สืบค้นงานวิจัย
องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชทะเล และแพลงก์ตอนสัตว์ทะเล บริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง
ธรรมรัตน์ เลิศเกียรติรัชตะ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชทะเล และแพลงก์ตอนสัตว์ทะเล บริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่อง (EN): Species Composition of Marine Phytoplankton and Marine Zooplankton at Artificial Reef Area of Ban Ko Muk, Trang Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธรรมรัตน์ เลิศเกียรติรัชตะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thammarat Leartkiatratchata
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: ศึกษาองค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ บริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง โดยรวบรวมตัวอย่างจาก 4 เที่ยวเรือ เที่ยวเรือละ 4 ซ้ำ ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือน ธันวาคม ปี 2557 และเมษายน ปี 2558) และช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เดือนมิถุนายน และกันยายน ปี 2558) ด้วยถุงขนาดช่องตา 21 ไมโครเมตร สำหรับแพลงก์ตอนพืช และถุงขนาดช่องตา 330 ไมโครเมตร สำหรับ แพลงก์ตอนสัตว์และปลาวัยอ่อน ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 100 ชนิด 48 สกุล โดยช่วงลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ พบแพลงก์ตอนพืชบริเวณผิวน้ำ 61 ชนิด 34 สกุล บริเวณกลางน้ำ 44 ชนิด 22 สกุล และ บริเวณพื้นน้ำ 60 ชนิด 33 สกุล ช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบแพลงก์ตอนพืชบริเวณผิวน้ำ 70 ชนิด 39 สกุล บริเวณกลางน้ำ 62 ชนิด 34 สกุล และบริเวณพื้นน้ำ 62 ชนิด 33 สกุล ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชที่พบ ทั้งหมดเท่ากับ 5,671-25,070 เซลล์ต่อลิตร โดยในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหนาแน่นเฉลี่ยบริเวณ ผิวน้ำ กลางน้ำ และพื้นน้ำ เท่ากับ 6,062 เซลล์ต่อลิตร 13,493 เซลล์ต่อลิตร และ 14,243 เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ ชนิดแพลงก์ตอนพืชที่มีความหนาแน่นสูง ได้แก่ Oscillatoria erythraea, Pseudoanabaena sp. ,Chaetoceros pseudocurvisetus, Chaetoceros compressus, Thalassionema nitzschioides และ Bacteriastrum furcatum ความหนาแน่นเฉลี่ยของแพลงก์ตอนพืชในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณผิวน้ำ กลางน้ำ และพื้นน้ำ เท่ากับ 8,982 เซลล์ต่อลิตร 23,007 เซลล์ต่อลิตร และ 17,942 เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ โดยชนิดที่มีความหนาแน่นสูง ได้แก่ Oscillatoria erythraea, Thalassionema frauenfeldii, Pseudoanabaena sp., Thalassionema nitzschioides และ Pseudonitzschia spp. ซึ่งพบว่าแพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มากกว่า ช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แพลงก์ตอนสัตว์พบทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 54 ชนิด 46 สกุล และระยะวัยอ่อนของสัตว์ทะเล 23 กลุ่ม ช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบแพลงก์ตอนสัตว์ 39 ชนิด 33 สกุล ระยะวัยอ่อนของสัตว์ทะเล 19 กลุ่ม ช่วง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบแพลงก์ตอนสัตว์ 44 ชนิด 40 สกุล ระยะวัยอ่อนของสัตว์ทะเล 18 กลุ่ม แพลงก์ตอนสัตว์มี ความหนาแน่นรวมเท่ากับ 53,795-209,494 ตัวต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีความ หนาแน่นเฉลี่ย 119,151 ตัวต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร โดยกลุ่มโคพีพอดมีความหนาแน่นสูงสุด และแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความหนาแน่นสูง ได้แก่ Sagitta spp., Acartia spp., Oithona sp., Subeucalanus sp., Paracalanus sp., Centropages spp. และ Proboscidactyla ornata แพลงก์ตอนสัตว์ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความ หนาแน่นเฉลี่ย 130,820 ตัวต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร โดยกลุ่มโคพีพอดหนาแน่นสูงสุด และแพลงก์ตอนสัตว์ที่ มีความหนาแน่นสูง ได้แก่ เคย Lucifer sp. ระยะ mysis, Acartia spp., Subeucalanus sp., Acrocalanus spp., Centropages spp., Sagitta spp. และ เคย Lucifer sp. ระยะ protozoea พบว่าแพลงก์ตอนสัตว์ในช่วง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความหนาแน่นมากกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบมีไข่ปลา จำนวน 669 ฟองต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เป็นไข่ปลากะตักมากที่สุดเท่ากับ 406 ฟอง ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 60.68 โดยในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบไข่ปลา จำนวน 413 ฟองต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เป็นไข่ปลากะตักมากที่สุดเท่ากับ 293 ฟองต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 71.00 และในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบไข่ปลา จำนวน 924 ฟองต่อพื้นที่10 ตารางเมตร เป็นไข่ปลากะตัก มากที่สุดจำนวน 518 ฟองต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 56.00 ปลาวัยอ่อนพบทั้งหมด 13 วงศ์ ที่พบมาก ได้แก่ วงศ์ปลากะตัก ร้อยละ 63.35 รองลงมาได้แก่ วงศ์ปลาบู่ และปลาสีกุน ร้อยละ 6.67 และ 2.09 ตามลำดับ โดยพบปลาวัยอ่อนในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ 11 วงศ์ วงศ์ที่พบมาก ได้แก่ วงศ์ปลาบู่ ร้อยละ 40.37 รองลงมาได้แก่ วงศ์ปลาดอกหมาก ปลากระบี่ และปลาสีกุน ร้อยละ 12.30 8.97 และ 8.30 ตามลำดับ ส่วนในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบปลาวัยอ่อนทั้งหมด 7 วงศ์ วงศ์ที่ พบมาก ได้แก่ วงศ์ปลากะตัก ร้อยละ 72.50 รองลงมาได้แก่ วงศ์ปลาบู่ และปลาสีกุน ร้อยละ 1.59 และ 1.15 ตามลำดับ ความชุกชุมของปลาวัยอ่อนรวมทุกวงศ์ พบเฉลี่ย 271 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร โดยพบปลาวัยอ่อนชุกชุม มากในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เฉลี่ย 471 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร ส่วนในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบ เฉลี่ย 71 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร ค่าเฉลี่ยของคุณภาพน้ำทะเลทั่วไป พบว่ามีความลึกน้ำทะเล อยู่ในช่วง 16-22 เมตร ความโปร่งแสง เท่ากับ 8.94 เมตร อุณหภูมิ เท่ากับ 30.82 องศาเซลเซียส ความเค็ม เท่ากับ 31.96 psu ความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 8.48 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เท่ากับ 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ยของความโปร่งแสง อุณหภูมิ ความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เท่ากับ 8.50 เมตร 31.07 องศาเซลเซียส 31.85 psu 8.73 และ 4.30 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนในช่วงลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ มีค่าเฉลี่ยของความโปร่งแสง อุณหภูมิ ความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เท่ากับ 9.38 เมตร 30.57 องศาเซลเซียส 32.07 psu 8.23 และ 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study of species compositions of marine phytoplankton and zooplankton at artificial reef area in Ban Ko Muk of Trang Province was conducted by 4 cruises sampling, 4 replications each, during the northeast monsoon season (December 2014 and April 2015) and the southwest monsoon season (June and September 2015). Samples of phytoplankton were collected using 21 micrometer-mesh-size plankton net, while those of zooplankton and fish larvae were collected using 330 micrometer-mesh-size plankton net. From the study, a total of 100 species and 48 genera of phytoplankton was found. Regarding the northeast monsoon season, 61 species and 34 genera were found at surface water, 44 species and 22 genera were found at middle layer water and 60 species and 33 genera were found at bottom water. Regarding the southwest monsoon season, 70 species and 39 genera were found at surface water, 62 species and 34 genera were found at middle layer water and 62 species and 33 genera were found at bottom water. Their density was found at 5,671-25,070 cells/litre. Regarding the northeast monsoon season, their average density in surface, middle layer and bottom waters were 6,062 13,493 and 14,243 cells/litre, respectively, with Oscillatoria erythraea, Pseudoanabaena sp., Chaetoceros pseudocurvisetus, Chaetoceros compressus, Thalassionema nitzschioides and Bacteriastrum furcatum as their high-density species. Regarding the southwest monsoon season, the average densities of phytoplankton at surface, middle layer and bottom waters were 8,982, 23,007 and 17,942 cells/litre, respectively, with Oscillatoria erythraea, Thalassionema frauenfeldii, Pseudoanabaena sp., Thalassionema nitzschioides and Pseudonitzschia spp. as their high-density species. The density of phytoplankton in the southwest monsoon season was found higher than that in the northeast monsoon season. At least 54 species and 46 genera of zooplankton and 23 groups of marine larvae were found in the study area with their density of 53,795-209,494 ind/1000 m3. Regarding the northeast monsoon season, there were 39 species and 33 genera of zooplankton and 19 groups of marine larvae with their average density of 119,151 ind/1000 m3, dominated by copepod, and high density of Sagitta spp., Acartia spp., Oithona sp., Subeucalanus sp., Paracalanus sp., Centropages spp. and Proboscidactyla ornata. Regarding the southwest monsoon season, there were 44 species and 40 genera of zooplankton and 18 groups of marine larvae with their average density of 130,820 ind/1000 m3, dominated by copepod, and high density of Lucifer sp. (mysis),Acartia spp., Subeucalanus sp., Acrocalanus spp., Centropages spp., Sagitta spp. and Lucifer sp. (protozoea). Abundance of fish eggs was 699 ind/10 m2, dominated by 60.68% of anchovy eggs which was 406 ind/10 m2. Regarding the northeast monsoon season, average density of fish eggs was 413 ind/10 m2 dominated by 71.00% of anchovy eggs which was 293 ind/10 m2. Regarding the southwest monsoon season, average density of fish eggs was 924 ind/10 m2 dominated by 56.00% of anchovy eggs which was 518 ind/10 m2. A total of 13 families of fish larvae was found, dominated by 63.35% of Engraulidae, 6.67% of Gobiidae and 2.09% of Carangidae. Eleven families of fish larvae were found in the northeast monsoon season, dominated by 40.37% of Gobiidae, 12.30% of Gerreidae, 8.97% of Blenniidae and 8.30% of Carangidae. Seven families of fish larvae were found in the southwest monsoon season, dominated by 72.50% of Engraulidae, 1.59% of Gobiidae, and 1.15% of Carangidae. Abundance of fish larvae was 271 ind/10 m2, those of which were found in the southwest monsoon season (471 ind./10 m2) more than in the northeast monsoon season (71 ind./10 m2). Water depth in the study area was 16-22 m, transparency was 8.94 m, temperature was 30.82 oC, salinity was 31.96 psu, pH was 8.48 and dissolved oxygen was 5.00 mg/l. Transparency, temperature, salinity, pH and dissolved oxygen during the northeast monsoon season were 8.50 m, 31.07 oC, 31.85 psu, 8.73 and 4.30 mg/l, while those during the southwest monsoon season were 9.38 m, 30.57 oC, 32.07 psu, 8.23 and 5.00 mg/l, respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 58-0411-58002
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/details.php?id=392
พื้นที่ดำเนินการ: แหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนธันวาคม ปี 2557 และเมษายน ปี 2558 เดือนมิถุนายน ปี 2558 และ กันยายน ปี 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-26T08:48:22Z No. of bitstreams: 1 12-2562 องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชทะเล ธรรมรัตน์.pdf: 923775 bytes, checksum: c66d271b393cf3ea0358780ba980dca8 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชทะเล และแพลงก์ตอนสัตว์ทะเล บริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอน ในแม่น้ำชี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านเกาะมุก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ชนิด และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี การใช้แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นดัชนีชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบางพระจังหวัดชลบุรี ประชาคมแพลงก์ตอนในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก