สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการตลาดข้าว ของเกษตรกร ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
อุทิศ ปิดตาลาคะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดข้าว ของเกษตรกร ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุทิศ ปิดตาลาคะ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรสภาพการผลิตและการตลาดข้าวปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวของเกษตรกร มีขอบเขตการศึกษาเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ปีการเพาะปลูก 2546/2547 เกษตรกร ตัวอย่าง 256 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปประมวลผลข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.72 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 6 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเองเฉลี่ย 21.97 ไร่ พื้นที่ต้องเช่าเพิ่มเติมเฉลี่ย 10.32 ไร่ รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 62,337.73 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 25,019.15 บาท ส่วนใหญ่เคยผ่านการฝึกอบรม มีประสบการณ์ปลูกข้าวจากพ่อแม่ พื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดเฉลี่ย 31.63 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 28.16 ไร่ ขาวตาแห้งเฉลี่ย 14.19 ไร่และข้าวเหนียวเฉลี่ย 9.24 ไร่ เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ปลูกข้าวโดยการหว่านสำรวย อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 21 - 30 ก.ก.ต่อไร่ มีการไถกลบตอซัง ใช้รถแทรคเตอร์ 4 ล้อในการไถดะ ไถแปรและคราดใช้รถไถเดินตาม น้ำที่ใช้โดยอาศัยน้ำฝน ส่วนมากเป็นนาดินทราย ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 เฉลี่ย 8.98 ก.ก.ต่อไร่ และครั้งที่ 2 เฉลี่ย 11.13 ก.ก.ต่อไร่ กำจัดวัชพืชในนาข้าวโดยการถอน มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดหนูและปูนา ส่วนใหญ่ตัดสินใจในการเก็บเกี่ยวข้าวโดยดูจากรวงข้าวแก่ทั้งรวง ตากข้าวมากกว่า 3 แดด เก็บเกี่ยวและนวดข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด เก็บข้าวเปลือกโดยการเทรวมกันในยุ้งฉาง มีการจ้างไถเตรียมดิน หว่านข้าว เก็บเกี่ยวข้าว นวดข้าว และจ้างในการขนส่ง จะแบ่งขายข้าวเปลือกบางส่วน ส่วนใหญ่ขายข้าวให้แก่พ่อค้าท้องถิ่น ปัญหาการผลิตและการตลาดข้าว ผลการศึกษาพบว่าโดยภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มผลิตข้าว เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต การใช้เครื่องจักกลการเกษตร รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง จะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปีการเพาะปลูก 2546/2547
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการตลาดข้าว ของเกษตรกร ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลตะโก อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก