สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นฤทัย วรสถิตย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): The Development of Irrigation and Plant Nutrition Technology for Increasing Oil Palm Production in North-Eastern Region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นฤทัย วรสถิตย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 แห่ง ทำการทดสอบการจัดการน้ำและธาตุอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการจัดการน้ำและธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับสวนปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียง ดำเนินการในแปลงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุ 6-8 ปี จำนวน 16 แปลง แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 การทดลอง set X จำนวน 12 แปลง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี และภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร และอุดรธานี เพื่อเปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยและให้น้ำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) กับการใส่ปุ๋ยและให้น้ำตามวิธีเกษตรกร(กรรมวิธีที่ 2) ชุดที่ 2 การทดลอง set Y จำนวน 4 แปลง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ มุกดาหาร หนองคาย และนครพนม เพื่อเปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยและให้น้ำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรและให้น้ำตามวิธีเกษตรกร(กรรมวิธีที่ 2) การใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกรและให้น้ำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 3) และการใส่ปุ๋ยและให้น้ำตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 4) ลักษณะดินของแปลงทดสอบส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและดินทรายปนร่วนพันธุ์ปาล์มน้ำมันในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุราษฏร์ธานี 1 2 3 4 5 และ 6 ขณะที่แปลงของเกษตรกรเป็นพันธุ์อุติและพันธุ์ที่บริษัทเอกชนนำมาจำหน่าย แต่ไม่สามารถระบุชื่อพันธุ์ ส่วนใหญ่เกษตรกรใส่ปุ๋ยในปริมาณไม่เพียงพอ และไม่มีการให้น้ำพื้นที่ส่วนใหญ่มีการขาดน้ำ นาน 5 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนเมษายน ยกเว้นจังหวัดนครพนม และมุกดาหารขาดน้ำ 6 เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน และจังหวัดกาฬสินธุ์มีการขาดน้ำถึง 7 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนมิถุนายน จากการเก็บตัวอย่างดินในแปลงทดสอบมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีพบว่า มีธาตุไนโตรเจนอยู่ในระดับไม่เพียงพอจนถึงระดับเหมาะสม ฟอสฟอรัสอยู่ในระดับเหมาะสมจนถึงมากเกินพอ โพแทสเซียมและแมกนีเซียมอยู่ในระดับไม่เพียงพอจนถึงระดับเหมาะสมนำผลการวิเคราะห์ใบไปคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่ให้ปาล์มน้ำมัน ร่วมกับการให้น้ำตามค่าการขาดน้ำ แต่ปรับลดปริมาณน้ำลงครึ่งหนึ่งเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะให้ตลอดช่วงฤดูแล้ง และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต และผลผลิต พบว่า ปาล์มน้ำมันในแปลงทดสอบset X ทั้งสองกรรมวิธี มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันคือ มีจำนวนใบเฉลี่ย36.4 และ 36.7 ใบ และพื้นที่ใบเฉลี่ย 7.1 และ 7.2 ตารางเมตร ในกรรมวิธีของกรมวิชาการเกษตร และกรรมวิธีเกษตรกร ตามลำดับส่วนปริมาณผลผลิตพบว่ามีความแปรปรวนมากเนื่องจากเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันแต่ละแปลงได้ในช่วงแตกต่างกัน และแปลงทดสอบที่จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี และกาฬสินธุ์ ต้นปาล์มน้ำมันยังให้ผลผลิตไม่มากนัก ผลผลิตรวมที่ได้แต่ละแปลงอยู่ระหว่าง 1.53-707.75 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดสอบในแปลงปาล์มน้ำมันset Y เป็นไปในทำนองเดียวกัน คือ มีจำนวนทางใบและพื้นที่ใบเฉลี่ยใกล้เคียงกันในทุกกรรมวิธี ได้แก่ จำนวนทางใบ 34.9 34.5 34.1 และ 36.4 ใบ พื้นที่ใบ 6.3 6.5 6.6 และ 6.6 ตารางเมตร ในกรรมวิธีที่ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ผลผลิตมีความแปรปรวนสูง โดยมีผลผลิตรวม 13.07-689.70 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในปีแรกที่ทำการศึกษา ยังคงเป็นผลจากการได้รับปัจจัยทั้งปุ๋ยและน้ำในปีที่ผ่านมาก่อนการดำเนินการทดสอบ จำเป็นต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลจากการได้รับปัจจัยด้านน้ำและธาตุอาหารในระดับคำแนะนำทางวิชาการ และระดับที่เกษตรกรปฏิบัติ
บทคัดย่อ (EN): Office of Agricultural Research and Development Region 3 and region 4 together with 9 Agricultural Research and Development Centers has conducted the field trials to evaluate effect of fertilizers and water management on growth and yield of oil palm cultivated in the Northeastern Region of Thailand. Results from the field trials would yield a suitable technology for growers in the region to taking this into practice to increase oil palm yield or decrease cost of production from the effective use of input. Sixteen oil palm plantations of six to eight years old oil palm trees were selected for the experiments. Two sets of experiment were carried out, set X comprised of 12 field trials located in growers’ plantations in Kalasin, Mukdahan, Sakhon Nakhon, Nongkai, Udorn Thani and Ubon Ratchathani and in the Agricultural Research and Development Centers in Khon Khaen, Mukdahan, Roi Et, Sakhon Nakhon and Udorn Thani aiming to compare the recommended fertilizers and water management of Department of Agriculture (DOA) (Treatment 1) with farmer’s practice (Treatment 2). Set Y comprised of 4 field trials located in the Agricultural Research and Development Centers in Kalasin, Mukdahan, Nongkai, and Nakhon Phanom, of which 2 more treatments were added as Treatment 2 where fertilizers were used as recommended but water was applied as farmer’s practice and Treatment 3 where fertilizers were used as farmer’s practice but water was applied as recommended. Soil types of most sites in this study are sandy loam and loamy sand, oil palm varieties grown in Agricultural Research Center were the recommended varieties Surat Thani 1, 2, 3, 4, 5 and 6 whereas Uti and other unidentified varieties were grown in grower plantations. Most growers applied fertilizers at inadequate amount but no water was applied in dry season. Most areas have water deficit for 5 months from December to April except Nakhon Phanom and Mukdahan which have water deficit for 6 months started from November. Kalasin is the province having the longest water deficit up to 7 months from December to June. Fertilizers were applied according to leave analysis while only half of the water requirement was applied to be ascertained that there would be enough water for the whole period. The results showed that growth of oil palm from both treatments of set X experiments were quite similar, the number of leave was 36.4 and 36.7 whereas leave area was 7.1 and 7.2 m2, respectively. Total oil palm yield, however, was varied from 1.53-707.75 kg/rai. The similar results were observed in set Y experiments that the number of leave was 34.9 34.5 34.1 and 36.4 whereas leave area was 6.3 6.5 6.6 and 6.6 m2, for treatment 1, 2, 3 and 4, respectively. Total oil palm yield was varied from 13.07-689.70 kg/rai due to different harvesting number as well as the un-uniform fertility of plants in each site. However, growth and yield obtained from first year experiment was not a result of the treatments applied. Further study and continuing data collection still need to be proceeded to be able to compare effect of fertilizers and water management on growth and yield of oil palm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-08-29
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-28
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมวิชาการเกษตร
28 สิงหาคม 2557
การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่3 การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่2 การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การประเมินสถานภาพของธาตุอาหารเพื่อการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน การศึกษาการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากปาล์มน้ำมันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อผลิตเป็นพลังงาน การศึกษากระบวนการแปรรูปปาล์มน้ำมันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาวิธีการให้น้ำแบบประหยัด และการให้ปุ๋ยในระบบน้ำ ในการผลิตพริก และมะเขือเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก