สืบค้นงานวิจัย
การใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้
อ.ดร.เกรียง กาญจนวตี - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้
ชื่อเรื่อง (EN): The use of Rhabditida nematodes as biocontrol agents for controlling pest snails in orchid farms
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อ.ดร.เกรียง กาญจนวตี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้” แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี อ.ดร.เกรียง กาญจนวตี เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้ได้มาซึ่งไส้เดือนฝอยที่สามารถนำไปใช้ควบคุมการแพร่ระบาดของหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทราบชนิดของไส้เดือนฝอย แบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไส้เดือนฝอย และหอยทากศัตรูพืช และ 3) ได้วิธีการเลี้ยงไส้เดือนฝอยและหอยทากอย่างมีประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาวิจัย พบหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ หอยทาก Y, J,MS และ MB และได้ระบุชนิดพบว่าคือ Succinea horticola, Vertigo sp., Kaliella sp. และVallonia sp. ตามลำดับ เมื่อศึกษาประชากรหอยทากศัตรูพืชพบว่า สวนกล้วยไม้จังหวัดนครปฐมและปทุมธานีมีค่าเฉลี่ยของหอยทาก MS ต่อต้นสูงกว่าหอยทากชนิดอื่น ในขณะที่สวนกล้วยไม้จังหวัดนนทบุรีมีค่าเฉลี่ยของหอยทาก MS ต่อต้นลดลง แต่มีค่าเฉลี่ยของหอยทาก MB และ J เพิ่มขึ้นแทน เนื่องจากมีการปลูกกล้วยไม้สกุลช้างควบคู่กับสกุลแวนด้า โดยกล้วยไม้ในกลุ่มช้างมีจำนวนหอยทากเฉลี่ยต่อต้นมากกว่ากล้วยไม้ในกลุ่มแวนด้า และกล้วยไม้ช้างจะมีค่าเฉลี่ยหอยทาก MB และ J มากกว่าหอยทาก MS ขณะที่กล้วยไม้แวนด้าจะมีค่าเฉลี่ยหอยทาก MS มากกว่าหอยทาก MB และ J ประชากรหอยทากศัตรูพืชทุกชนิดมีแนวโน้มลดลงในเดือนกุมภาพันธ์และพฤษภาคม ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนที่ลดลงและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว การเลี้ยงหอยทากในห้องปฏิบัติการ ผู้วิจัยสามารถเลี้ยงหอยทาก Y และ MB ได้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงหอยทาก MS และ J ได้ จากการคัดเลือกผู้วิจัยได้ไส้เดือนฝอยที่เลี้ยงได้ในห้องปฏิบัติการทั้งหมด 42 สายพันธุ์ โดยไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 2B8 และ 13C12 คือ Diploscapter coronatus สามารถก่อโรคในหอยทาก Y, J และ MB ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 คือ Cephalobus cubaensis สามารถก่อโรคในหอยทาก Y และ MS และไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 คือ Panagrolaimus sp. สามารถก่อโรคในหอยทาก Y, J และ MS แต่เนื่องจาก D. coronatus สามารถก่อโรคในคนได้จึงไม่สามารถนำไปใช้จริงในสวนกล้วยไม้ได้ เนื่องจากความสามารถในการก่อโรคของไส้เดือนฝอยขึ้นกับแบคทีเรีย ผู้วิจัยจึงได้แยกและระบุชนิดของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ร่วมกับไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 และ 16B3 และแบคทีเรียจากหอยทากที่ก่อโรคโดยไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 หรือ 16B3  นอกจากนี้จากการศึกษาไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 13C12 พบแบคทีเรียสายพันธุ์ 13C12_13 ซึ่งอยู่ในสกุล Delftia ซึ่งพบได้ในน้ำที่ใช้เก็บไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 13C12 ระยะ infective juvenile สามารถหลั่งสารที่มีฤทธิ์ในการกำจัดหอยทากศัตรูพืชทุกชนิดได้ จากการทดลองในสวนกล้วยไม้ หอยทาก MS สามารถใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 จำนวน 10,000 ตัว/mL หรือ 16B3 จำนวน 25,000 ตัว/mL ใน 0.3 g/L xanthan gum และ 0.3 g/L tween 80  โดยใช้ปริมาตร 50 mL จากนั้นใส่กาบมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็ม เป็นเวลา 6 วัน โดยสำหรับหอยทาก J สามารถใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 จำนวน 10,000 ตัว/mL ใน0.3 g/L xanthan gum และ 0.3 g/L tween 80 โดยใช้ปริมาตร 50 mL เป็นเวลา 6 วัน โดยสำหรับหอยทาก Y  สามารถกำจัดได้โดยการเพิ่มความชื้นในกระถางกล้วยไม้โดยการใส่ใยมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็ม เป็นเวลา 6 วัน โดยสำหรับหอยทาก MB สามารถกำจัดได้โดยการใช้แบคทีเรีย Delftia sp. สายพันธุ์ 13C12_13 ที่เลี้ยงในอาหารเหลว NB เป็นเวลา 7 วัน ผสมกับ 0.3 g/L xanthan gum และ 0.3 g/L tween 80 โดยไม่มีกาบมะพร้าวในกระถางกล้วยไม้ เป็นเวลา 6 วัน แต่หากกระถางกล้วยไม้มีกาบมะพร้าว การเพิ่ม0.1 M Tris-Cl buffer ที่ pH 9.0 จะช่วยให้แบคทีเรีย Delftia sp. สายพันธุ์ 13C12_13 คงประสิทธิภาพในการกำจัดหอยทาก MB เช่นเดิม ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ได้ไส้เดือนฝอยและวิธีการใช้ไส้เดือนฝอยที่สามารถนำมาใช้ในสวนกล้วยไม้เพื่อกำจัดหอยทากศัตรูพืช และได้กระบวนการเลี้ยงหอยทากและไส้เดือนฝอยในห้องปฏิบัติการ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-08-03
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-08-02
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 สิงหาคม 2559
การศึกษาความหลากหลายของกล้วยไม้ที่พบในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยาด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิค AFLP (Amplified Fragment Length Polymorphism) สารชีวภัณฑ์ผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ความเป็นไปได้ในการใช้แตนเบียนและไส้เดือนฝอยในการควบคุมแมลงวันบ้านในปศุสัตว์ ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก การใช้สารป้องกันรังสีอาทิตย์เคลือบไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าทำลายแมลงอาศัยหนอนกินรังผึ้ง Galleria mellonella (Linnaeus)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก