สืบค้นงานวิจัย
การตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ
จารี ผลชนะ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): Macrobrachium rosenbergii nodavirus และ Extra small virus Mass Mortalities of Macrobrachium rosenbergii Larvae Associated with Macrobrachium rosenbergii Nodavirus and Extra Small Virus Infection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จารี ผลชนะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Macrobrachium rosenbergii MrNV XSV
บทคัดย่อ: ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมาการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามในประเทศไทยประสบปัญหาไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งได้สําเร็จ โดยลูกกุ้งที่อายุได้ประมาณ 10 วันขึ้นไปอ่อนแอ ไม่กินอาหาร และมีอัตราการตายสูงถึง 50-90 เปอร์เซ็นต์ การตรวจวินิจฉัยโรคทางพยาธิสภาพของลูกกุ้งพบ Basophilic cytoplasmic inclusion ในตับและตับอ่อนการศึกษาทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนพบอนุภาคไวรัสรูปหกเหลี่ยมแบบ Icosahedral สองขนาดคือ ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 27 และ 15 นาโนเมตร และการตรวจสอบด้วยเทคนิค RT-PCR พบเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii nodavirus (MrNV) และ Extra small virus (XSV) เมื่อนําชิ้นส่วนยีนที่ได้รับการเพิ่มจํานวนของเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดไปโคลนและวิเคราะห์ลําดับนิวคลิโอไทด์ และเปรียบเทียบกับข้อมูลลําดับนิวคลิโอไทด์ของเชื้อ MrNV และ XSV ใน GenBank พบว่ามีความคล้ายคลึงกันถึง 99 % จากการตรวจสอบลูกกุ้งป่วยและพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่าง ๆ พบว่ามียีนของเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดแฝงอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการป่วยและตายของลูกกุ้งก้ามกราม และพ่อแม่ พันธุ์ที่ตรวจพบเชื้อก็อาจเป็นพาหะนําโรคไปสู่ลูกกุ้งได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=238
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ
จารี ผลชนะ
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม การนำน้ำที่ผ่านการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่ การสร้างอนุภาคไวรัส MrNV ก่อโรคกุ้งก้ามกรามในระบบเซลล์แมลง SF9 การผลิตรีคอมบิแนนท์ฮีโมไซยานินของกุ้งก้ามกรามและการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสMrNV และแบคทีเรียชนิดต่างๆ การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy ศึกษาการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามนีโอฟีเมล การเจริญเติบโต และสัดส่วนเพศผู้ของรุ่นลูก การใช้น้ำหมักชีวภาพอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก