการตลาด ในด้านพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูมะลิ พบว่าจากประเด็นที่ศึกษาทั้งหมด 29 ประเด็น เกษตรกร ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชทุกครั้งที่มีโอกาสปฏิบัติ มีประเด็นที่ศึกษาเพียง 1 ประเด็นเท่านั้นที่เกษตรกร ปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นบางครั้ง คือ การติดป้ายหรือแจ้งให้บุคคลอื่นทราบว่าเป็นพื้นที่ที่พึ่งทำการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิบ้านทุ่งนาเราที่มีระดับการศึกษารายได้ และประสบการณ์ในการปลูกมะลิ ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่เกษตรกรที่ มีอายุแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชแตกต่างกันทางสถิติในบางประเด็น
บทคัดย่อ (EN): At present, pesticides have been widely used. If the jasmine growers use incorrectly, it will affect themselves, consumers and the environment. The purpose of this research was to study behaviors on pesticide application of jasmine growers in Tungnarao village, Koeng sub-district, Maung district, Mahasarakham Province. The samples of 30 jasmine growers were interviewed by the purposive sampling method during June – July 2011 using questionnaire as a tool for data collection. The frequency, percentage, average, minimum, maximum and standard deviation were analyzed. Behaviors on pesticide application of jasmine growers were compared by F-test. The study revealed the following findings: the majority of jasmine growers were females (70%) with an average age of 47 year olds; 56.7% of jasmine growers graduated from elementary education and grower’s households had average income from flower production of 71,235 baht per year. They had average 11 years of jasmine planting experience. Malila variety were grew (100%). The main jasmine production problems were high price of production inputs, plant diseases and insect pests, low soil fertility and marketing. The results revealed that the jasmine growers followed recommended pesticide application behaviors on 29 items studied. Only one item, some growers practiced is that putting up sign or announces to make known that the area is just pesticide sprayed. Jasmine growers with different education level age, incomes and planting experiences were not statistically different in pesticide application behaviors but with age there was statistically different in some items of pesticide application behaviors.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P_018.pdf&id=1657&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ บ้านทุ่งนาเรา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ฤชุอร วรรณะ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่น ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน ผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อการสร้างเอนไซม์ของเชื้อราก่อโรคแมลง Metarhizium anisopliae PSUM04 ในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยการจัดทำบัญชีครัวเรือน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านป่าไผ่ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สถานะของกำมะถันในดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและผลของปุ๋ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลของสารกำจัดวัชพืชเมื่อใช้ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง ประสิทธิผลของโปรแกรมการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มสตรีเกษตรกร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถแห่งตน ในพื้นที่ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก