สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบปรุงรสไขมันต่ำ
รัตนภัทร มะโนชัย - มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบปรุงรสไขมันต่ำ
ชื่อเรื่อง (EN): The Product Development of Low-fat Seasoned Baking Cricket
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนภัทร มะโนชัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สำหรับจิ้งหรีดทอดปรุงรส ผู้บริโภคจำนวน 150 คน ในช่วงอายุ 10 -60 ปี เขตพื้นที่จังหวัดลำปาง พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดทอดแต่ไม่บ่อยมักและมักเลือกซื้อเนื่องจากรสชาติดี ตลาดนัดคือแหล่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายที่สุด ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความเห็นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือใช้ผงปรุงรสปาปริก้า และบรรจุในกระปุกพลาสติคปริมาณ 100 กรัมในราคา 20 บาท จากการศึกษากระบวนการแปรรูปจิ้งหรีดก่อนการปรุงรส 4 วิธี ( คั่วไม่อบ, คั่วอบ, ทอดไม่อบและทอดอบ ) พบว่า วิธีทอดและอบเป็นวิธีที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีที่สุดและได้รับการยอมรับ ทางด้านประสาทสัมผัส มีปริมาณความชื้นร้อยล8.35 ความแข็ง 42.33 นิวตัน แต่ประมาณไขมันสูงที่สุด (ร้อยละ50.29 ) รองลงมาคือ ทอดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเลือกวิธีทอดเพียงอย่างเดียว( ความชื้นร้อยละ 37.85 ไขมัน 17.01 และความแข็ง 50.41 นิวตัน) มาศึกษาปริมาณผงปรุงรส ที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยพบว่า ปรืมาณผงปรุงรสร้อยละ 9 ได้รับการยอมรับและมีคุณภาพดี และผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3 วัน ณ อุณหภูมิห้อง ภายใต้กระปุกพลาสติคประเภทโพลีเอทิลีนชนิดฝาเกลียวปิดสนิท
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-12-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-11-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบปรุงรสไขมันต่ำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30 พฤศจิกายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีไขมันต่ำเสริมใยอาหาร การอนุรักษ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะคร้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สาหร่ายแผ่นปรุงรส การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาปรุงรส โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าว สมบัติเชิงหน้าที่และศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวคุณภาพต่ำในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก การพัฒนารูปแบบการศึกษาและประเมินศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมน้ำตาล ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP) กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ผลของสารทดแทนไขมันประเภทใยอาหารต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สวรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากเนื้อไก่ไข่ปลดระวาง 2554A17003023 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.)  เพื่อลดไขมันในเลือด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก