สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินดานเพื่อรักษาความชื้นในดินในสวนยางพาราปลูกใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุษา จักราช, สุปราณี ศรีทำบุญ, พัชนี อาภรณ์รัตน์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินดานเพื่อรักษาความชื้นในดินในสวนยางพาราปลูกใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Hard Pan Management to soil Moisture Conservation in Rubber Tree Plantation Area in Northeast
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการจัดการดินดานเพื่อรักษาความชื้นในดินในสวนยางพาราปลูกใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาผลของการจัดการดินต่อสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินโดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomize Complete Block Design) มี 5 ตำรับการทดลอง ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 1: แปลงควบคุม (control) ตำรับการทดลองที่ 2: ปลูกพืชคลุมดิน ตำรับการทดลองที่ 3: ปลูกหญ้าแฝกรอบโคนต้นยางพารา ตำรับการทดลองที่ 4: ปลูกถั่วพร้าระหว่างแถวยางพารา ตำรับการทดลองที่ 5: ไถระเบิดดินดาน โดยดำเนินการในแปลงเกษตรกร หมู่ที่ 2 บ.เหลื่อม ต.ดอนช้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2556-เดือนกันยายน 2559 รวมระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ผลการทดลองพบว่า จากการศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 (ไถระเบิดดินดาน) มีแนวโน้มทำให้ยางพารามีการเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนตำรับการทดลองที่มีการปลูกพืชคลุมดิน (ซีรูเลียม) ทำให้ยางพารามีอัตราการรอดตายสูงสุด ส่วนผลการศึกษาการจัดการดินต่อสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยตำรับการทดลองที่ 5 มีผลทำให้ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับตำรับการทดลองอื่นๆ เช่น ค่า CEC ค่าความหนาแน่นรวมของดิน มีค่าน้อยกว่าตำรับการทดลองอื่นๆ กล่าวคือ มีความร่วนซุยของดินมากกว่าเมื่อเทียบกับตำรับการทดลองอื่นๆ โดยในโครงการวิจัยนี้ ดำเนินการวิจัยเพียง 3 ปี ยางพารายังเจริญเติบโตไม่ดี นักเนื่องจากในช่วงที่ดำเนินการวิจัย ในปี 2556-2557 เป็นปีที่มีปริมาณฝนตก ในเขต พื้นที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น น้อยมาก จึงส่งผลให้ยางพาราเผชิญกับสภาวะฝนทิ้งช่วง พืชขาดน้ำในการเจริญเติบโต โดยในแต่ละปี จะมีช่วงที่ฝนทิ้งช่วงประมาณ 6-7 เดือนที่ยางพาราไม่ได้รับน้ำ จึงมีผลทำให้ยางพาราที่ปลูกในแปลงทดลองตายเป็นจำนวนมาก ส่วนที่รอดบางส่วนก็มีทั้งที่มีการเจริญเติบโตดีและไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นสำหรับงานทดลองนี้ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีการติดตามผลการเจริญเติบโตของยางพาราต่อ เพื่อดูแนวโน้มการเจริญเติบโตและอัตราการรอดเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบผลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This research aims to preserve mositure for new rubber tree plantation in north-eastern region. The research was planned conducted by Randomize Complete Block Design. Physical and chemical soil properties were collected and analysed. Five rubber plantation were carried on by agriculturer at Moo.2 Donchang Sub-distric, Maeung Distric, Khon Kaen Province from October 2014 – September 2016. In the first experiment, recover plant were planted between of row of rubber trees. Second experiment was carried on by planting vetiver at around rubber tree plantation line. Third experiment was jack bean plantation in between rubber tree plantation line. Forth experiment was to Soil explosion and determine the effect to rubber tree growth. It was found that fourth experiment (Soil explosion) showed highest rubber tree growth. First and second experiments, which recover and vetiver were planted around the base of rubber tree, gave highest rubber tree survival rate. No significant different were found. It was also found that Soil explosion improved physical and chemical soil properties as shown by reduced CEC and soil density. By comparing to previous researches, it was found that bulk density was improved. During 2014-2015, the research plantation faced a drought which affected rubber plants growth and decreased survival rate in the experiments. Also, 3-year-old rubber plants studied in this project was too young for rubber tapping. A wider period of time is suggested to studied the effect of drought to rubber plant survival and growth.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินดานเพื่อรักษาความชื้นในดินในสวนยางพาราปลูกใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
ผลของการจัดการดินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของดินในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาการจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ การสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพาราในกลุ่มชุดดินที่34 ชุดดินท่าแซะ ศึกษาการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพในการจัดการดินต่างๆร่วมกับหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มศักยภาพของดินต่อการเจริญเติบโตของยางพาราใน จ.ชลบุรี การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานของยางพาราก่อนเปิดกรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการดินในหลุมปลูกที่มีผลต่ออัตราการรอดตาย และการเจริญเติบโตของต้นกล้ายางพาราในเขตพื้นที่ปลูกยางใหม่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สูตรปุ๋ยสำหรับเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลไกตลาดยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก