สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา
วีรนาถ เปรื่องค้า - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีรนาถ เปรื่องค้า
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รายงานการศึกษาเรื่องความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร การผลิตและการตลาดเบญจมาศ ความต้องการและปัญหาของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดเบญจมาศ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวิธีสำมะโนประชากรจำนวน 96 ราย ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษามีดังนี้ เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย แต่งงานแล้ว มีบุตรเฉลี่ย 2 คน จบการศึกษาชั้น ป. 4 มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 9 ไร่ เกษตรกรที่ปลูกเบญจมาศเฉลี่ย 3 ปี มีโรงเรือนตัดดอกเฉลี่ย 10 โรงต่อราย มีโรงเรือนต้นแม่พันธุ์เฉลี่ย 2 โรง พื้นที่ของโรงเรือนเฉลี่ย 54 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นโรงเรือนโครงเหล็กที่เคลื่อนย้ายได้ เกษตรกรได้ต้นพันธุ์เบญจมาศจากการผลิตพันธุ์เองและซื้อจากกลุ่ม ส่วนใหญ่ปลูกเบญจมาศชนิดดอกช่อ และปลูกแบบไม่เด็ดยอด ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์โพลาลีส พันธุ์เรแกน พันธุ์ยูริ พันธุ์สไปเดอร์ พันธุ์เชอร์แมน และอื่น ๆ เกษตรกรปลูกเบญจมาศเฉลี่ย 3 รุ่นต่อปี มีการใส่ปูนขาวอัตราเฉลี่ย 4 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร มีการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 90 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต มีโรคแมลงที่สร้างความเสียหายได้แก่ โรคใบจุด โรคใบแห้ง เพลี้ยไฟ โรคดอกเน่า และหนอนชอนใบ เกษตรกรไม่มีการคัดคุณภาพดอก ได้ผลผลิตเฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อรุ่นต่อพื้นที่ 54 ตารางเมตร จำหน่ายราคาเฉลี่ย 51 บาทต่อกิโลกรัม และมีรายได้เฉลี่ย 9,936 บาทต่อรุ่นต่อโรง เกษตรกรมีความต้องการต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในระดับมากทุกประเด็น ได้แก่ ตลาดขายผลผลิตที่แน่นอน ความรู้ด้านการผลิต การติดตามให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง การศึกษาดูงานกลุ่มที่สามารถผลิตเบญจมาศได้ดี พันธุ์เบญจมาศที่ปลอดโรคและคุณภาพดี สนับสนุนโรงเรือนปลูกเบญจมาศ ได้ผลผลิตและคุณภาพเบญจมาศดีขึ้น ประชาสัมพันธ์ผลผลิตเบญจมาศให้แพร่หลายขึ้น ความรู้ด้านการตลาดเบญจมาศ มีรายได้จากการปลูกเบญจมาศเพิ่มมากขึ้น ขยายเขตไฟฟ้าเข้าไปถึงสถานที่ปลูกเบญจมาศ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเบญจมาศ ขุดแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการปลูกเบญจมาศเพิ่มมากขึ้น ความรู้การรวมกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานกลุ่มรวมทั้งความรู้การจัดการผลผลิตเบญจมาศ มีปัญหาในการผลิตและการตลาดเบญจมาศ ได้แก่ โรงเรือนไม่เพียงพอไม่ได้มาตรฐาน โรคแมลงระบาด ขาดเงินทุน ราคาผลผลิตต่ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดความรู้ด้านการตลาด ระบบไฟฟ้าไม่ถึง ขาดความรู้การจัดการและวางแผนการผลิต ข้อเสนอแนะควรสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิต ส่งเสริมให้กลุ่มมีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ควรถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มและสมาชิกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งความรู้ด้านการผลิต การตลาด การศึกษา ดูงานเพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์ในการผลิตเบญจมาศมากยิ่งขึ้น ควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้กลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ยิ่งดีขึ้น ประสานงานและอำนวยการให้เกิดตลาดข้อตกลงล่วงหน้า พร้อมทั้งควรมีการติดตามแนะนำเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกรในตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรใน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2546/2547 สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดหวานของเกษตรกร ตำบลมาบตะโกเอน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก