สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537
วิษณุ อุทโยภาศ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิษณุ อุทโยภาศ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตลิ้นจี่ของประเทศไทย ทำการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2537 จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการตลาด ตลอดจนข้อมูลด้านสถิติของหน่วยงานทางราชการต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ปลูกลิ้นจี่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.9 ถึง 24.6 ปริมาณผลผลิตรวม อยู่ระหว่าง 21,500 ตัน ถึง 46,600 ตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและความสมบูรณ์ของต้นลิ้นจี่ พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดคือพันธุ์ฮงฮวย(ร้อยละ 68.69) เทคโนโลยีการผลิตสิ้นจี่มีการพัฒนาอยู่ในระดับดี แต่เกษตรกรบางส่วนยังขาดความรู้ในการปฏบัติดูแลรักษาการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ใช้วิธีการตกลงราคาซื้อขายล่วงหน้า ผลผลิตลิ้นจี่ร้อยละ 25 ใช้บริโภคสดภายในประเทศ ประมาณร้อยละ 65 ใช้ในการแปรรูปเป็นลิ้นจี่กระป๋องและที่เหลืออีกปรมาณร้อยละ 10 ส่งออกในรูปผลผลิตสด ประเทศไทยส่งออกสิ้นจี่ในรูปของสิ้นจี่สดและลิ้นจี่กระป๋อง ปริมาณการส่งออกมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตลาดหลัก ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ประเทศคู่แข่งขัน คือ ประเทศจีนและไต้หวัน ปัญหาการขยายตลาดคือ ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณและคุณภาพของผลผลิต และฤดูกาลผลผลิตสั้นมาก ในอนาคตรัฐบาลควรเข้ามามีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการตลาดลิ้นจี่ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาผลผลิตลิ้นจี่ราคาตกต่ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี พ.ศ. 2533-2537
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537
กรมส่งเสริมการเกษตร
2537
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536 การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม การศึกษาสถานการณ์การผลิตยางแผ่นของประเทศไทย ปี 2530 สถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวต่างประเทศ การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี โครงการศึกษาการผลิตลิ้นจี่ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สถานการณ์การผลิตและตลาดถั่วเหลืองปี 2528

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก