สืบค้นงานวิจัย
การค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอสำหรับบ่งชี้ลักษณะการสูญเสียน้ำของเนื้อในสุกรสายพันธุ์ทางการค้า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอสำหรับบ่งชี้ลักษณะการสูญเสียน้ำของเนื้อในสุกรสายพันธุ์ทางการค้า
ชื่อเรื่อง (EN): Identification and development of molecular DNA markers for muscle drip loss trait in commercial pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ (candidate genes) ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสูญเสียน้ำของเนื้อ (drip loss) ในสุกรสายพันธุ์ ทางการค้า โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอของยีนเป้าหมาย จำนวน 4 ยีน ประกอบด้วย Ryanodine receptor (RYR), Protein kinase, AMP-activated, gamma 3 non-catalytic subunit (PRKAG3), Insulin-like growth factor 2 (IGF2) และ Leptin (LEP) ต่อลักษณะ drip loss พบว่า เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอของยีน LEP ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกร ทั้งในสุกรพันธุ์ Duroc และสายพันธุ์ลูกผสม 3 สาย (Large White ? Landrace ? Duroc) สำหรับ ยีน IGF2 มีความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกรสายพันธุ์ลูกผสม 3 สาย นอกจากนี้ยีน PRKAG3 มีความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกรพันธุ์ Duroc และยีน RYR มี ความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อทั้งในสุกรพันธุ์ Duroc และสายพันธุ์ลูกผสม 3 สาย อีก ทั้งผู้วิจัยยังได้ศึกษาผลการทำงานร่วมกันของ 2 เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอกับลักษณะการสูญเสีย น้ำของเนื้อ (drip loss) ผลการวิจัยพบว่า ยีน LEP ? IGF2 และ LEP ? RYR มีความสัมพันธ์กับ ลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกรสายพันธุ์ลูกผสม 3 สาย สำหรับยีน LEP ? PRKAG3 มี ความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกรพันธุ์ Duroc นอกจากนี้ยีน IGF2 ? PRKAG3, IGF2 ? RYR และ PRKAG3 ? RYR มีความสัมพันธ์กับลักษณะ drip loss ของเนื้อสุกรทั้งในสุกร พันธุ์ Duroc และสายพันธุ์ลูกผสม 3 สาย
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to identify and develop molecular DNA markers for muscle drip loss in commercial pigs. The association of drip loss among target genes: Ryanodine receptor (RYR), Protein kinase, AMP-activated, gamma 3 non-catalytic subunit (PRKAG3), Insulin-like growth factor 2 (IGF2) and Leptin (LEP) were found that there was no association between DNA molecular marker of LEP and drip loss in Duroc and crossbred (Large White ? Landrace ? Duroc). IGF2 gene was associated with drip loss in crossbred, PRKAG3 was associated with drip loss in Duroc, and RYR gene was associated with drip loss in both Duroc and crossbred. In addition, the researchers studied the results of combination with 2 DNA molecular markers on drip loss, found that LEP ? IGF2 genes and LEP ? RYR genes was associated with drip loss in crossbred. LEP ? PRKAG3 genes was associated with drip loss in Duroc. Moreover IGF2 ? PRKAG3, IGF2 ? RYR genes and PRKAG3 ? RYR genes was associated with drip loss in both Duroc and crossbed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอสำหรับบ่งชี้ลักษณะการสูญเสียน้ำของเนื้อในสุกรสายพันธุ์ทางการค้า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2554
การค้นหา และพัฒนาชุดเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ สำหรับบ่งชี้ลักษณะ การเจริญเติบโต และปริมาณเนื้อแดง ในสุกรสายพันธุ์ทางการค้า การค้นหา และพัฒนาชุดเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ สำหรับบ่งชี้ลักษณะการเจริญเติบโต และปริมาณเนื้อแดง ในสุกรสายพันธุ์ทางการค้า ระยะที่ 2 โครงการนำร่องการจัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์สุกร เพื่อรับรองสถานภาพปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอหิวาต์สุกรเพื่อการส่งออก การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเพื่อการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุล อาร์เอพีดี การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทองไทย 29 สายพันธุ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ AFLP การวิเคราะห์หาเครื่องหมายโมเลกุลบ่งชี้ลักษณะยีนต้านทานโรคเมล็ดสีม่วงในถั่วเหลือง ระดับโภชนะที่เหมาะสมในอาหารสำหรับสุกร4)สุกรเล็ก(นน. 50-90กก.) ระดับโภชนะที่เหมาะสมในอาหารสำหรับสุกร4)สุกรเล็ก(นน.10-20 กก.) การสร้างสุกรพันธุ์แลนด์เรซของกรมปศุสัตว์ ระดับโภชนะที่เหมาะสมในอาหารสำหรับสุกร 3.ลูกสุกรหย่านม (นน.ประมาณ5-10 กก.)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก