สืบค้นงานวิจัย
ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris
ธีระยุทธ เตียนธนา, ณรงค์ ชัยเลิศ, เรณู อยู่เจริญ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris
ชื่อเรื่อง (EN): Inhibition of Xanthomonas campestris – caused plant diseases by some medicinal plant extracts
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Xanthomonas campestris สาเหตุโรคพืชในส้มโอ มะนาว กะหล่ำและข้าวด้วยวิธี agar well diffusion โดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ โมกราชินี ตำแยแมว ฮ่อสะพายควาย แฮ้ม ชะมวง อรพิม คนทา หางไหลขาว ฟักข้าว โด่ไม่รู้ล้ม และสังกรณี ซึ่งสกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เอทานอลและน้ำ พบว่าสารสกัดเอทานอลของชะมวง สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. campestris จากส้มโอ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสการยับยั้งเท่ากับ 30.50 มิลลิเมตร โดยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ของสารสกัดเอทานอลของชะมวง เท่ากับ 15.63 และ 125.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดเอทานอลของ ฟักข้าว แฮ้ม ตำแยแมว และคนทา สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. campestris ได้รองลงมาโดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของวงใสการยับยั้งมากที่สุดเท่ากับ 8.53 ? 0.26, 9.00 ? 0.58, 8.13 ? 0.07 และ 8.60 ? 0.83 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัดเอทานอลและน้ำของฮ่อสะพายควายไม่พบวงใสการยับยั้งในส้มโอ เมื่อศึกษาผลของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อหน่วยเวลา พบว่าสารสกัดเอทานอลของชะมวงสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. campestris จากส้มโอได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในชั่วโมงที่ 24 และ 48 นอกจากนี้สารสกัดชะมวงที่สกัดด้วยเอทานอล สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย X. campestris ในมะนาวได้ดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสการยับยั้งเท่ากับ 29.73 มิลลิเมตร มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 15.62 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. campestris ในมะนาวต่อหน่วยเวลาได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 2 ส่วนสารสกัดเอทานอลและน้ำของฮ่อสะพายควายไม่พบวงใสการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากส้มโอและมะนาว การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดพืชต่อการยับยั้งเชื้อ X. campestris สาเหตุโรคขอบใบทองในกะหล่ำปลี โดยสารสกัดเอทานอลและน้ำของชะมวงสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งได้ดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสของการยับยั้งอยู่ในช่วง 29 – 42 มิลลิเมตร และ 19 – 34 มิลลิเมตร ตามลำดับ และสารสกัดเอทานอลของชะมวง สามารถยับยั้งเชื้อได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 2 ซึ่งยับยั้งได้ดีกว่ายาปฏิชีวนะ ceftriaxone นอกจากนี้ สารสกัดเอทานอลของชะมวงมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อ X. campestris จากใบข้าวในทุกไอโซเลต แสดงค่าวงใสการยับยั้งระหว่าง 19.67 – 26.30 มิลลิเมตรและมีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 3.90 และ 7.81 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อหน่วยเวลายับยั้งถึง 100% ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 4 เห็นได้ว่า สารสกัดเอทานอลจากชะมวงสามารถยับยั้งเชื้อ X. campestris ก่อโรคในส้มโอ มะนาว กะหล่ำและข้าว งานวิจัยนี้จึงเป็นแนวทางในการนำสารสกัดชะมวงมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในพืชในพื้นที่ทำการเกษตรต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Ethanol and aqueous extracts of eleven medicinal plants by the agar well diffusion method including Wrightia sirikitiae, Acalypha indica, Suregada multiflorum, Coscinium fenestratum, Garcinia cowa, Bauhinia winitii, Harrisonia perforata, Derris malaccensis , Momordica cochinchinensis, Elephantopus scaber, and Barleria strigosa were evaluated for their ability to inhibit X. campestris isolated from pomelo, lime, cabbage, and rice. The results showed that the ethanol extract of G. cowa performed the most effective activity against X. campestris with inhibition zone of 30.50 mm. The ethanol extract of G. cowa showed the highest activity against X. campestris tested with MIC of 15.63 mg/mL and MBC of 125.00 mg/mL. In addition, the ethanol extracts of M. cochinchinensis, C. fenestratum, A. indica, and H. perforata demonstrated effective antibacterial activity with diameters of inhibition zones of 8.53 ? 0.26, 9.00 ? 0.58, 8.13 ? 0.07, and 8.60 ? 0.83 mm, respectively. Time-killing curves of efficiency ethanol extracts of G. cowa could inhibit growth of X. campestris isolated from pomelo by 100% at 24 and 48 hours of incubation, respectively. Moreover, X. campestris isolated from lime peel were also inhibited by the ethanol extract of G. cowa with the highest inhibition zone of 29.73 mm. MIC and MBC values of 15.62 mg/ml were shown. Also, the ethanol extracts of G. cowa could inhibit growth of X. campestris after 2 hours of incubation. However, the ethanol and aqueous extracts of S. multiflorum could not inhibit growth of bacteria isolated from both of pomelo and lime. The highest inhibitory effect against X. campestris causing bacterial leaf blight on cabbage leaves was observed after treatment of bacteria with the ethanol and aqueous extracts of G. cowa with inhibition zone during 29-42 mm and 19-34 mm, respectively. After 2 hours, the ethanol extract of G. cowa could inhibit growth of bacteria higher than ceftriaxone. In addition, the ethanol extract of G. cowa showed the highest activity against of all the isolates of X. campestris isolated from rice leaves with inhibition zone between 19.67-26.30 mm. The ethanol extract of G. cowa showed the highest activity against X. campestris causing bacterial leaf blight on rice leaves tested with the MIC of 3.90 mg/mL and MBC of 7.81 mg/mL. The growth of bacteria was inhibited after the treatment with the ethanol extract of G. cowa by 100% within 4 hours. In this study, the results showed that the ethanol extract of G. cowa could inhibit X. campestris causing the diseases in pomelo, lime, cabbage, and rice. This knowledge obtained from this study will be useful in order to develop therapeutic potential products against bacteria causing plant diseases in crops in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
30 กันยายน 2558
การศึกษาเทคนิคการสกัดพืชสมุนไพรทางชีวภาพที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคพืชในดินและผลผลิตการเกษตร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี สารสกัดจากเห็ดและประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชและแบคทีเรียบางชนิด การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชบางชนิดในการกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืช การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผง กำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน (ปีที่ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชกลุ่ม obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผง กำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม laten ประสิทธิภาพของสารสกัดพืชสมุนไพรบางชนิดในการกำจัดIchythyopthirius multifiliis และ ความเป็นพิษในปลาทอง ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราและสารปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของพืชวงศ์พริก มะเขือเทศและแตง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก