สืบค้นงานวิจัย
การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy
สุภัทรา อุไรวรรณ์, คงภพ อำพลศักดิ์, ศิริพร จีนหมิก, อุดม สาระชาติ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy
ชื่อเรื่อง (EN): Sex reversal in giant freshwater prawn (Macrocrachium rosenbergii ) by Andrectomy
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดลองแปลงเพศกุ้งก้ามกรามให้เป็นเพศเมียโดยวิธี Andrectomy ดำเนินการ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึง เมษายน 2553 โดยทำการผ่าตัดเอา androgenic glands ที่อยู่ติดกับท่อนำน้ำเชื้อบริเวณโคนขาเดินคู่ที่ 5 ออกทั้ง 2 ข้างของลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ ดำเนินการทั้งหมด 6 ครั้ง โดยลูกกุ้งจำนวน 1,569 ตัว มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.63?0.17 กรัม ที่อายุเฉลี่ย 43-58 วัน มีอัตรารอดตายเฉลี่ยหลังจากการผ่าตัด 24 ชั่วโมง เท่ากับ 84.01?11.92 % ด้านการเจริญเติบโตของกุ้งที่ได้รับการแปลเพศหลังจากเลี้ยงเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 33.92?6.70 กรัม และมีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักต่อวัน (ADG) เท่ากับ 0.17?0.03 กรัม/วัน เมื่อทำการตรวจสอบเพศของกุ้งที่ผ่านการผ่าตัด พบว่าสามารถแปลเพศกุ้งให้เป็นเพศเมีย (Neo-female)โดยดูจากการที่ไม่พบ appendix masculina (AM) ที่บริเวณขาว่ายน้ำคู่ที่ 2 จำนวน 225 ตัว คิดเป็น 14.34?4.60 % ของกุ้งที่ดำเนินการแปลงเพศทั้งหมด ในจำนวนนี้มีกุ้งเพียง 10 ตัวที่มีการพัฒนาของรังไข่และสามารถปล่อยไข่ไว้ที่หน้าท้องได้ เมื่อนำกุ้งเพศเมียดังกล่าวไปผสมกับกุ้งเพศผู้ปกติเพื่อทดสอบหาอัตราส่วนเพศของลูกกุ้ง ปรากฏว่าสามารถจับคู่ผสมได้ 3 ตัว และให้ลูกที่เป็นเพศผู้ล้วนจำนวน 2 แม่ จากการวิจัยพบว่าสามารถแปลงเพศกุ้งก้ามกรามให้เป็นกุ้ง Neo-female และให้ผลผลิตเป็นกุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วน แต่ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานน้อยมาก ผู้วิจัยมีความเห็นว่าน่าจะดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแม่พันธุ์กุ้งก้ามกราม Neo-female สำหรับใช้ผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเชิงพาณิชย์ต่อไป คำสำคัญ: กุ้งก้ามกราม แปลงเพศ
บทคัดย่อ (EN): Feminization in immature male giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) by removal of the androgenic gland (andrectony) at Aquatic Animal Genetics Research and Development Institute, Pathumthani . These experiments, 1,569 juvenile male at 43-58 days after metamorphosis and average weight 0.63?0.17 g. were selected for andrectomy by removing the fifth pair of walking legs with the androgenic gland. Survival rate at 24 hour was 84.01?11.92 %. After 6 month the final mean weights of andrectomized prawn was 33.92?6.70 g. and average daily growth rate (ADG) was 0.17?0.03 g./day. The regeneration of second pleopod was checked, 225 prawns not have appendices masculina (14.34?4.60 %). These animals have only 10 animals developed ovaries and laid eggs, but only 2 prawn were found to be all-male producing animals. This research offer a feasible method to feminized in giant freshwater prawn (Neo-female), which produce all male prawn. But with very little success in the operation. Researchers have concluded that further research will be studied in order to enhance the Neo-female, for the all male prawn production in the commercial farming. Keyword: Giant freshwater prawn, sex reversal, andrectomy
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม ผลของการเสริมแมททิลฟาร์นีโซเอทและเซอโรโทนินในอาหารกุ้งก้ามกรามต่อการพัฒนาการของรังไข่ ความดกของรังไข่ และการเปลี่ยนแปลงเพศกุ้งก้ามกราม คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน การทดลองแปลงเพศปลานิลให้เป็นเพศผู้โดยใช้สารสกัดใบมังคุด การศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผลของฮอร์โมน 17 estradiol ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม ปริมาณฮอร์โมน17?-estradiol ที่เหมาะสม ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก