สืบค้นงานวิจัย
เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
ประดิษฐ์ ชนชื่นชอบ, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, มนทกานติ ท้ามติ้น, สิริพร ลือชัยชัยกุล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
ชื่อเรื่อง (EN): Metabolism of different pigments on growth, survival rate, moulting and of swimming crab (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของรงควัตถุในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและองค์ประกอบแคโรทีนอยด์ในปูม้า (Portunuspelagicus, Linnaeus 1758) ที่มีน้ำหนักเริ่มต้น 0.14 กรัม ความกว้างและความยาวกระดอง 10.3 และ6.2 มิลลิเมตรตามลำดับโดยเสริมรงควัตถุชนิดต่างๆในอาหารที่มีโปรตีน 49% และไขมัน 14% จำนวน 6 สูตร ดังนี้ สูตรที่ 1-5 เสริมแอสตาแซนทิน แคนตาแซนทิน เบต้าแคโรทีนลูทีนและซีแซนทินความเข้มข้น 100 mg/kg ตามลำดับ และสูตรที่ 6 เป็นชุดควบคุมที่ไม่เสริมรงควัตถุ เมื่อเลี้ยงครบ6 สัปดาห์พบว่าการเสริมรงควัตถุทุกชนิดไม่มีผลต่อขนาดและการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและความถี่ในการลอกคราบของปูรวมทั้งไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความกว้างและความยาวกระดองที่เพิ่มขึ้นในการลอกคราบแต่ละครั้ง(p>0.05) โดยน้ำหนักสุดท้ายมีค่า1.46-1.80 กรัม ความกว้างและความยาวกระดองมีค่า22.12-23.79 และ14.03-15.16 มิลลิเมตรตามลำดับ การเจริญเติบโตโดยน้ำหนักเพิ่ม 967.75-1219.05% ความกว้างและความยาวกระดองเพิ่มมีค่า108.10-129.74และ123.79-143.27%ตามลำดับอัตรารอดตาย 93-100% ความถี่ในการลอกคราบ 2.80-3.13 ครั้งต่อตัวต่อ 6 สัปดาห์และระยะเวลาเฉลี่ย 14-17 วันต่อครั้ง ผลวิเคราะห์แคโรทีนอยด์ในปูม้าทั้งตัวเมื่อเลี้ยงครบ 6 สัปดาห์และเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ เมื่อครบ 3เดือนพบว่ารงควัตถุในอาหารมีผลต่อองค์ประกอบและปริมาณแคโรทีนอยด์รวมในปูม้าโดยพิจารณาจากปูม้าทั้งตัวและส่วนของepidermal membrane เหงือก เฮบพาโตแพนเครส เนื้อส่วนท้องและเลือด ทั้งนี้ปูม้าทุกสูตรอาหารสะสมแคโรทีนอยด์ใน epidermal membrane มากที่สุด ปูม้าที่ไม่ได้รับการเสริมรงควัตถุในอาหารมีปริมาณแคโรทีนอยด์รวมสะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ น้อย เช่นเดียวกันกับผลวิเคราะห์ทั้งตัวพบว่ามีองค์ประกอบของซีแซนทินลูทีนแคนตาแซนทินเบต้าแคโรทีนและแคโรทีนอยด์ที่มีกลุ่มคีโตนคือ แอสตาแซนทินทั้งในรูปอิสระและเอสเตอร์ในสัดส่วนที่น้อยมากและไม่มีชนิดใดเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อ saponifiedเกิดแอสตาซีนจากการเปลี่ยนรูปของแอสตาแซนทินและแอสตาแซนทินเอสเตอร์ส่วนปูม้าที่ได้รับอาหารเสริมรงควัตถุนั้นเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีการสะสมของแคโรทีนอยด์ตามชนิดของรงควัตถุที่ได้รับจากอาหาร คำสำคัญ: แคโรทีนอยด์ เมตาบอลิซึม ปูม้า
บทคัดย่อ (EN): The effect of dietary pigments sources on growth, survival rate, moulting and carotenoids profiles and contents was investigated in blue swimming crab, Portunuspelagicus (Linnaeus 1758)with an initial weight of 0.14 g, carapace width and length of 10.3 and 6.2 mm. The crabs were fed with 6 isoproteic and isolipidic diets supplemented with various carotenoids sources; diets 1-5 were supplemented with astaxanthin, canthaxanthin, ?-carotene, lutein and zeaxanthin at 100 mg/kg, respectively and diet 6 was a non-pigmented diet. After 6 weeks rearing, carotenoids sources were not significantly affected on size, growth, survival rate andmoulting frequency of the crabs as well as on width or length increment at each moulting(p>0.05). At termination, crabs mean body weight were 1.46-1.80 g, carapace width and length were 22.12-23.79 and 14.03-15.16 mm. Weight gainwere 967.75-1219.05%, carapace width and length gain were 108.10-129.74% and 123.79-143.27%, and survaival rate were 93-100%. Average moultingfrequency were 2.80-3.13 times/individual/6 weeksand 14-17 days/each moult. Feeding trails were prolonged until 3 months to obtain larger crabs for tissue analyses. Dietary pigments sources did affect on carotenoids profile and contents of young swimming crabsin either whole crabs or various tissues as crab meat, epidermal membrane, hepatopancreas, gill and blood. Carotenoids were highly deposited in epidermal membrane of all fed groups. The carotenoid level of whole crab fed non-pigmented diet was very low and had a collection of small peaks of zeaxanthin lutein canthaxanthin?-carotene together with ketone carotenoids eg. astaxanthin and its esters, with no major component. The overall results revealed that the main carotenoid that accumulates is the one that was fed. Key words : carotenoids, metaboloism, Portunuspelagicus
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
กรมประมง
31 มีนาคม 2553
กรมประมง
ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิตของปลานิลแดงในบ่อพักน้ำเค็ม การเปลี่ยนแปลงสรีระเคมีและกิจกรรมเอนไซม์ย่อยอาหารในรอบวงจรลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus) ผลของพื้นที่หลบซ่อนต่ออัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)ในบ่อดิน การจำแนกชนิดของปูม้า (Portunus pelagicus) ในน่านน้ำไทยโดยใช้จำนวนและรูปร่างของโครโมโซม ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830 ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก