สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คมน์ ศิลปาจารย์, นพดล ภูวพานิช, รัชดาภรณ์ เอี่ยมสำอางค์, ธเนศ พุ่มทอง, คมน์ ศิลปาจารย์, นพดล ภูวพานิช, รัชดาภรณ์ เอี่ยมสำอางค์, ธเนศ พุ่มทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่อง (EN): The study on distribution of sea cucumber in Prachuap Khiri Khan coast
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คำนำ ปลิงทะเล นับเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมบริโภคกันมาแต่ในอดีตโดยถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง เช่นเดียวกับรังนกนางแอ่น หรือ หูฉลาม ชาวจีนนิยมบริโภคปลิงทะเลในช่วงเทศกาลที่สำคัญ เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาล ตรุษจีน โดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ รวมทั้งมีสรรพคุณในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง(Lymphoma) รวมทั้งสามารถใช้รักษาโรคไต ปัจจุบันมีการนำปลิงทะเลมาสกัดและบรรจุภัณฑ์ในรูปยาเม็ด และแคปซูล ผลการศึกษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่าปลิงทะเลมีองค์ประกอบของ Polysaccharide condroiton sulfate ซึ่งใช้เป็นยาแก้โรคปวดข้อ (Arthritis pain) และเป็นยารักษาอาการอักเสบกล้ามเนื้อกระดูก (Anti-inflammatory) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านไวรัสได้อีกด้วย ปลิงทะเลยังมีสาร Saponin glycosides ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายที่พบในโสม ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งมะเร็ง ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการเรียกปลิงทะเล ว่าเป็นโสมทะเล จากสรรพคุณดังกล่าวทำให้มีการเก็บเกี่ยวปลิงทะเลจากธรรมชาติจากแหล่งต่างๆทั่วโลก เพื่อส่งออกมายังตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนและ ญี่ปุ่น จนผลผลิตปลิงทะเลมีแนวโน้มลดลง ทำให้ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย มีการพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลิงทะเลขึ้นมาเพื่อทำการเพาะเลี้ยง หรือปล่อยกลับคืนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปลิงทะเลในแหล่งธรรมชาติ อย่างไรก็ตามทรัพยากรปลิงทะเลในประเทศไทยอยู่ในภาวะที่อันตราย เนื่องจากมีการทำการประมงปลิงทะเลโดยขาดการควบคุม ทำให้มีจำนวนปลิงทะเลในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสภาวะของทรัพยากรปลิงทะเลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสามารถจัดการ และวางแผนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กรมประมง
31 มีนาคม 2552
กรมประมง
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของปลิงทะเล บริเวณแหลมทุ่งทรายตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อิทธิพลของฤดูกาลต่อการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งจังหวัดระยอง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ความชุกชุมและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณชายฝั่งตั้งแต่ เกาะสาหร่ายถึง ต.ปูยู จังหวัดสตูล ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อน ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ความชุกชุมและการแพร่กระจายของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนในเขตมาตรการห้ามอวนลาก อวนรุน และพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การศึกษาความหนาแน่นและการแพร่กระจายสัตว์น้ำทางฝั่งทะเล อันดามันด้วยวิธีไฮโดรอะคูสติก สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากเรือสำรวจประมงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก