สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
กรรณิกา เล่ห์ภูเขียว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิกา เล่ห์ภูเขียว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษา ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (2) ศึกษาข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและ (3) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมโดยศึกษาจากประชากรจำนวน 274 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบพหุวิธี (Multi stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 163 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมร้อยละ 71.78 เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.60 ปี ร้อยละ 82.21 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6 คน สมาชิกแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 27.12 ไร่ ร้อยละ 92.02 มีที่ดินในการปลูกหม่อนเป็นของตนเอง เฉลี่ย 6.42 ไร่ มีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 49,871.26 บาท ต่อปี รายได้จากการปลูกหม่อนเฉลี่ย 19,092.22 บาท/ปี รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 10,000 บาท/ต่อปี แหล่งเงินทุนในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมร้อยละ 61.96 ใช้เงินทุนของตนเอง ร้อยละ 41.72 เลี้ยงไหมเพราะเกิดจากเจ้าหน้าที่แนะนำชักชวน มีประสบการณ์ในการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 8.94 ปี ร้อยละ 92.64 ปลูกหม่อนพันธุ์คุณไพ และปลูกโดยวิธีใช้กิ่งพันธุ์ปลูกโดยตรง ร้อยละ 85.89 มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชร้อยละ 72.39 ใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 3.09 ครั้งต่อปี ร้อยละ 81.60 ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ร่วมกับปุ๋ยคอก ร้อยละ 92.02 ไม่มีการให้น้ำแปลงหม่อนอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ร้อยละ 98.77 มีการตัดต่ำและตัดกลางหม่อนร้อยละ 98.77 ช่วงเดือนที่นิยมตัดต่ำร้อยละ 85.09 ตัดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ร้อยละ 95.02 เลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ ใช้จ่อหมุนร้อยละ 85.28 ร้อยละ 93.87 จำหน่ายรังไหมในรูปรังสด การวัดความคิดเห็นเกษตรกรเห็นด้วยมากกับการปลูกหม่อนพันธุ์คุณไพ ปลูกโดยวิธีใช้ท่อนพันธุ์โดยตรงก็เห็นด้วยมาก ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในแปลงหม่อนเกษตรกรเห็นด้วยมากกับปุ๋ยสูตร 16 - 8 - 8 เกษตรกรเห็นด้วยมากกับการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศและการเลี้ยงไหมขายรัง ข้อเสนอแนะ ควรจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย การป้องกันกำจัดโรคหม่อน การป้องกันและกำจัดโรคของหนอนไหมและการใช้ปุ๋ย ควรมีการจัดทำแปลงสาธิตการให้น้ำแปลงหม่อน และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการฝึกอบรมของเกษตรกร การวัดผลสัมฤทธิ์ของการเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสมต่างประเทศและพันธุ์ไทยลูกผสม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร จังหวัดชุมพร การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตและความต้องการรับการส่งเสริมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ตำบลแจนแวน กิ่งอ.ศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและความต้องการการส่งเสริม ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรม ที่ดำเนินโครงการแปลงใหญ่หม่อนไหม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดน่าน และจังหวัดอุดรธานี สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรตำบลวังไชย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก