สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555
นางอัญชลีย์ ยะโกะ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive Biology of Longtail Tuna (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) Found in the Andaman Sea Coast of Thailand in 201
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางอัญชลีย์ ยะโกะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Yakoh
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ของประเทศไทย ได้ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องมือ อวนล้อมจับที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมง ตั้งแต่บริเวณเกาะกำ จังหวัดระนอง จนถึงเกาะอาดัง จังหวัดสตูล พบว่าปลาโอดำทั้งหมดมีความยาวส้อมหางอยู่ในช่วง 7.00-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 4.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัว อยู่ในรูปสมการ W = 0.0125FL3.1105 เพศผู้มีความยาวส้อมหางอยู่ในช่วง 22.70-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว อยู่ในช่วง 180.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัว อยู่ในรูปสมการ W = 0.0239FL2.9327 เพศเมียมีความยาวส้อมหางอยู่ในช่วง 18.50-58.80 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 115.00- 4,330.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัว อยู่ในรูปสมการ W = 0.0251FL2.9187 อัตราส่วน เพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1 : 0.76 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 41.46 และ 43.17 เซนติเมตร มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยวางไข่มากใน เดือนเมษายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศใต้และทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์ และทิศใต้ของเกาะตาชัย จังหวัดพังงา บริเวณนอกชายฝั่งหาดป่าตอง และทิศตะวันตกเกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต บริเวณทิศตะวันตก ของเกาะห้าและเกาะรอก จังหวัดกระบี่ และบริเวณรอบเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ความดกไข่อยู่ในช่วง 70,933-466,867 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่ อยู่ในรูปสมการ F = 0.0003FL5.2515
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of longtail tuna (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) in the Andaman Sea Coast of Thailand was studied during January-December in 2012. Fish samples were collected from purse seiners that landed at fishing ports in Ranong, Phang-Nga, Phuket, Trang and Satun Provinces. The fishing grounds were found in the area of Koh Kum of Ranong Province to Koh Adung of Satun Province. Fork length and body weight of tuna were in the ranged of 7.00-64.00 cm and 4.00-4,720.00 g. The fork length and body weight relationship was W = 0.0125FL3.1105. Fork length and body weight of the male was in the ranged of 22.70-64.00 cm and 180.00-4,720.00 g, and the fork length and body weight relationship was W = 0.0239FL2.9327. Fork length and body weight of the female was in the ranged of 18.50-58.80 cm and 115.00- 4,330.00 g, and the fork length and body weight relationship was W = 0.0251FL2.9187. Sex ratio of male and female was 1 : 0.76 which was significantly different (P<0.05). The sizes at first maturity of the male and female were 41.46 and 43.17 cm. The female spawn throughout the year with peak of spawning in April. The spawning grounds showed around the south and the west of Koh Surin and the south of Koh Tachai in Phang-Nga Province, offshore of Patong beach and the west of Koh Racha Yai and Koh Racha Noi in Phuket Province, the west of Koh Ha and Koh Rok in Krabri Province and around of Koh Tarutao in Satun Province. The fecundities were in the ranged of 70,933-466,867 eggs. The relationship between fork length and fecundity showed as F = 0.0003FL5.2515.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 61-3-0212-55023-05
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/142562.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: ฝั่งทะเลอันดามัน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2555
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-25T09:44:58Z No. of bitstreams: 1 14-2562 ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ อัญชลีย์.pdf: 992921 bytes, checksum: a881e9a77eeece1c012c2c1b8ac28810 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาลัง (Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหลังเขียวชนิด Sardinella gibbosa (Bleeker,1849) ฝั่งทะเลอันดามันของไทย สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อน ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก