สืบค้นงานวิจัย
การสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หอยแครงโดยใช้เทคนิคการบรรจุ
วราทิพย์ สมบุญญฤทธิ, สินีนาฏ อรรถโชติศักดา, สมศรี จันทร์ประสาท, วราทิพย์ สมบุญญฤทธิ, สินีนาฏ อรรถโชติศักดา, สมศรี จันทร์ประสาท - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หอยแครงโดยใช้เทคนิคการบรรจุ
ชื่อเรื่อง (EN): Value creation of bloody cockle products using packaging techniques
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: หอยแครงเทคนิคการบรรจุบรรจุภัณฑ์การสร้างมูลค่า
บทคัดย่อ: การสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หอยแครงโดยเทคนิคการบรรจุ Value Creation of Bloody cockle Products using Packaging Techniques บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์หอยแครง โดยการใช้บรรจุภัณฑ์และวิธีการบรรจุ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หอยแครงทอดกรอบและคุกกี้หอยแครง โดยใช้บรรจุภัณฑ์แบบถุงพลาสติกหลายชั้นที่เคลือบไออะลูมิเนียม (OPP 20/MCPP25/LLDPE25) และวิธีการบรรจุแบบปิดผนึกปกติ (AS) และแบบพ่นไนโตรเจนก่อนปิดผนึก (NS) และทดลองเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องปกติ (30?2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ระหว่างเก็บรักษาสุ่มตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีได้แก่ ค่า peroxide (PV) และ thiobarbituric acid value (TBA) ตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ได้แก่ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด Coliform E. coli Salmonella S. aureus ยีสต์และรา รวมทั้งตรวจประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่าหอยทอดกรอบในถุง AS และ NS มีการเปลี่ยนแปลงค่า PV ในช่วง 37.14-84.50 และ 37.14-41.02 meq. peroxide/kg ตามลำดับและ TBA เท่ากับ 0.65-6.87 และ 0.65-5.45 mg.malonaldehyde/kg ตามลำดับ ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสนั้นผู้ทดสอบให้การยอมรับหอยทอดกรอบในถุง NS ตลอดการเก็บรักษา 24 สัปดาห์ ในขณะที่หอยทอดกรอบในถุง AS ได้รับการยอมรับเพียง 20 สัปดาห์ เนื่องจากไม่ยอมรับเนื้อสัมผัสมีความเหนียว ไม่กรอบ ผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ตรวจไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา ส่วนผลิตภัณฑ์คุกกี้หอยแครงในถุงปิดผนึกทั้งสองแบบ มีการเปลี่ยนแปลงของค่า TBA อยู่ในช่วง 1.22-3.46 และ1.43-3.55 mg.malonaldehyde/kg ตามลำดับ ตรวจไม่พบจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคตลอดการเก็บรักษา 24 สัปดาห์ และผู้ทดสอบยอมรับคุกกี้หอยแครงในถุง AS และในถุง NS ตลอดการเก็บรักษา 24 สัปดาห์ โดยการบรรจุแบบ NS ได้รับคะแนนการประเมินด้านสี กลิ่น และเนื้อสัมผัสดีกว่าในถุงแบบ AS
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หอยแครงโดยใช้เทคนิคการบรรจุ
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
การบรรจุและขนส่งปลาน้ำผึ้งเพื่อการส่งออก การบรรจุและขนส่งปลากัดในการส่งออก การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากเส้นใยไหมป่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออโกลนีมา (Aglaonema) โดยใช้เทคนิค Temporary Immersion การวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฟาร์มกวาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง การสร้างนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดเพชรบูรณ์จากภูมิปัญญาถ้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาปรุงรส การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากการแปรรูปสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ (Caulerpa racemosa) การยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อปูม้าโดยใช้เทคโนโลยีเฮอร์เดิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก