สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจาก Cumminum cyminum Linn. และ Heracleum siamicum Craib ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคจากอาหาร
ดลฤดี สงวนเสริมศรี - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจาก Cumminum cyminum Linn. และ Heracleum siamicum Craib ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคจากอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Study of efficacy of essential oil and extracts from Cumminum cyminum Linn. and Heracleum siamicum Craib to inhibition of foodborne bacteria
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดลฤดี สงวนเสริมศรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Donruedee Sanguansermsri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ยี่หร่า (Cuminum cyminum L.) เป็นพืชที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ใช้ในประเทศไทยมาช้านาน ในการวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร และสารออกฤทธิ์ที่สำคัญของยี่หร่าจากประเทศไทย องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่านำมาวิเคราะห์โดยวิธี chromatography-mass spectrometry (GC-MS) แบคทีเรียที่ใช้ทดสอบการต้านฤทธิ์ ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Salmonella Typhi โดยวิธีที่ใช้ทดสอบได้แก่ disc diffusion และ microdilution method และองค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ทดสอบยืนยันโดยวิธี Thin-layer chromatography (TLC)-bioautography ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบหลักของน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ได้แก่ cuminaldehyde (27.10%), beta-pinene (25.04%) และ gammaterpinene (15.68%). น้ำมันหอมระเหยยี่หร่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Salmonella Typhi ได้ โดยมียับยั้งฤทธิ์เชื้อ B. cereus ได้ดีที่สุด และการทดสอบโดยใช้ TLC แสดงให้เห็นว่ามีน้ำมันหอมระเหยยี่หร่ามีองค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบทุกชนิด และพบว่า cuminaldehyde เป็นสารออกฤทธิ์ที่แรงที่สุดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบ สรุปได้ว่าน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบได้ทุกชนิด และมี cuminaldehyde เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่าจึงมีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นสารกันเสียทางเลือกที่มาจากธรรมชาติ และอาจพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ได้ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Background: Cuminum cyminum L., commonly known as cumin, has been traditionally used in Thai traditional medicine and traditional food flavoring. The present study investigated the chemical composition, antimicrobial activity against all tested major food-borne pathogenic bacteria, and bioactive components of essential oil extracted from Cuminum cyminum L. collected in Thailand. Methods: The main components of the essential oil were investigated by gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) technique. Antibacterial activities against Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, and Salmonella Typhi were investigated by disc diffusion and microdilution method. The presence of the biologically active antibacterial components was also confirmed by the Thin-layer chromatography (TLC)-bioautography. Results: The main components of the essential oil investigated by GC-MS were cuminaldehyde (27.10%), beta-pinene (25.04%) and gamma-terpinene (15.68%). The essential oil exhibited antibacterial activity against Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli and Salmonella Typhi. The essential oil showed the strongest antimicrobial activity against B. cereus with a comparable inhibition zone to tetracycline. Thin-layer chromatography (TLC) confirmed the presence of biologically active antibacterial component in the essential oil against all tested food-borne bacteria. It is further demonstrated that cuminaldehyde was the most active compound in TLC-bioautography which inhibited all of tested bacteria. Conclusions: Essential oil extracted from Cuminum cyminum L. exhibited antibacterial activity against all tested major food-borne pathogenic bacteria. Cuminaldehyde is a major bioactive component. Our results suggest that the essential oil extracted from Cuminum cyminum L. could be applied as an alternative natural preservative to control food-borne disease and have the potential for further development of new antibacterial agents.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/NUIR/904/DonruedeeSanguansermsri.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1. เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากยี่หร่า และ มะแหลบ 2. เพื่อทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย และสารสกัด ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร 3. เพื่อทดสอบการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากยี่หร่า กานพลู และตะไคร้ 4. พิสูจน์เอกลักษณ์ขององค์ประกอบที่เป็นสารออกฤทธิ์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจาก Cumminum cyminum Linn. และ Heracleum siamicum Craib ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคจากอาหาร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดดาหลา (Etlingera elatiorL.) ต่อแบคทีเรียก่อโรคในพืช การพัฒนาถาดบรรจุไข่จากต้นธูปฤาษีที่มีไอของน้ำมันหอมระเหยสำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Salmonella การผลิตน้ำยาทำความสะอาดมือจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชสมุนไพรไทย การศึกษาคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคที่มาจากอาหารและแอนติออกซิแดน ของสมุนไพรและเครื่องเทศของไทย การเพิ่มมูลค่าตะไคร้โดยการสกัดน้ำมันหอมระเหย การศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืช วงศ์กระดังงา การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอนสำหรับการผลิตน้ำมันหอมระเหยระดับอุตสาหกรรม อาหารบำรุงสมอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก