สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก่นตะวัน
สนั่น จอกลอย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก่นตะวัน
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable harvest times for Kaentawan (Helianthus tuberosus L.) Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สนั่น จอกลอย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sanun Jogloy
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้อมูลวันเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับแก่นตะวันยังไม่มีการศึกษาสำหรับการผลิตในเขตร้อน จึงได้ทำการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาวันเก็บเกี่ยวที่เหมะสมสำหรับผลผลิตหัว และลักษณะทางการเกษตรบางประการ ใช้ตันกล้าแก่นตะวันอายุ 1 เดือน ปลูกระหว่างเดือนพฤตจิกายน 2548 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2549และให้น้ำชลประทานระบบน้ำเหวี่ยง ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในซ้ำมี 4 ซ้ำ สิ่งทดลองประกอบด้วยวันเก็บเกี่ยว 3 วัน คือเมื่อ 75, 90 และ 105 วัน หลังปลูก เก็บข้อมูลความสูงของตันที่ระดับผิวดินและระดับกึ่งกลางลำตัน ด่าบริกซ์ที่ลำตัน หัว และราก น้ำหนักแห้งตันรวมทั้งใบต่อไร่ พื้นที่ใบดัชนีพื้นที่ใบ จำนวนหัวต่อตัน น้ำหนักหัวสดต่อไร่ น้ำหนักหัวแห้งต่อไร่ น้ำหนักซากแห้งต่อไร่ และดัชนีเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่า ลักษณะที่ประเมินส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในการเก็บเกี่ยวเมื่อ 75, 90 และ 105 วันหลังปลูก มีเพียงลักษณะน้ำหนักรากแห้งต่อไร่เท่านั้นที่แตกต่างกันทางสถิติ น้ำหนักแห้งต้นรวมทั้งใบ พื้นที่ใบ และดัชนีพื้นที่ใบ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแต่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเก็บเกี่ยววันหลัง ๆ วันเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อดัชนีของแข็งที่ละลายได้น้ำหนักหัวสดต่อไร่ และน้ำหนักหัวแห้งต่อไร่ น้ำหนักรากแห้งต่อไร่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตีในการเก็บเกี่ยวครั้งหลัง ๆ แต่ดัชนีเก็บเกี่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในการเก็บเกี่ยวครั้งหลัง ๆ จึงสรุปได้ว่า สำหรับการปลูกในช่วงวันสั้น อาจเก็บเกี่ยวแก่นตะวันได้ตั้งแต่ 75 วัน หลังปลูก ไปจนถึง 105 วันหลังปลูกโดยไม่มีผลผกระทบต่อผลผลิตหัว
บทคัดย่อ (EN): Suitable harvest times for kaentawan (Helianthus tuberosus L.) have not been well understood under tropical conditions. The experiment was conducted with the objective of determining suitable harvest times for tuber yield and other agronomic charcters. One month-old seedlings were planted during November 2005 to February 2006 under sprinkler irrigation. A randomized complete block design with four replications was used. Three harvest times (75 days after planting (DAP), 90 DAP and 105 DAP) were cmpared for plant height, stem diameter at ground level, stem diameter at middle stem, soluble solid index (brix) from stem, tuber and root, above ground dry matter per rai, leaf area (LA), leaf area index (LAI), tuber number per plant, tuber fresh weight per rai, tuber dry weight per rai, root dry weight per rai and harvest index (HI). No significant difference was observed for most characters under study except for root dry weight per rai. Above ground dry matter, LA and LAI, though not significant, trended to decrease at latter harvest times. Soluble solid index, tuber fresh weight, tuber dry weight were unaffected by harvest times. Root dry weight was significantly decreased at latter harvest times, but HI trended to increase at latter harvest times. For short-day planting season, harvest of kaentawan might be carried out as early as 75 DAP to 105 DAP without significant yield loss.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=KAJ 34_02_0111.pdf&id=64&keeptrack=27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก่นตะวัน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อการงอกหลังบ่มของหัวแก่นตะวัน ผลของการจัดการดินและปุ๋ยต่อผลผลิตต้นสดและลักษณะทางการเกษตรบางประการของข้าวฟ่างหวาน ผลของไคโตซานต่อลักษณะทางการเกษตร การตอบสนองทางสรีรวิทยาและผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพขาดน้ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเหมาะสมสำหรับการผลิตลำไยในเชิงพาณิชย์ โครงการใหญ่ การพัฒนาเทคโนโลยีเหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มราคาผลผลิตสำหรับการผลิตลำไยในเชิงพาณิชย์ ผลของระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และคุณค่าทางโภชนาการของจิงจูฉ่าย ศักยภาพของน้ำคั้นแก่นตะวันเพื่อการผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิสูงโดยใช้เชื้อยีสต์ทนร้อน ระดับปุ๋ยและช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชที่มีต่อผลผลิตข้าวไร่ การศึกษาการพยากรณ์ผลผลิตลำไยโดยแบบจำลองผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีเหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มราคาผลผลิตสำหรับการผลิตลำไยในเชิงพาณิชย์ ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก