สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
จรัสพิมพ์ บุญญานันท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): PHYSICAL ENVIRONMENT DEVELOPMENT GUIDELINES FOR PRIMARY SCHOOLS IN RURAL DISTRICTS: THE CASE STUDIES OF SCHOOLS IN KING AMPHUR DOILOR, CHIANG MAI
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรัสพิมพ์ บุญญานันท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): CHARASPIM BOONYANUNT
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพโรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการในสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อเป็นพื้นที่ศึกษา นอกจากจะเป็นแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่แห่งนี้ ยังสามารถนำไปเป็นตัวอย่างต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนอื่นๆในภูมิภาคนี้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไปได้อีกด้วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ และแบบสังเกตการณ์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยสุ่มตัวอย่างครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อรวมทั้งสิ้น 14 โรงเรียน ส่วนแหล่งข้อมูลทุติยภูมินั้นได้จากการค้นคว้าเอกสารและตำราต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลตามประเด็นการจัดเก็บข้อมูลตามหัวเรื่องในเครื่องมือในการวิจัยจากการเก็บข้อมูลภาคสนามได้แก่ การสังเกตการ การสัมภาษณ์ เพื่อประมวลผลสรุปข้อมูลโรงเรียนต่างๆโดยใช้การวิเคราะห์สถิติข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เช่น สถิติแบบร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ในด้านทัศนคติที่มีต่อโรงเรียนนั้นส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางต้านกายภาพเป็นส่วนมากในต้านความร่มรื่น แต่ขาดความพึ่งพอใจต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีของโรงเรียน ปัญหาสภาพแวดล้อมทางต้านกายภาพที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอย รองลงมาได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับกรระบายน้ำ และโรงเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการจัดสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพโดยการจัดภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลรวมโดยเฉลี่ยของทุกโรงเรียนแล้วพบว่า องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีอยู่เดิมและอยู่ในสภาพดี และนับได้ว่ามีมากกว่าประเภทอื่น ๆ คือ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ ส่วนองค์ประกอบพบว่าอยู่ในสภาพที่ต้องปรับปรุงคือ องค์ประกอบทางด้านระบบสัญจร และองค์ประกอบที่ขาดแคลนมากที่สุดเมื่อคิดจากค่าเฉลี่ยคือ องค์ประกอบประเภทอาคารและสิ่งก่อสร้าง ปัจจัยอันประกอบไปด้วยปริมาณนักเรียนในโรงเรียน ขนาดของโรงเรียน ความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ของนักเรียน ลักษณะการวางผังโรงเรียน และค่าความขาดแคลนในโรงเรียนต่างก็มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และมีผลกระทบต่อกัน โรงเรียนที่มีปริมาณนักเรียนน้อยมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กกว่าและมีค่าความขาดแคลนในโรงเรียนมากกว่าโรงเรียนที่มีปริมาณนักเรียนมากกว่าสำหรับในด้านการวางผังนั้นโรงเรียนที่มีขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะจัดผังในรูป L-shape และ U-shape ในขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะจัดแผนผังในรูป Cluster เมื่อจำแนกกลุ่มโรงเรียนตามลักษณะและปัญหาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนแล้ว จึงทำการคัดเลือกได้โรงเรียนที่จะดำเนินการโครงการสาธิตโครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตท้องถิ่น คือโรงเรียนบ้านเจริญสามัคคี ซึ่งเป็นตัวแทนของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีปริมาณนักเรียนน้อย ทำการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้สำหรับเด็ก นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงระบบสัญจร การวางผังการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงองค์ประกอบที่สำคัญของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน'และการออกแบบวางผังพืชพรรณที่เหมาะสมอีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): The research project on "Physical Environment Development Guidelines for Primary Schools in Rural Districts: The Case Studies of Schools in King Amphur Doilor, Chiang Mai" aimed to develop landscape architectural knowledge in a field of school design and development. Fourteen primary schools located in King Amphur Doilor were chosen as case studies. This project not only indicated practical development guidelines for schools in this area, it also demonstrated typical environment development for other similar schools in this region. Two data sources were used in this quantitative research. The primary source was field survey data collection from interview, survey and observation studying on schools' environment. Samplings were randomly chosen from teachers, students and staffs of all fourteen schools. The secondary source was data collection from documents and texts. Then each group of data was analyzed and synthesized using descriptive statistics such as percentage, mean, etc. Research findings indicated that most samplers had good attitudes toward the schools' landscape environments. However, they were not satisfied with the schools' infrastructure system. Physical environmental problems generally found in the schools were poor rubbish eradication and drainage system. Samplers in most schools wanted their schools' physical landscape environment to be redesigned and developed. Overall data analysis indicated that existing schools' environmental elements in good condition were mostly landscape elements. Those in poor condition were mostly circulation elements. Moreover, the most insufficient elements were structural elements. Factors included student population density, landuse planning, and insufficiency of environmental elements were related and effected each other. The schools with less population tended to be smaller in size and more insufficient than those with more population. Landuse planning of the smaller schools tended to be in L-shape and U-shape, while that of the larger schools tended to be in Cluster. The sampling schools were sorted out due to their characteristics and environmental problems. Then, Banchareonsamakkee School was chosen as an environment improvement demonstration project for schools in rural districts. It was a representative of small schools with less student population. The school's landscape environment was designed considering fundamental elements that encouraged child learning and development. Moreover, the design emphasized on effective improvement of circulation system, landuse planning, environmental elements and planting design.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-44-024
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://issuu.com/tuboonyanant/docs/doilor_final
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2544
เอกสารแนบ 1
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อจังหวัดเชียงใหม่ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) บนเส้นทางการปรับเปลี่ยนในยุคทีวีดิจิทัล กรณีศึกษา: เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ และ เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งการเกษตรอินทรีย์ เพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอยุธยา และจังหวัดชลบุรี สภาพการผลิตและช่องทางการจัดจำหน่ายผักพื้นบ้านของเกษตรกรในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรชุมชนด้านการท่องเที่ยวและการบริการใน จังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับเศรษฐกิจอาเซียน การยกระดับศักยภาพผู้พิการสู่การพัฒนาเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อย่างสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายเพื่อการให้บริหารศึกษาดูแล และการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดเชียงใหม่ กรณี : เด็กติดเชื้อและเด็กที่ได้รับผลกระทบจ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนในการสร้างช่องทางการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก