สืบค้นงานวิจัย
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงอินทรีย์สำหรับผู้ประกอบการ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ภูษณิศา เตชเถกิง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงอินทรีย์สำหรับผู้ประกอบการ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Organic Tea Leaves innovative Product for Entrepreneurs in TepSadej district, DoiSaket, Chiang Mai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภูษณิศา เตชเถกิง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pusanisa Thechatakerng
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชาเมี่ยงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญต่อเกษตรกรผู้ประกอบการชาเมี่ยงอินทรีย์ที่ อาศัยอยู่ ตําบลเทพเสด็จ ซึ่งชาเมี่ยงอินทรีย์เหล่านี้สามารถไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ ปัจจุบันในตลาดมีการแข่งขันสูง ดังนั้นพื่อความอยู่รอดและสามารถให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่สําคัญและน่าสนใจแก่ผู้ประกอบการ งานวิจัยเชิงผสมผสานนี้ ในส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ เสวนา และจัดทําประชุมกลุ่ม ผ่านผู้ประกอบการที่ผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงอินทรีย์ราย ใหญ่บนดอยเทพเสด็จ 4 ราย สําหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูล 400 รายผ่านลูกค้าที่ซื้อ สินค้าบนดอยเทพสด็จ โดยวิเคราะห์ 4 ด้านใหญ่ๆ ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย ความคิดนวัตกรรม ปัจจัยที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการผลิตสินค้า นวัตกรรมพื้นฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงมีผู้ประกอบการมีแนวคิดนวัตกรรมเรื่อง ความคิด สร้างสรรค์และเครื่องมือข้อมูลที่สนับสนุนการออกแบบรูปแบบ มาจากลูกค้า ตัวเอง คู่แข่ง รวมถึงปัจจัยแวดล้อมในที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่ นอกจากนี้ผู้ประกอบการมีการใช้นวัตกรรมที่ คล้ายคลึงกับแบบเดิม เพื่อให้ผู้ผลิตมีการปรับเปลี่ยนให้น้อยที่สุด ที่เรียกว่านวัตกรรมใน ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ส่วนผลจากการวิจัยเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อมช่วยเกิดแรงบันดาลใจ ในการออกแบบ รูปแบบหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ด้านครอบครัวและด้านกายภาพ รวมถึงสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน มีความสําคัญ ต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง
บทคัดย่อ (EN): Tea leaves, an important economic crop for organic tea leaves entrepreneurs in Tep sadej sub-district. Tea leaves can be processed to variety products. However, Entrepreneurs are in highly competitive markets. Innovative products become important for entrepreneurs to survive. This mix method research, in the part of qualitative research, in-depth interview was used to collect data via 4 entrepreneurs who act as producers and distributors. For the quantitative research, 400 customers were collected data through questionnaires in Tep sadej sub-district. 4 parts of innovation; the characteristics of targets, innovative thinking, factors affecting to products innovation and basics innovation were analyzed. The results showed that entrepreneurs had their innovative concept in term of creativity and mechanism support from customers, themselves, competitors and physical environment. Moreover, entrepreneurs applied innovative concept similar to previous products in order to have least change in their products which we could interpret as Incremental Innovation. Furthermore, the quantitative research part explained that environment factors created inspiration in product design or product adaptation of entrepreneurs. Besides, family and village physical factors influenced to tea leaves product innovation.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-074
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/875
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงอินทรีย์สำหรับผู้ประกอบการ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
การสร้างผู้ประกอบการ Start Up เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ Premium OTOP ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มสมัยใหม่และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ การสร้างนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษแก่ชาวนาข้าวอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โปรแกรมการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม สำหรับผู้ประกอบการลำไยอบแห้ง ศึกษาความต้องการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่จังหวัดแพร่ การพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชน ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนและ พัฒนาผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมขนเชิงเกษตรแบบครบวงจรในตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย รูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก