สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแหล่งที่มาและการใช้แร่ธาตุหลักในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii) และกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei)ในระบบการเลี้ยงแบบปิด
กระสินธุ์ หังสพฤกษ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแหล่งที่มาและการใช้แร่ธาตุหลักในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii) และกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei)ในระบบการเลี้ยงแบบปิด
ชื่อเรื่อง (EN): A study on major minerals budget in giant freshwater shrimp (macrobrachium rosenbergii) and white leg shrimp (litopenaeus vanamei) closed system culture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กระสินธุ์ หังสพฤกษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Krasindh Hangsapreuke
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดปริมาณการใช้น้ำเค็มในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม และการใช้แร่ธาตุในน้ำ ตั้งแต่มีพัฒนาการระยะที่ 1 จนถึงระยะ postlarvae โดยใช้น้ำเค็มที่มีความเค็ม 15 ส่วนในพันที่เตรียมจาก ผงเกลือสำเร็จรูปลำหรับทำน้ำทะเลเทียม (ArtSW) เป็นทรีตเมนต์ที่ 3 น้ำเค็มที่เตรียมจากน้ำทะเลเข้มข้นจากนาเกลือ (ConcSW) เป็นทรีตเมนต์ที่ 1 และน้ำเค็มที่เตรียมจากเกลือสินเธาว์ (UndgSW) เป็นทรีตเมนต์ที่ 2 ผลการวิเคราะห์แร่ธาตุจากน้ำเค็มทั้ง 3 แหล่งพบว่า UndgSW มีปริมาณ แมกนีเซียม โพแทสเซียม และ แคลเซียม ต่ำ เมื่อชดเชยแร่ธาตุแล้วนำไปใช้อนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระบบแบบเปิด ในการทดลองที่ 2 พบว่าUndgSW มีอัตราการรอด 0% ส่วน ArtSW และ ConcSW มีอัตราการรอดไม่แตกต่างกัน (P>0.05) เท่ากับ 44. 30±5.22 และ 43.57 ±2.06 % ตามลำดับ มีอัตราการใช้น้ำประมาณ 300 L และในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดในการทดลองที่ 3 มีอัตราการรอด 11.26±7.78 และ18.63±3.21 % ตามลำตับ (P >0.05) มีอัตราการใช้น้ำ 50 ลิตร เมื่อนำน้ำที่ใช้อนุบาลในการทดลองที่ 3 (ArtSW และ ConcSW) ก่อนเริ่มการทดลอง และเมื่อเสร็จสิ้นการทดลองไปวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุพบว่า แมกนีเซียมมีการลดลงทั้ง 2 ทรีตเมนต์ (P <0.05) ส่วนปริมาณโพแทสเซียมและ แคลเซียมไม่มีการเปลี่ยนแปลง (P>0.05) จากการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้ผงเกลือสำเร็จรูปแทนการใช้น้ำทะเลเข้มข้นจากนาเกลือ และระบบน้ำหมุนเวียนแบบวงจรปิดสามารถนำมาใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามได้ทำให้สามารถลดอัตราการใช้น้ำเค็ม 6 เท่า ส่วนการเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ภาคเหนือโดยใช้น้ำเค็มที่มีระบบไหลเวียนแบบปิดโดยใช้น้ำที่มีความเค็มต่ำนั้นทำให้ได้ผลผลิตที่ต่ำ
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to decrease saline water using and determine 5 major elements consumption from 15 ppt. rearing water in the giant freshwater prawn nursery during development stage 1 to postlarvae stage. The first experiment was to determine Na, Mg, K and Ca in underground salt saline water (UndgSw) as treatment3, artificial saline water prepared from commercial instant sea salt for artificial seawater making (ArtSW) as treatment1 and concentrated seawater from salt mining dilution (ConcSW) as treatment2 and at 15 ppt. The result of rearing water determination was UndgSW contain low Mg, K and Ca. UndgSW was supplemented and used in the second experiment for larval rearing water compare to ArtSW and ConcSW . Survival rate of ArtSW and ConcSW in 50L opened water system was 44.30±5.22 and 43.57±2.06 % (P>0.05) with 300L saline water using and UndgSW showed 0% survival rate. While ArtSW and ConcSW in 50L closed circulatory saline water system showed 11.26±7.78 63±3.21 % (P>0.05) survival rate with 50L saline water using. Magnesium concentration of rearing water before the third experiment beginning compared to the end the result showed the significant declination, while potassium and calcium showed non significant result. The conclusion of closed circulatory saline water was 6 times saline water saving for each experimental units and artificial seawater prepared from commercial instant sea salt can be use instead of concentrated seawater from salt mining
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-031
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 583,300
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/Krasindh_Hangsapreuke_2548/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2548
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแหล่งที่มาและการใช้แร่ธาตุหลักในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii) และกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei)ในระบบการเลี้ยงแบบปิด
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ระบบการเลี้ยงแบบรวมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน ศึกษาระบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จ.เชียงใหม่ การเสริมแร่ธาตุให้ลูกกุ้งก้ามกรามในการอนุบาลในน้ำเค็มที่มีระบบหมุนเวียนแบบปิด การศึกษาระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง การศึกษาระบบอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง การศึกษาระบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ผลของการใช้สาหร่าย Haematococcus pluvialis ต่อการแสดงออกของสีของกุ้งก้ามกรามหลังปรุงสุก การเพิ่มผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน โดยเลี้ยงร่วมกับวัสดุเทียมเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยขณะกุ้งลอกคราบ ผลของการใช้น้ำแข็งผสมน้ำมันหอมระเหยไธม์ต่อการรักษาคุณภาพทางเคมีและกายภาพของกุ้งขาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก