สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Strengthening the Arabica Coffee Production and Marketing Potentials in the Highland Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สิทธิเดช ร้อยกรอง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการ การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง 2) ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพด้านการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าของโครงการหลวง 15 ศูนย์ฯ/สถานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรที่ปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง 15 แห่ง จำนวน 1,984 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1967) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และการหาค่าของขนาดกลุ่มตัวอย่าง คำนวณสัดส่วนประชากรเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอราบิก้าที่เหมาะสมกับจำนวนประชากรเกษตรกรในแต่ละศูนย์/โครงการ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 333 ราย เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูงการจัดสนทนากลุ่มกับผู้นำเกษตรกรฯโดยมีประเด็นในการสนทนาครอบคลุมถึงการผลิต และการตลาดกาแฟอราบิก้า และแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการดำเนินงานส่งเสริมและการจัดการผลผลิตกาแฟอราบิก้า โครงการหลวงแต่ละศูนย์/โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด-ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์วิเคราะห์ศักยภาพด้านการผลิตกาแฟ อราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงเพื่อชี้ให้เห็นถึงศักยภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าโดยกระบวนการของ 5 Likert Scales ร่วมกับแผนภูมิเรดาห์ วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันกาแฟอราบิก้าของไทยในตลาดโลกโดยใช้ค่าดัชนีความได้เปรียบที่ปรากฏ (Reveal Comparative Advantage: RCA) และวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดกาแฟของโครงการหลวงด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรง และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาตลาดวิธีการวิเคราะห์ SWOT Analysis
บทคัดย่อ (EN): This research, Strengthening the Arabica Coffee Production and Marketing Potentials in the Highland Area intended to; 1) investigate the production and marketing potentials of Arabica coffee in the Royal Project area 2) identify and analyze Arabica Coffee production potentials in the Royal Project area 3) to study and analyze the Arabica Coffee market potentials in the Royal Project area ; and 4) to propose recommendations and guidelines in order to enhance Arabica coffee production and marketing potentials in the Royal Project area. Which conducts research in the 15 Centers / Stations of the Arabica coffee promoting area of the Royal Project between January and September 2015. The sample used in this study were 333 Arabica coffee farmers in the 15 Royal Project development centers/research stations. Of the 1,984 population of Arabica Coffee farmers were randomly selected based on the .05 level of statistical significance. The samples size were calculated by proportion allocation technique in each of the Royal Project development centers / research stations. Research instruments used in collect the data were interview schedule, focus group discussion and questionnaire. Data were analyzed by percentage, average, maximum-minimum values, standard deviation. Five Likert Scales was used to evaluate and analyze Arabica coffee production potentials with the Radar diagram. Meanwhile, Reveal comparative advantage (RCA), simple regression analysis and SWOT Analysis/ TOWS Matrix were used to evaluate and analyze Arabica coffee marketing potentials. In addition, the study derived appropriate recommendations, guidelines and marketing strategies for the development/improvement of Arabica coffee production and marketing potentials of the Royal Project
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง การจัดการความรู้สำหรับโครงการวิจัยเชิงบูรณาการ โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก