สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
สมควร สารพัฒน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมควร สารพัฒน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 : กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดี และการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ศึกษาจากประชากรที่เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 104 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 44.2 มี อายุเฉลี่ย 48.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานในครัวเรือน 3.79 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ร้อยละ 63.5 เป็นสมาชิกกลุ่ม ธกส. ร้อยละ 61.5 มีประสบการณ์ในการทำนา 30.3 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 22.7 ไร่ มีพื้นที่นาถือครองเฉลี่ย 14.8 ไร่ ร้อยละ 60.6 เป็นเจ้าของที่ดินเองทั้งหมด ใช้น้ำจากน้ำฝน ร้อยละ 48.1 ปลูกข้าว กข 6 ส่วนใหญ่นำเมล็ดพันธุ์มาจากศูนย์ข้าวชุมชน และได้มาโดยการซื้อ ได้ผลผลิตจากข้าวเจ้าเฉลี่ย 1,610.9 กิโลกรัม ได้ผลผลิตจากข้าวเหนียว 2,846.2 กิโลกรัม / ครอบครัว จำหน่ายผลผลิตข้าวได้เฉลี่ย 10,551.07 บาท /ครอบครัว เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวเฉลี่ย 10,168.9 บาท / ครอบครัว การดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน เกษตรกรส่วนใหญ่ ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวตรงตามความต้องการ เพียงพอกับความต้องการ ตรงตามกำหนดเวลาที่ต้องการ เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ตรงตามสายพันธุ์ มีเปอร์เซนต์ความงอกปานกลาง ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ได้รับการสนับสนุนปุ๋ยเคมี ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของโครงการ มีส่วนร่วมในการคัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ มีส่วนร่วมในการแต่งตั้งกรรมการบริหารศูนย์ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์ มีส่วนร่วมในการเข้ารับการอบรมตามรูปแบบของโรงเรียนเกษตรกร มีส่วนร่วมในการแนะนำสมาชิกในการจัดทำแปลงผลิตข้าวพันธุ์ดี มีส่วนร่วมในการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมาชิกที่ผ่านการตรวจสอบมาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิก มีส่วนร่วมในการเรียกเก็บค่าปัจจัยการผลิตจากสมาชิกเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียน มีส่วนร่วมในการจัดหาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยบริการสมาชิก ไม่มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการศูนย์ ได้รับการติดตามเยี่ยมเยียนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม 5 - 8 ครั้ง ได้รับการอบรมความรู้ด้านการผลิตข้าวพันธุ์ดี สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีได้ทั่วถึง ได้รับผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น หลังเข้าร่วมโครงการ สามารถจำหน่ายผลผลิตข้าวได้ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยี โดยภาพรวมส่วนใหญ่มีการยอมรับ ได้แก่ การเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากทางราชการ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การทดสอบความงอกก่อนการหว่าน การคัดเมล็ดพันธุ์ปนหรือเป็นโรคแมลงออกก่อนปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 3 ปี การเตรียมเมล็ดพันธุ์โดยแช่น้ำสะอาด 24 ชั่วโมง และบ่มนาน 36 - 48 ชั่วโมง การเตรียมดิน การใช้ระยะปลูกและอัตราเมล็ดพันธุ์ การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยว การตัดพันธุ์ปน และการเก็บข้าวไว้ทำพันธุ์ ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรแนะนำให้เกษตรกร มีความรู้ด้านการตลาด เทคนิคการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี และควรมีการศึกษาด้านการตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ที่ผลิตได้จากศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2545
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 : กรณีศึกษาในเขตชลประทาน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว แบบโรงเรียนเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิต พันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก