สืบค้นงานวิจัย
รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย
เบญจมาส รสโสภา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Carbon footprint and mitigation emission in major rice production system in Thailand: Methane emission from rice field
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบญจมาส รสโสภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Benjamas Rossopa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบนาข้าวที่สำคัญของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัยรอยเท้าคาร์บอนจากระบบการผลิตข้าว ในปี พ.ศ.2555 ดำเนินการวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกใน 4 นิเวศ ได้แก่ ข้าวไร่ นาน้ำฝน นาชลประทาน ที่มีการจัดการแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และนาชลประทาน ที่มีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง วัดโดยใช้กล่องดักก๊าซทุกสัปดาห์ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แล้วนำตัวอย่างก๊าซมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซ ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ระบบการปลูกข้าวไร่ของประเทศไทยเป็นแหล่งดูดซับก๊าซมีเทนได้ในอัตรา 0.176 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู ในพื้นที่นาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ในอัตรา 85.26 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู โดยวิธีปลูกแบบปักดำ และในอัตรา 51.64 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู สำหรับวิธีหว่านข้าวงอก ข้าวนาชลประทาน ภายใต้การจัดการน้ำให้ขังตลอดเวลา อัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ยของข้าวทั้ง 6 พันธุ์ คือ 43.42 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู พื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทานที่มีการจัดการแบบเกษตรดีที่เหมาะสม และนาชลประทานที่มีการจัดการน้ำ มีการการปลดปล่อยก๊าซมีเทน 6.31 และ 8.42 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู ตามลำดับ จากการวิเคราะห์รอยเท้าคาร์บอน โดยใช้ค่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงทดลองของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีและแบบสัมภาษณ์ของเกษตรกร พบว่า ตลอดกระบวนการผลิตข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 5.79 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อย่างไรก็ตามการวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวเป็นเพียงผลการทดลองเบื้องต้นเท่านั้น การวิเคราะห์รอยเท้าคาร์บอน ทั้ง 4 ระบบผลิตข้าว จำเป็นต้องมีทั้งข้อมูลจากแปลงทดลองและสัมภาษณ์เกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องในการประเมินและใช้ประโยชน์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Measurement of methane emission from rice production systems is a methodology for data collection of Carbon Footprint from rice production system. Four major rice production systems were defined for methane emission measurement in 2012, including upland rice, rainfed rice, irrigated rice with Good Agricultural Practices (GAP) and irrigated rice with alternative wet and dry (AWD). Gas samples were taken one week interval and analyzed with Gas Chromatograph; GC-8A as soon as possible after collection. Results found that upland rice could absorb CH4 at the rate of 0.028 kg methane ha-1season-1 whereas rainfed rice production system in Northeast Thailand emitted CH4 at the rate of 85.26 kg rai-1season-1 under transplanting and 51.64 kg rai-1 season-1 under broadcasting method. Gas samples from six irrigated rice varieties under continuous flooding emitted CH4 at the rate of 43.42 kg rai-1season-1 while irrigated rice with GAP and irrigated rice with AWD emitted CH4 at the rate of 6.31 kg rai-1season-1 and 8.42 kg rai-1 season-1, respectively. The CH4 emission rate from Prachinburi Rice Research Center’s experimental plot with farmer practices for irrigated rice production indicated that to produce one kg of irrigated rice, greenhouse gases would be emitted at the rate of 5.79 kg CO2 eq. However, this preliminary result of four major rice productions needs more data collection either from field experiment or farmer interview before making a final conclusion.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329850
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย
กรมการข้าว
2556
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: ย้อนรอยการวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี โรคของวัชพืชที่สำคัญในนาข้าวเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากพลวัตของอินทรียวัตถุในนาข้าว ผลของการจัดการน้ำต่อการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี แนวทางส่งเสริมการปลูกข้าวตามความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดพัทลุง คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก