สืบค้นงานวิจัย
การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
บงกชไพร ศรพรหม - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Biodiversity Management in Phu Lang ka National Park at Nakhon Phanom Province for Conservation and Usage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บงกชไพร ศรพรหม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลาย นิเวศวิทยาของแมลงแมลงกินได้ และศึกษา วิถีชีวิตชุมชนในด้านวิธีการจับ การนำไปใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์แมลง วิธีดำเนินการวิจัย โดยสำรวจ และเก็บตัวอย่างแมลง สัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบป่าอุทยานแห่งชาติภู ลังกา ใช้ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2555 - เดือนตุลาคม 2556 ผลการวิจัยพบว่าแมลงที่ กินได้สำรวจพบมี 28 ชนิด ใน 7 อันดับดังนี้ 1) อันดับ Orthoptera มี 9 ชนิด ได้แก่ ตั๊กแตนขาแดง (Chondracrisrose apbrunner), ต๊กแตนบอนแถบตาล (Ceracris fasciata), ตั๊กแตนข้าว (Hieroglyphus banian), ตั๊กแตนลาย(Choredocus insignis),ต๊กแตนหน้าแหลม (Acrida turrita) จิ้งหรีดทองแดง (Gryllus testaceus), จิ้งหรีดทองดำ (Gyllus (Teloegryllus) bimaculatus),แมลงกระชอน (Gyllotalpa Africana), จิ้งโกร่ง (Brachytrupes portentosus) 2) อันดับ Coleoptera มี 6 ชนิด ได้แก่ ด้วงดอกรักสีน้ำเงิน (Chrysochus pulcher), แมลงทับไทยขาเขียว (Sterocera acquisignata), ด้วงดิ่ง (Cybister limbatus), ด้วงมูลสัตว์ (Paragymnopleurus gethiops), ด้วงกว่าง (Xylotrupes Gideon), แมลงเหนี่ยง (Hydrous cavistanum) 3) อันดับ Hymenoptera มี 6 ชนิด ได้แก่ ผึ้ง (Apis florea), ต่อ คาดแหวน (Vespa basalis), ต่อหัวเสือ (Vespa affinis), มดแดง (Oecophyllas maragdina), แตน ลิ้นหมา (Ropalidia fasciota), ต่อ (Vespa sp.) 4) อันดับ Hemiptera มี 4 ชนิดได้แก่ มวนแมงป่องน้ำ (Laccotrephes ruber) มวนจิงโจ้น้ำ (Cylindrostethus costalis), มวนวน (Anisops sp.), แมลงดา (Lethocerus indicus) 5) อันดับ Odonata มี 1 ชนิด ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอ (Zygonyx iris) 6) อันดับ Homoptera มี 1 ชนิด ได้แก่ จักจั่น (Meimuna opalijera) และ 7) อันดับ Isoptera มี 1 ชนิด ได้แก่ ปลวก (Termes sp.) ชาวบ้านมีวิธีการจับแมลงหลายวิธี เช่น การแหย่ ใช้จับมดแดงและมวนลำไย การจับ ด้วยมือเปล่าใช้จับแมลงทับและด้วงกว่าง การขุดใช้จับด้วงมูลสัตว์ จิ้งหรีดและ จิ้งโกร่ง การใช้ไฟล่อจับ แมลงนูน การรมควันกับผึ้ง และการใช้อุปกรณีในการดักจับ เช่น จักจั่น แมลงดานา การนำไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบันจะนำไปใช้ 3 ด้าน คือ เป็นอาหาร เป็นการสร้างรายได้ในครัวเรือน โดยการขาย และเป็นของเล่น ชุมชนมีการอนุรักษ์แมลงโดยการรณรงค์ไมให้เผาป่า การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่ม ปริมาณแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารของแมลง
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research was to investigate the diversity, ecology, habitat, hunting, utilization and conservation of edible insects. The data were collected by interviews of villagers who reside in the area round PhuLangka National Park.. Samples of insects were collected in forest area and identified. Data Collection was from October 2012 to October 2013. The study found 28 different species belonging to 7 Order : 1) Order Orthoptera were found 9 species : Chondracrisrose apbrunner, Ceracris fasciata, Hieroglyphus banian, Choredocus insignis, Acrida turrita, Gryllus testaceus, Teloegryllus bimaculatus,Gryllotalpa africana, Brachytrupes portentosus 2) Order Coleoptera were found 6 species : Chrysochus pulcher, Sterocera acquisignata, Cybister limbatus, Paragymnopleurus aethiops, Xylotrupes Gideon, Hydrous cavistanum 3) Order Hymenoptera were found 6 species : Apis florea, Vespa basalis, Vespa affinis, Oecophyllas maragdina, Ropalidia fasciata,Vespa sp. 4) Order Hemiptera were found 4 species : Laccotrephes ruber, Cylindrostethus costalis, Anisops sp., Lethocerus indicus 5) were found 1 species : Zygonyx iris 6) Order Homoptera were found 1 species : Meimuna opalifera ฟืก 7) Order Isoptera were found 1 species : Termes sp. Several methods were used to catch the different species. For example red ants and stink bugs were caught by tickling, metallic wood – boring beetle and rhinocerus beetle were collected by hand, scarab beetle and dung beetle were dugged out and light trap, honey bees were caught by smoking and cicadas were caught by entrapping. Edible insects provide benefits like food, income and as toys for children. Conservation of edible insects is based on community belief and fire-fighting to preserve their habitat. Villagers prefer to eat 10 different species based on folklore, the ease of collecting, the good taste and their nutrition value. Villager benefit from edible insect for their nutrition and income. They also are aware of their value and take part in conservation of those insects.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/294946
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายของเห็ดและการนำไปใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ป่าทุ่งบะ ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ชุมชนกับแนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ; กรณีศึกษาชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ความหลากหลายของผักพื้นบ้านและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพญาพ่อ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง ภาคเหนือของประเทศไทย การพัฒนาการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการอนุรักษ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก