สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี
พรรณเพ็ญ ชโยภาส - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี
ชื่อเรื่อง (EN): Stored Product Pest Management Research & Development Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรรณเพ็ญ ชโยภาส
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรรณเพ็ญ ชโยภาส
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร มีการศึกษาวิธีการอื่นๆเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ได้แก่ การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ กับดักแสงไฟ สารสกัดจากพืช วิธีทางกายภาพ (ความร้อน ความเย็น และบรรจุภัณฑ์) รวมทั้งการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน ช่วยลดสารเคมีและลดปัญหาที่เกิดจากการใช้สารเคมีต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมในอนาคต หรือหาการใช้สารเคมีในอัตราที่เหมาะสมถูกต้องกับชนิดของแมลงศัตรูและชนิดของผลิตผล เพื่อไม่ให้มีการใช้อย่างสิ้นเปลือง มีการศึกษาประเมินความสูญเสียของผลิตผลเกษตรที่เกิดจากแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่า การปล่อยด้วงงวงข้าวโพด มอดหัวป้อม และผีเสื้อข้าวสารอย่างละ 5 คู่ ในข้าวปริมาณ 250 กรัม สามารถเพิ่มปริมาณเป็น 1,186, 1,892 และ 443 ตัว ตามลำดับ ทำความเสียหายให้กับข้าวสูงถึง 29, 52 และ 42% ตามลำดับ ภายใน 6 เดือน การศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน พบว่าประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูถั่วเขียวหลังการเก็บเกี่ยว โดย การคลุกเมล็ดถั่วเขียวด้วยสารสกัดสะระแหน่ที่ระดับความเข้มข้น 10% สามารถควบคุมแมลงศัตรูถั่วเขียวหลังการเก็บเกี่ยวได้ดี โดยไม่มีผลต่อความงอกของถั่วเขียวเมื่อเก็บไว้ 6 เดือน สารสกัดจากพืชในรูปของน้ำมันหอมระเหยควบคุมด้วงงวงข้าวโพดที่เข้าทำลายข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากไพลมีประสิทธิภาพดีที่สุด กำจัดด้วงงวงข้าวโพดได้ 91.5 % บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูและรักษาคุณภาพผลิตผลเกษตร พบว่า การบรรจุถั่วเขียวน้ำหนัก 1 กิโลกรัมในถุงพลาสติก 2 ชนิด คือ ถุง PET/CPP (Corrogated Poly Propylene) และถุง NY/LLDPE (Nylon/Linear Low Density Poly Ethylene) รวมกับสารดูดออกซิเจนขนาด FT 100 โดยปิดผนึกธรรมดา ระยะการบรรจุ 1 สัปดาห์ และการใช้ถุง 2 ชนิดข้างต้นร่วมกับการใส่สารดูดออกซิเจนขนาด FT 50 ปิดผนึกโดยวิธีสุญญากาศ ระยะการบรรจุ 4 สัปดาห์ สามารถกำจัดด้วงถั่วเหลือและด้วงถั่วเขียวได้หมดทุกระยะการเจริญเติบโต ยกเว้นด้วงถั่วเขียวระยะดักแด้ สำหรับเมล็ดงาพบว่า การบรรจุงาน้ำหนัก 500 กรัม ในถุงพลาสติกชนิด NY/LLDPE ร่วมกับสารดูดออกซิเจนขนาด FT 100 ปิดผนึกธรรมดา สามารถกำจัดแมลงศัตรูงาและยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดงาได้ดี ส่วนในมะขามหวาน พบว่า การบรรจุมะขามหวานน้ำหนัก 400 กรัม ในถุงพลาสติกชนิด NY/LLDPE ร่วมกับสารดูดออกซิเจนขนาด FT 100 ปิดผนึกธรรมดา ระยะการบรรจุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถกำจัดด้วงขาโตและด้วงงวงมะขามได้ทั้งหมด สามารถเก็บมะขามหวานไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 5 เดือน อีกวิธีการหนึ่งคือการใช้ความร้อนในการควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่าการอบเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อุณหภูมิ 70 OC นาน 100 และ 110 นาที สามารถกำจัดด้วงผลไม้แห้งและมอดฟันเลื่อยได้ทั้งหมด ส่วนการอบข้าวน้ำหนัก 2 กิโลกรัม อุณหภูมิและระยะเวลาการอบที่สามารถกำจัดมอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวเปลือก ผีเสื้อข้าวสาร และด้วงงวงข้าวโพด คือ 80 OC นาน 3 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังสามารถใช้การอบความร้อนร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการกำจัดด้วงงวงข้าวโพด โดยพบว่า การอบข้าวโพดที่ 50 OC นาน 2 ชั่วโมง ร่วมกับการรมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นาน 18 ชั่วโมง สามารถกำจัดด้วงงวงข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต และยังมีการศึกษาการใช้ไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนในการกำจัดแมลง โดยพบว่าการใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 83.8 OC ขึ้นไปสามารถกำจัดด้วงงวงข้าวโพด มอดฟันเลื่อย มอดหัวป้อม และมอดแป้งในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยใช้ระยะเวลาในการอบสั้นไม่เกิน 10 นาที นอกจากการใช้ความร้อนยังสามารถใช้ความเย็นในการกำจัดแมลงได้เช่นกัน โดยพบว่าการแช่ข้าวที่อุณหภูมิ 5 OC นาน 54 วัน สามารถกำจัดด้วงงวงข้าวโพด มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อย ได้ทั้งหมด ส่วนอุณหภูมิ 15 OC ต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่า 119 วันจึงจะกำจัดแมลงชนิดดังกล่าวได้หมด การศึกษาการใช้รังสีในการควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่า รังสีแกรมมาที่ระดับ 500 เกรย์ สามารถกำจัดมอดฟันเลื่อยใหญ่ในเมล็ดงา และมอดหนวดยาวในเมล็ดข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต การใช้กับดักแสงไฟเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดปริมาณการเข้าทำลายของแมลงศัตรูในโรงเก็บได้ พบว่า ในโกดังเก็บข้าวการใช้กับดักแสงไฟ 1 เครื่องต่อพื้นที่ 144 ม.3 ให้ผลดีในการกำจัดแมลง การใช้กับดักแสงไฟในการศึกษาชนิดและปริมาณแมลงศัตรูกระเทียมในโรงเก็บ พบด้วงปีกตัดปริมาณมากปนเปื้อนในกระเทียมมที่เริ่มเน่าและมีเชื้อรา คำแนะนำสำหรับการจัดการคือให้ทำความสะอาดโรงเก็บกระเทียม และคัดแยกกระเทียมที่เน่าเสียทิ้งไป ทั้งยังให้ติดตั้งกับดักแสงไฟช่วยดักจับตัวเต็มวัยด้วงปีกตัด การใช้ชีววิธีเป็นทางเลือกที่สามารถลดการใช้สารเคมีได้อีกวิธีหนึ่ง การใช้แตนเบียนมอดในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดโดยปล่อยแตนเบียนมอดอัตรา 1,000 ตัวต่อกล่อง ทุกสัปดาห์ ที่เวลา 16.30 น. สามารถควบคุมด้วงงวงข้าวโพดได้ดี การศึกษาการใช้แตนเบียนผีเสื้อข้าวสารเพื่อกำจัดผีเสื้อข้าวสาร พบว่า การปล่อยแตนเบียนจำนวน 4,000 ตัว ทุก 2 สัปดาห์ สามารถลดปริมาณผีเสื้อข้าวสารได้ภายใน 6 เดือน การพัฒนาการใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่าการปล่อยแตนเบียนผีเสื้อข้าวสารอัตรา 1,000 ตัวในกองข้าวขนาด 22 ตัน และ 2,000 ตัวในกองข้าว 45 ตัน ทุกเดือน สามารถกำจัดผีเสื้อข้าวสารได้ ในเดือนที่ 8 และ 9 และพบว่าการปล่อยแตนเบียนมอด อัตรา 2,000 ตัว ในกองข้าวขนาด 17 ตัน ทุก 2 สัปดาห์ สามารถลดจำนวนด้วงงวงข้าวโพดได้ เกือบหมดในเดือนที่ 6 การใช้สารรมฟอสฟีนเพื่อกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรเป็นที่นิยม และผลิตผลเกษตรต่างชนิดกันก็มีคุณสมบัติในการดูดซับสารรมฟอสฟีนได้แตกต่างกัน ทำให้ประสิทธิภาพของสารรมฟอสฟีนในการกำจัดแมลงศัตรูในผลิตผลแต่ละชนิดแตกต่างกัน จึงได้ศึกษาอัตราการใช้สารรมฟอสฟีนที่เหมาะสมในผลิตผลเกษตรชนิดต่างๆ พบว่า ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้สารรมฟอสฟีนอัตรา 3 tablets ต่อตัน สามารถกำจัดมอดหัวป้อมและมอดแป้งได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ในลูกเดือยขัดสีใช้สารรมฟอสฟีนอัตรา 2 tablets ต่อตัน และในเดือยที่มีเปลือกใช้อัตรา 3 tablets ต่อตัน สามารถกำจัดด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อยทุกระยะการเจริญเติบโต ในมะขามหวานใช้สารรมฟอสฟีนอัตรา 1 tablet ต่อตัน สามารถกำจัดด้วงงวงมะขามและด้วงขาโตได้ทุกระยะการเจริญเติบโต และในกาแฟสารใช้อัตรา 1 tablet ต่อตัน สามารถกำจัดด้วงกาแฟได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยทุกการทดลองใช้ระยะการรม 7 วัน และยังพบว่าสารรมฟอสฟีนสามารถซึมผ่านบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารสัตว์ ได้แก่ ถุงพลาสติกสานเคลือบพลาสติกชนิด PET/LLพร้อมถุงพลาสติกซ้อนด้านใน, ถุงกระดาษสามชั้น ชั้นนอกเคลือบพลาสติชนิด PP (Polypropylene), ถุงกระดาษปอนด์ขาวเคลือบพลาสติชนิด PP (Polypropylene), และถุงผ้าดิบ โดยในการทดสอบใช้สารรมฟอสฟีนอัตรา 2 tablets ต่อตัน ระยะการรม 7 วัน สามารถกำจัดมอดแป้งที่อยู่ภายในถุงทุกชนิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน พบว่าการใช้สารรมฟอสฟีน 2 tablets ต่อตัน ร่วมกับกับดักแสงไฟ และกับดักอาหาร (ข้าวกล้องหอมมะลิ) ให้ผลดีในการกำจัดแมลง และในเรื่องการควบคุมมอดหนวดยาวมีการศึกษาวงจรชีวิตของมอดหนวดยาวที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดบด และข้าวกล้องบด ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70% พบว่าระยะไข่ถึงออกระยะเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา มากกว่า 34 วัน การทดสอบประสิทธิภาพสารรมฟอสฟีนในการควบคุมมอดหนวดยาว ทำลายข้าวโพดพบว่าใช้อัตรา 5 tablets ต่อตัน รมนาน 14 วัน สามารถกำจัดมอดหนวดยาวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต การจัดการแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวในผลไม้มีความสำคัญต่อการส่งออกเช่นกันจำเป็นต้องทำการศึกษา เช่น การจัดการเพลี้ยแป้งที่ติดไปกับผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว โดยในมังคุดพบว่าการแช่ผลมังคุดในสารละลายปิโตรเลียมออยล์ อัตรา 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที แล้วเป่าลมที่แรงดัน 20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 1 นาที สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งใต้กลีบผลมังคุดได้ดี ในทุเรียนพบว่าการฉีดพ่นผลทุเรียนด้วยสารสกัดสะระแหน่เข้มข้น 0.5% ผสมสารสกัดเปลือกมังคุดเข้มข้น 0.5% ในอัตราส่วน 1:1 ปริมาณ 30 มิลลิลิตรต่อผล สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้ทั้งหมด
บทคัดย่อ (EN): Plant extracts for controlling pests of agricultural products is one effective method, which can also reduce the amount of chemical substance used. The method increasingly interests researchers and farmers in agricultural fields. In this work, tests on the efficiency of the extracts from four selected plants, namely Agave parviflora, Eucalyptus camaldulensis, Mental cordifolia and Aloe vera against stored pests of mung bean seed were conducted in the laboratory and field test. The result showed that Mental cordifolia at 10, 15 and 20 percents were the most effective in controlling the pests and can be kept in the stored house for 6 months with no affect on germination of the mung beans. Experiments were conducted to study in packaging, the results showed that the plastic bag (PET/CPP and NY/LLDPE) and oxygen absorber (50 nd 100 ml) or vacuum caused 100% mortality to eggs and larval stages of both insects except the pupae stage of C. maculatus after 4 week. The efficiency of plastic bag (NY/LLDPE) and oxygen absorber (100 ml) caused 100% mortality to all the insects in five hundred grams of sesame seed. The efficacy of packaging with oxygen absorber for controlling post-harvest tamarind insect pests, Sitophilus linearis Herbst and Caryedon serratus Olivier were investigated on tamarind, Sri-Tong, by 500 gram of weight. It was found that using of two kinds of plastic bags, KNY and NY with 100 ml of oxygen absorber by packaging times more than 3 weeks could control all two insects. Especially, this packaging method was no effect on quality of tamarind. The studied on effect of temperature 70 ?C against all stages of O. surinamensis and C. hemipteru, the major insect pests of stored cashew nut. The exposure time required to obtain 100% insect mortality of O. surinamensis and Carpophilus hemipterus were 100 and 110 min. Heat treatment against many kinds of stored product insects in 2 kg. of rice were 60-70 OC for 3 hours and 80 OC for 2-3 hours.For maize , we can use 50 OC for 2 hours togetherwith carbondioxide for 18 hours to kill all stage of maize weevil. The efficacy of gamma ray 500 gray can control 100% of 4 stages, egg; larva; pupa and adult of merchant grain beetle (Oryzaephilus mercator Fauvel), pest of seasame and rust red grain beetle (Crytolestes pusillus (Schonherr)), damage on maize. Store-product insect pests can be controlled by using microwave. It was found that the temperature level eliminate almost all of maize weevil was over 83.8 OC which this temperature level was conducted by 110 W for 10 min, 330 W for 4-5 minutes, 550 W and 770 W for 2-3 minutes long. From the results showed that at the similar temperatures got from the low electric power level and long heating time would lead to better pest control than the high electric power level and short heating time. The efficiency of parasitic wasp (Anisopteromalus calandrae) on parasitizing Sitophilus zeamais was studies in 2007. The highest efficiency of the A. calandrae was 2,000 and 1,000 released per box at 16.30. The S. zeamais were completely controlled by the tested parasitic wasps within 4 weeks. Light trap was tested to control stored rice insect pests. Rhyzopertha domminica and Sitotroga cerealella were highest observed in population. Both rates decreased population of stored rice insect pests at each week after starting the experiment. The population of both insects were, however greatest at 6 weeks of the experiment and then, declined at the later weeks and less than 25 insects observed at week 13th. There were some insects contaminated postharvest garlics. Most of them were pineapple beetle,Urophorus humeralis . The study on species and their numbers were done in the storehouse using light traps. Fumigation of dried sliced garlics with phosphine 2 tablets per ton of dried garlics within 7 days under tarporline plastic seemed to be effective control for the dry product. The life cycle from egg stage to adult of the flat grain beetle reared on grided maize and brown rice at 30 ๐ C. and 70 % RH. indicated more than 34 days .The efficacy of phosphine fumigate to control the flat grain beetle in the maize warehouse in Pechaboon province was carried out .It was found that 5 tablets per ton of maize within 14 days fumigation gave good result in completely controlled all stage of flat grain beetle. Experiments were conducted to control Planococcus minor (Maskell) in post-harvest durians. Different substances including plant extracts at various levels of concentration were sprayed on post-harvest durians. The P. minor on the durians were blown away by a blower of power 30 pounds per square inch. The experimental results showed that a mixture of extract of Mental cordifolia concentration 0.5 % with Garcinia mangostana at concentration 0.5 % , in the ratio of 1:1 for 30 ml per one durian was the most effective treatment with 100% mortality rate. Also another experiment on the mealy bug,Dysmicoccus neobrevipes on mangosteen.The use of petroleum oil at the rate 20 ml. per 20 liter of water for 10 min. mangosteen dipping followed by 20 psi blower 1 min. gave good result. The studied on phosphine fumigation in stacks of stored maize against all stages of Rhyzopertha dominica and Tribolium castaneum. The recommendation of stored maize fumigation should use at least 3 tablets/ton dosage. The studied on evaluation of permeability to phosphine through different polymers against all stages of Tribolium castaneum (Herbst). The bag storage of animal supplementary feed are made from flexible polymer including : PET/LL laminated bag, PP coated three layered paper bag and PP coated band paper bag. The results showed that no T. castaneum (Herbst) of any stages were alive. This results indicated that all kind of bags in this experiment are good for use as a liner jute bags. The studied on phosphine fumigation in stacks of polished job’s tears and unpolished job’s tears against all stages of Sitophilus zeamais, Tribolium castaneum and Oryzaephilus surinamensis. The recommendation of polished job’s tears fumigation is 2 tablets/ton dosage while unpolished job’s tears fumigation should use at least 3 tablets/ton dosage. The efficacy of phosphine for controlling post-harvest tamarind insect pests, Sitophilus linearis Herbst and Caryedon serratus Olivier was studied on two varieties of tamarind, Sri-Tong and Khan-Tee. The suggested rate of phosphine for controlling post-harvest tamarind insect pests was 1 tablet per 1 m3 of tamarind. It could control post-harvest tamarind insect pests completely by no effect on tamarind pulp quality.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี ปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องและปลอดอภัยในจังหวัดนครนายก ชุดโครงการวิจัยการลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการทำนาของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี แผนงานวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตร การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสานของการผลิตพืช เพื่อลดการใช้สารเคมีในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสานของการผลิตพืช เพื่อลดการใช้สารเคมี ในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก