สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เดือนฉาย ชุณหรัชพันธุ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เดือนฉาย ชุณหรัชพันธุ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกร ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดเบญจมาศ ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศ จำนวน 73 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกร ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.15 ปี ส่วนมากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา แต่งงานแล้ว สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานเฉลี่ย 2 คน ส่วนมากประกอบอาชีพทำไร่ พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 15.21 ไร่ ส่วนมากพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกไม้ดอก มีประสบการณ์เฉลี่ย 2.84 ปี มีพื้นที่ปลูกเบญจมาศ 2.56 ไร่ มีโรงเรือนแม่พันธุ์เฉลี่ย 8.24 โรง โรงเรือนตัดดอกเฉลี่ย 17.08 โรง ส่วนใหญ่มีโรงเรือนเหล็ก ใช้น้ำจากบึงและให้น้ำโดยใช้สายยาง ดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนมากไม่เคยวิเคราะห์ดิน ใช้พันธุ์จากกลุ่มปลูกทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ และปลูกแบบไม่เด็ดยอด เกษตรกรทุกรายใช้พันธุ์โกลเด้น วาเรนเก้น โดยปลูกเบญจมาศในรุ่นที่ 1 ใช้ปลูกระยะ 12x12 เซนติเมตร และปลูกโดยยกแปลงปลูก เตรียมดิน 2 ครั้ง ตากดินเฉลี่ย 9.24 วัน ใส่ปูนขาวเฉลี่ย 26.17 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยคอกเฉลี่ย 62.77 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0 เฉลี่ย 4.68 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 เฉลี่ย 3.81 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 13-0-46 เฉลี่ย 4.80 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เฉลี่ย 5.16 กิโลกรัม/ไร่ ใช้ฮอร์โมนเฉลี่ย 1.33 ลิตร/ไร่ พบเพลี้ยไฟและโรคใบจุด เก็บเกี่ยวโดยการสังเกตดอก เกษตรกรทุกรายคัดเกรดดอก ส่วนมากส่งจำหน่ายตลาดต่างจังหวัด ขายเองและส่งให้กลุ่ม ผลผลิตรวมเฉลี่ย 3,770.75 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ย 49.63 บาท/กิโลกรัม รายได้รวมเฉลี่ย 324,579.55 บาทต้นทุนการผลิตเบญจมาศต่อพื้นที่ 50 ตารางเมตร 5,227.42 บาท เกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ขาดที่ดินทำการเกษตรเป็นของตนเอง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับการปลูกเบญจมาศ ขาดห้องเก็บรอการขาย ขาดเงินทุนปลูกเบญจมาศ ตลาดขายเบญจมาศไม่แน่นอน พันธุ์ไม่เพียงพอกับการปลูก ราคาขายต่ำ ขาดอุปกรณ์การปลูก โรงเรือนไม่ได้มาตรฐานและผลผลิตต่ำ มีความต้องการในระดับมาก ได้แก่ พันธุ์เบญจมาศที่ปลอดโรคและคุณภาพดี สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเบญจมาศ เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเบญจมาศ การจัดการตลาดล่วงหน้า ตลาดขายผลผลิตที่แน่นอน การประกันราคาผลผลิต ขุดขยายแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการปลูก สนับสนุนโรงเรือนปลูก ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น ศึกษาดูงานกลุ่มที่สามารถผลิตเบญจมาศได้ดี มีรายได้จากการปลูก ขยายเขตไฟฟ้า เข้าไปถึงสถานที่ปลูกและจัดงานประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับการปลูกเบญจมาศ และการตลาดเบญจมาศตั้งแต่การปลูก การขยายพันธุ์ การเตรียมแม่พันธุ์ การให้แสงไฟ การป้องกันโรค การเก็บเกี่ยว การวางแผนการผลิต ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมกันวางแผนผลิตและรองรับการขยายแม่พันธุ์ การรวบรวมผลผลิตในการจำหน่าย สนับสนุนปัจจัยด้านการผลิต ต้นแม่พันธุ์และแหล่งต้นแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพและปลอดโรค สนับสนุนและจัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนเงินทุนในรูปกองทุนหมุนเวียน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรใน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2546/2547 การผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกร การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตผักปลอดสารพิษระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก