สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงในจังหวัดราชบุรี
ละออ เสร็จกิจ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงในจังหวัดราชบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ละออ เสร็จกิจ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคมบางประการ สภาพการผลิตและการตลาด ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อผลผลิตและการตลาดมะม่วง ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงในจังหวัดราชบุรี ปี 2544 โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดราชบุรี จำนวน 155 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกส่วนมากเป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 49.8 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน แรงงานที่ใช้ในการทำสวนมะม่วงส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 16.3 ไร่ รายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 119,269 บาทประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 8.5 ปี ส่วนใหญ่เกษตรกรความรู้ได้รับจากจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร เหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจปลูกมะม่วงเพราะขายผลผลิตได้ง่าย สภาพการผลิตและการตลาด เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ การปลูกเป็นแบบสภาพไร่ การให้น้ำอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก การตัดแต่งกิ่งมะม่วงทำในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม มีการใส่ปุ๋ยทางดินปีละ 3 ครั้ง คือ สูตร 15-15-15 และปุ๋ยคอก ใส่หลังจากการตัดแต่งกิ่ง สูตร 8-24-24 ใส่เพื่อเตรียมการออกดอกและสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใส่หลังจากมะม่วงติดผลแล้ว การให้ปุ๋ยทางใบเกษตรกรส่วนมากใช้สูตร 0-52-34 เพื่อกระตุ้นการแทงช่อดอกการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวเกษตรกรใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 เกษตรกรนิยมบังคับมะม่วงออกนอกฤดู โดยใช้สาร พาโคลบิวทราโซล ราดลงดินที่โคนต้นโดยตรง ในช่วงเดือนกรกฏาคม ถึงเดือน กันยายน แมลงศัตรูมะม่วงที่สำคัญที่สุด คือ เพลี้ยไฟ ซึ่งเกษตรกรมีการใช้สาร อะบาเม็กติน และเมธามิโดฟอสในการป้องกันกำจัดมากที่สุด โรคมะม่วงที่ทำความเสียหายมากที่สุดคือโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้สารคาร์เบนดาซิม ในการป้องกันกำจัดโรคมะม่วงมากที่สุด วัชพืชที่สำคัญ คือ หญ้าแห้วหมูและหญ้าคา ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้สารไกลโฟเสทและพาราควอท ในการป้องกันกำจัดมากที่สุด ผลผลิตมะม่วงออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยเกษตรกรจะนำผลผลิตไปขายเองที่ตลาด หรือมีพ่อค้ามารับที่สวน โดยเกษตรกรจะมีการกำจัดยางและคัดคุณภาพก่อนนำไปจำหน่ายที่ตลาด ราคาผลผลิตโดยเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย น้ำดอกไม้ และหนังกลางวัน เท่ากับ 20.9 บาท 19.7 บาทและ 17.9 บาท ตามลำดับ กรณีที่ไม่สามารถจำหน่ายได้จะมีการแปรรูปโดยการทำเป็นมะม่วงกวนและมะม่วงดอง ส่วนระดับความคิดเห็นของเกษตรกรในด้านต่างๆที่มีต่อการผลิตและการตลาดมะม่วงอยู่ในระดับสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดราชบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงในจังหวัดราชบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2544
การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ การผลิตและการตลาดมะม่วงของกลุ่มพัฒนาการผลิตมะม่วงกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในประเทศไทย การผลิตและการตลาดข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง โครงการวิจัยการวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตมะม่วง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538 สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของกลุ่มเกษตรกรทำสวนโคกมะม่วงอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของเกษตรกรใน 4 จังหวัดภาคเหนือ การศึกษาการใช้เครื่องฉีดสารเคมีแรงอัดสูง ในการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้นอกฤดู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก