สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จินตนา บุญทองช่วย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่อง (EN): Structure and Distribution of fish Community in Thung Sam Roi Yot Swamp,
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จินตนา บุญทองช่วย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด ดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยชุดเครื่องมือข่าย 6 ขนาดช่องตา (20, 30, 40, 55, 70, และ 90 มิลลิเมตร) และเครื่องมือ ลอบนอนของชาวประมงในพื้นที่สํารวจ 6 จุด ทำการสุ่มตัวอย่าง 12 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือน กันยายน 2550 ข้อมูลที่ได้นําไปวิเคราะห์โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ค่าดัชนีทาง นิเวศวิทยา และการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (Cluster analysis) และการจัดลำดับ (MDS) ผลการศึกษาพบว่า บริเวณทุงสามร้อยยอดมีพันธุปลาที่พบรวม 80 ชนิด 41 วงศ และสัตวน้ำ อื่นๆ 13 ชนิด 5 วงศ โดยปลาไสตันตาแดงพบเป็นองคประกอบหลักของโครงสสร้างโดยจำนวน (18.02%) และปลานิลเป็นองคประกอบหลักของโครงสร้างโดยน้ำหนัก (28.73%) จากการแพรกระจายของประชากร ในชนิดพันธุปลาที่พบมาก 10 ชนิด พบมีความชุกชุมของประชากรปลาขนาดใหญ่ 6 ชนิด ที่บริเวณจุดสํารวจ บ้านหน้าป้อมและบึงบัว สวนการแพรกระจายโดยความชุกชุมของประชากรพบจุดสํารวจบริเวณบ้านหน้าป้อม มีพันธุปลาชุกชุมมาก 3 ชนิด และในชวงน้ำหลากพบมีปลาชุกชุมมาก 7 ชนิด โดยปลานิลมีความชุกชุมใกลเคียงกันในทุกชวงเวลาสํารวจ สำหรับค่าดัชนีความมากชนิด ดัชนีความเทาเทียม และดัชนีความ หลากหลายพบมีคาเฉลี่ย 3.19 ± 0.90, 0.66 ± 0.11 และ 2.71± 0.62 ตามลำดับการเปรียบเทียบการ แพรกระจายของประชาคมปลาด้วยเสนโคงการจัดลำดับความชุกชุมแสดงวาจุดสํารวจบริเวณบ้านหน้าป้อม และโรงเจมีชนิดและปริมาณปลาแพรกระจายใกลเคียงกัน การวิเคราะห์การจัดกลุ่มและการจัดลำดับของประชาคมปลาสามารถจัดแบงได้เป็น 6 กลุม โดยเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะการจัดกลุมกับปริมาณสัตวน้ำชนิดหลักที่พบ พบวากลุมจุดสํารวจ บ้านหน้าป้อม บึงบัว และโรงเจ มีปริมาณปลาไสตันตาแดง ปลาตะเพียนทราย (P.brevis) และปลาซิวสุมาตราคล้ายคลึงกันในทุกชวงเวลาสํารวจ จุดสํารวจเกาะไผ่มีปริมาณปลานิลคล้ายคลึงกันในชวงน้ำน้อย และน้ำทรง ในขณะที่กลุมจุดสํารวจบานดอนยายหนูมีปริมาณปลาบูลาย ปลาบูสั้น และปลาน้ำดอกไม้ แตกต่างกันระหว่างช่วงน้ำทรงกับชวงน้ำหลาก สวนจุดสํารวจบ้านเขาแดงพบปริมาณปลากระบอกคล้ายคลึง กันในชวงน้ำน้อยและน้ำหลาก และมีปริมาณปลาหลังเขียวและปลาเห็นโคนมากในชวงน้ำทรง
บทคัดย่อ (EN): The study on fish community structure and distribution in Thung Sam Roi Yot Swamp, Prachuap Khiri Khan Province was conducted by a set of 6-mesh size gillnets (20, 30, 40, 55, 70, and 90 mm) and traps. The surveys carried out from 6 stations and 12 sampling periods. Field sampling surveys were conducted every month during October 2006 to September 2007. All data were analyzed to find out the fish community structure and distribution pattern. The results showed that there were 80 species 41 families of fishes and 13 species 5 families of others aquatic animal found in the study area. Majority of fish community structure was composted of 18.02% of Cyclocheilichthys apogon by number and 28.73% of Oreochromis niloticus by biomass. From population size distribution of ten highly abundance fish species, large size of 6 species were found highly abundance at Ban Narporm and Bueng Bou station. An average diversity, richness and evenness indices of fish community were estimated to be 2.71±0.62, 3.19±0.90 and 0.66±0.11, respectively. The ranked species abundance curve show well distribution and similarity pattern at Ban Narporm and Rong jae station The result from cluster and MDS analysis were divided fish community into 6 groups. The superimpose analysis among different period of sampling showed that group of fish community at Ban Narporm, Bueng Bou and Rong jae station were found similarity pattern by amount of Cyclocheilichthys apogon, Puntius brevis, and Rasbora sumatrana. At Ban Kor Pai station, amount of Oreochromis niloticus was found similarity pattern during dry season and high water period. For Ban Don Yay Nu station, it was showed different amount of Boleophthalmus boddarti, Redigobius chrysosoma and Sphyraena jello during high water period and flood period. At Ban Kor Dang, Chelon subviridis was found highly different during dry season and flood period but Sardinella albella and Sillago sihama were found highly amount at high water period.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กรมประมง
30 กันยายน 2551
กรมประมง
โครงสร้าง และการแพร่กระจายของประชาคมปลาในพรุควนเคร็ง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาบริเวณพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง โครงสร้างประชาคมปลาในหนองหารจังหวัดสกลนคร ฤดูกาลและความซ้าซ้อนของการกินอาหารของปลาบางชนิดในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำชี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก