สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย
เพราลัย นุชหมอน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Neritic Tunas Resource in Thai Waters
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพราลัย นุชหมอน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prualai nootmorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาโอ เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาทะเลกลุ่มปลาทูน่าขนาดเล็กหรือปลาทูน่าชายฝั่ง (neritic tunas) อยู่ในวงศ์ Scombridae มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีความชุกชุมบริเวณนอกฝั่งที่มีน้ำลึกตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป สำหรับในน่านน้ำไทยพบ 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ปลาโอดำ โอลาย และโอแกลบ โดยเครื่องมือหลักที่ทำการประมงปลาโอ ได้แก่ อวนล้อมจับปลาโอ อวนลอยปลาอินทรี อวนล้อมโซน่าร์ และอวนล้อมซั้ง ปลากลุ่มนี้จัดเป็นทรัพยากรปลาผิวน้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลสถิติของกรมประมงตั้งแต่ปี 2514-2522 ได้รวมข้อมูลปริมาณการจับของปลาโอทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นกลุ่มเดียวกัน คือ ปลาโอ แต่ในปี 2533 เป็นต้นมาได้จำแนกปริมาณการจับออกเป็นสองกลุ่ม คือ ปลาโอดำ และปลาโอลาย (รวมปลาโอแกลบด้วย) โดยทั่วไปแล้วปลาโอสามารถใช้บริโภคได้ทั้งในรูปปลาสด แช่แข็ง และแปรรูป แต่ส่วนใหญ่ถูกแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องแล้วจัดส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณความต้องการปลาโอเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าปลาโอในน่านน้ำไทยถูกนำมาใช้ประโยชน์เกินศักย์การผลิตสูงสุดแล้วโดยศักย์การผลิตสูงสุดที่ยังยืนทางฝั่งอ่าวไทยเท่ากับ 110,000 ตัน ที่ระดับการลงแรงประมง 221,330 วัน และศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนทางฝั่งทะเลอันดามัน เท่ากับ 8,651 ตัน ที่ระดับการลงแรงประมง 71,104 วัน แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรปลาโอถูกนำมาใช้ประโยชน์เกินศักย์การผลิตสูงสุดและอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรปลาโอในอนาคตได้ ประกอบกับจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาศักยภาพของเครื่องมือประมงและอุปกรณ์เสริมที่สามารถจับปลาได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการทำประมงที่ขาดความรับผิดชอบ ยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะจับปลาโอขึ้นมาใช้ประโยชน์มากกว่าการเกิดทดแทนทางธรรมชาติ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้หลักการอนุรักษ์ การทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบและการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำบนพื้นฐานข้อมูลด้านวิชาการ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปลาโอ และปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับปลากลุ่มนี้ รวมทั้งกระแสการอนุรักษ์ของผู้บริโภคที่เข้ามามีบทบาทต่อการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าในปัจจุบัน เช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญของอุตสาหกรรมกระป๋องปลาโอดำจากประเทศไทย เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับการจัดการปลาโอดำ เพื่อให้ปลาโอดำคงอยู่และได้ใช้ประโยชน์ตลอดไป ดังนั้นจากความสำคัญและปริมาณความต้องการปลาโอดังกล่าว กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลจึงได้จัดทำโครงการวิจัยทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย เพื่อจักได้ข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องและใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางในการจัดการทรัพยากรปลาโอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะได้ใช้สนับสนุนเพื่อการเจรจาการค้าโลกที่ส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีการบริหารและจัดการประมงอย่างมีความรับผิดชอบต่อไปและยั่งยืน รวมทั้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสมดุลกับการทดแทนตามธรรมชาติ โดยชุดโครงการวิจัยแนวทางกำหนดเขตพื้นที่ทำการประมงในน่านน้ำไทย ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2555-2557 ซึ่งภายใต้ชุดโครงการฯ มีโครงการย่อย 4 เรื่อง ดังนี้ สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย โดยเก็บรวบรวมจากเครื่องมือเครื่องมือหลักที่ใช้ทำการประมงปลาโอ ได้แก่ อวนดำ อวนล้อมปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมจับปลาโอ บริเวณท่าเทียบเรือในเขตจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2555 พบว่าอัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอลาย (Euthynnus affinis) จากเครื่องมืออวนดำ อวนล้อมปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมจับปลาโอ เท่ากับ 274.24 111.72 209.89 และ 305.27 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ อัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอแกลบ (Auxis thazard) มีค่าเท่ากับ 94.44 110.38 162.85 และ 231.39 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ และอัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอดำ (Thunnus tonggol) มีค่าเท่ากับ 221.57 18.93 41.09 และ 935.25 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาโอลาย พบว่ามีความยาวอยู่ในช่วง 10.00-60.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) เท่ากับ 6.7007 1.2735 และ 5.4272 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 42.50076x106 ตัว มีศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) เท่ากับ 11,046 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (MEY) เท่ากับ 538.71 ล้านบาท ปลาโอแกลบมีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-48.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติและสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 6.6589 1.4025 และ 5.2564 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 44.745x106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 5,389 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน 220.84 ล้านบาท ปลาโอดำมีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-55.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติและสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 5.6412 1.2042 และ 4.4370 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 29.0761x106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 9,261 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 534.43 ล้านบาท ตามลำดับ สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากท่าเทียบเรือตลอดฝั่งทะเลอันดามัน ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 พบว่าเครื่องมือหลักที่ใช้ทำการประมงปลาโอคือ อวนดำ อวนล้อมจับปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมปลาโอ อัตราการจับปลาโอเฉลี่ย 377.10 360.26 522.35 และ1892.26 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ ประกอบด้วยปลาโอลาย (Euthynnus affinis), ปลาโอดำ(Thunnus tonggol), ปลาโอหลอด (Auxis rochei) and ปลาโอแกลบ (Auxis thazard)ร้อยละ 9.33 7.33 3.62 และ2.99 ตามลำดับ การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาโอลาย พบว่ามีความยาวอยู่ในช่วง 10.00-60.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) เท่ากับ 4.6939 1.0866 และ 3.6073 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 6.9538 x 106 ตัว มีศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) เท่ากับ 3,802 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (MEY) เท่ากับ 188.08 ล้านบาท ปลาโอแกลบ มีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-44.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติเท่ากับ และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 4.1244 1.2796 และ 2.8446 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 10.65 x 106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 925 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน 30.89 ล้านบาท ส่วนปลาโอดำ มีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-63.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติเท่ากับ และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 9.0635 1.1036 และ 7.9599 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 4.0128 x 106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 92,266 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 92.27 ล้านบาท ตามลำดับ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอลาย โอแกลบ และโอดำในอ่าวไทย โดยเก็บตัวอย่างปลาโอแกลบ โอลาย และโอดำ จากแพปลาหรือท่าขึ้นปลาในจังหวัดชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดตราด ถึงจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2555 ผลการศึกษาที่ได้ มีดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวของปลา โอแกลบ ในบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.0052FL3.3576 เพศผู้ W = 0.0056FL3.3355 และ เพศเมีย W = 0.0057FL3.3325 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศของปลาโอแกลบในอ่าวไทยมีค่าเท่ากับ 1:0.91 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอแกลบเพศผู้และเพศเมีย มีค่าเท่ากับ 26.11 และ 25.85 เซนติเมตร ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับความดกไข่ของปลาโอแกลบอยู่ในรูปสมการ F = 94.15FL2.453 ปลาโอแกลบมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกในเดือนธันวาคม ถึงเมษายน และช่วงที่สองในเดือนพฤษภาคม ถึงพฤศจิกายน ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวของปลาโอลายแกลบบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.0081FL3.214 เพศผู้ W = 0.0107FL3.137 และเพศเมีย W = 0.0127FL3.089 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาโอลายมีค่าเท่ากับ 1:0.71 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอลายเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 36.37 และ 38.68 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกไข่ของปลาโอลาย มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F = 3*10-9FL6.9267 ปลาโอลายทางฝั่งอ่าวไทยมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี และมีการวางไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน และในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวของปลาโอดำบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.012FL3.104 เพศผู้ W = 0.016FL3.039 และเพศเมีย W = 0.023FL2.936อยู่ ตามลำดับ อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาโอดำมีค่าเท่ากับ 1:0.97 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอดำเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 40.77 และ 42.16 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกไข่ของปลาโอดำ มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F = 2.6*10-6FL3.898 ปลาโอดำทางฝั่งอ่าวไทยมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี และมีการวางไข่มากในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม และในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอแกลบ ปลาโอลาย และปลาโอดำทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย ได้ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องมืออวนล้อมจับที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดระนอง ภูเก็ต และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมงในทะเลอันดามันตั้งแต่บริเวณเกาะกำ จังหวัดระนอง จนถึงเกาะอาดัง จังหวัดสตูล พบว่าปลาโอแกลบทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 10.20-44.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 13.00-1,620.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0046FL3.3888 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 21.50-43.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 128.00-1,480.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0057FL3.3291 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 17.10-44.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 60.00-1,620.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0049FL3.3708 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.15 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 26.57 และ 28.88 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือเดือนมกราคม-มีนาคมและกรกฎาคม-พฤศจิกายน ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนกันยายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย เกาะไข่และทิศตะวันตกของเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (ตั้งแต่เกาะราชาใหญ่ถึงเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะเขียว เกาะพีพี และทิศใต้เกาะรอก) และบริเวณทิศเหนือของเกาะอาดัง จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 44,325.87-350,247.56 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับ ความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=0.0085FL4.6108 ปลาโอลายทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 7.00-60.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 5.00-3,750.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0064FL3.2814 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 22.00-57.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 170.00-3,200.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0176FL3.0036 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 22.30-55.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 170.00-3,040.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0231FL2.9313 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.74 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 37.74 และ 39.71 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนและสิงหาคม-ธันวาคม และวางไข่สูงสุดในเดือนพฤศจิกายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศใต้ของเกาะกำ จังหวัดระนอง บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของเกาะตาชัยและทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (หน้าหาดป่าตอง เกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะห้าถึงเกาะรอก) และบริเวณรอบเกาะอาดัง จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 25,310-484,676 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=0.000000003FL8.2881 ปลาโอดำทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 7.00-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 64.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0125FL3.1105 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 22.70-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 180.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0239FL2.9327 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 18.50-58.80 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 115.00-4,330.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0251FL2.9187 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.76 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 41.46 และ 43.76 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มากในเดือนเมษายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศใต้และทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์และทิศใต้ของเกาะตาชัย จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (หน้าหาดป่าตอง เกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะห้าถึงเกาะรอก) และบริเวณรอบเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 44,628.56-240,477 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=259.3139FL1.5906 ปลาโอ เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาทะเลกลุ่มปลาทูน่าขนาดเล็กหรือปลาทูน่าชายฝั่ง (neritic tunas) อยู่ในวงศ์ Scombridae มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีความชุกชุมบริเวณนอกฝั่งที่มีน้ำลึกตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป สำหรับในน่านน้ำไทยพบ 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ปลาโอดำ โอลาย และโอแกลบ โดยเครื่องมือหลักที่ทำการประมงปลาโอ ได้แก่ อวนล้อมจับปลาโอ อวนลอยปลาอินทรี อวนล้อมโซน่าร์ และอวนล้อมซั้ง ปลากลุ่มนี้จัดเป็นทรัพยากรปลาผิวน้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลสถิติของกรมประมงตั้งแต่ปี 2514-2522 ได้รวมข้อมูลปริมาณการจับของปลาโอทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นกลุ่มเดียวกัน คือ ปลาโอ แต่ในปี 2533 เป็นต้นมาได้จำแนกปริมาณการจับออกเป็นสองกลุ่ม คือ ปลาโอดำ และปลาโอลาย (รวมปลาโอแกลบด้วย) โดยทั่วไปแล้วปลาโอสามารถใช้บริโภคได้ทั้งในรูปปลาสด แช่แข็ง และแปรรูป แต่ส่วนใหญ่ถูกแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องแล้วจัดส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณความต้องการปลาโอเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าปลาโอในน่านน้ำไทยถูกนำมาใช้ประโยชน์เกินศักย์การผลิตสูงสุดแล้วโดยศักย์การผลิตสูงสุดที่ยังยืนทางฝั่งอ่าวไทยเท่ากับ 110,000 ตัน ที่ระดับการลงแรงประมง 221,330 วัน และศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนทางฝั่งทะเลอันดามัน เท่ากับ 8,651 ตัน ที่ระดับการลงแรงประมง 71,104 วัน แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรปลาโอถูกนำมาใช้ประโยชน์เกินศักย์การผลิตสูงสุดและอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรปลาโอในอนาคตได้ ประกอบกับจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาศักยภาพของเครื่องมือประมงและอุปกรณ์เสริมที่สามารถจับปลาได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการทำประมงที่ขาดความรับผิดชอบ ยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะจับปลาโอขึ้นมาใช้ประโยชน์มากกว่าการเกิดทดแทนทางธรรมชาติ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้หลักการอนุรักษ์ การทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบและการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำบนพื้นฐานข้อมูลด้านวิชาการ กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปลาโอ และปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับปลากลุ่มนี้ รวมทั้งกระแสการอนุรักษ์ของผู้บริโภคที่เข้ามามีบทบาทต่อการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าในปัจจุบัน เช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญของอุตสาหกรรมกระป๋องปลาโอดำจากประเทศไทย เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับการจัดการปลาโอดำ เพื่อให้ปลาโอดำคงอยู่และได้ใช้ประโยชน์ตลอดไป ดังนั้นจากความสำคัญและปริมาณความต้องการปลาโอดังกล่าว กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลจึงได้จัดทำโครงการวิจัยทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย เพื่อจักได้ข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องและใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางในการจัดการทรัพยากรปลาโอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะได้ใช้สนับสนุนเพื่อการเจรจาการค้าโลกที่ส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีการบริหารและจัดการประมงอย่างมีความรับผิดชอบต่อไปและยั่งยืน รวมทั้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสมดุลกับการทดแทนตามธรรมชาติ โดยชุดโครงการวิจัยแนวทางกำหนดเขตพื้นที่ทำการประมงในน่านน้ำไทย ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2555-2557 ซึ่งภายใต้ชุดโครงการฯ มีโครงการย่อย 4 เรื่อง ดังนี้ สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย โดยเก็บรวบรวมจากเครื่องมือเครื่องมือหลักที่ใช้ทำการประมงปลาโอ ได้แก่ อวนดำ อวนล้อมปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมจับปลาโอ บริเวณท่าเทียบเรือในเขตจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2555 พบว่าอัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอลาย (Euthynnus affinis) จากเครื่องมืออวนดำ อวนล้อมปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมจับปลาโอ เท่ากับ 274.24 111.72 209.89 และ 305.27 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ อัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอแกลบ (Auxis thazard) มีค่าเท่ากับ 94.44 110.38 162.85 และ 231.39 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ และอัตราการจับเฉลี่ยของปลาโอดำ (Thunnus tonggol) มีค่าเท่ากับ 221.57 18.93 41.09 และ 935.25 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาโอลาย พบว่ามีความยาวอยู่ในช่วง 10.00-60.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) เท่ากับ 6.7007 1.2735 และ 5.4272 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 42.50076x106 ตัว มีศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) เท่ากับ 11,046 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (MEY) เท่ากับ 538.71 ล้านบาท ปลาโอแกลบมีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-48.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติและสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 6.6589 1.4025 และ 5.2564 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 44.745x106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 5,389 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน 220.84 ล้านบาท ปลาโอดำมีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-55.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติและสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 5.6412 1.2042 และ 4.4370 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 29.0761x106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 9,261 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 534.43 ล้านบาท ตามลำดับ สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากท่าเทียบเรือตลอดฝั่งทะเลอันดามัน ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 พบว่าเครื่องมือหลักที่ใช้ทำการประมงปลาโอคือ อวนดำ อวนล้อมจับปั่นไฟ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมปลาโอ อัตราการจับปลาโอเฉลี่ย 377.10 360.26 522.35 และ1892.26 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ ประกอบด้วยปลาโอลาย (Euthynnus affinis), ปลาโอดำ(Thunnus tonggol), ปลาโอหลอด (Auxis rochei) and ปลาโอแกลบ (Auxis thazard)ร้อยละ 9.33 7.33 3.62 และ2.99 ตามลำดับ การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาโอลาย พบว่ามีความยาวอยู่ในช่วง 10.00-60.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) เท่ากับ 4.6939 1.0866 และ 3.6073 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 6.9538 x 106 ตัว มีศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) เท่ากับ 3,802 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (MEY) เท่ากับ 188.08 ล้านบาท ปลาโอแกลบ มีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-44.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติเท่ากับ และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 4.1244 1.2796 และ 2.8446 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 10.65 x 106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 925 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน 30.89 ล้านบาท ส่วนปลาโอดำ มีการแพร่กระจายความยาวอยู่ในช่วง 10.00-63.00 เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การตายรวม สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติเท่ากับ และสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมงเท่ากับ 9.0635 1.1036 และ 7.9599 ต่อปี ตามลำดับ จำนวนที่เข้ามาทดแทนในเหล่งประมงเท่ากับ 4.0128 x 106 ตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 92,266 ตัน และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืนเท่ากับ 92.27 ล้านบาท ตามลำดับ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอลาย โอแกลบ และโอดำในอ่าวไทย โดยเก็บตัวอย่างปลาโอแกลบ โอลาย และโอดำ จากแพปลาหรือท่าขึ้นปลาในจังหวัดชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดตราด ถึงจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2555 ผลการศึกษาที่ได้ มีดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวของปลา โอแกลบ ในบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.0052FL3.3576 เพศผู้ W = 0.0056FL3.3355 และ เพศเมีย W = 0.0057FL3.3325 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศของปลาโอแกลบในอ่าวไทยมีค่าเท่ากับ 1:0.91 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอแกลบเพศผู้และเพศเมีย มีค่าเท่ากับ 26.11 และ 25.85 เซนติเมตร ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับความดกไข่ของปลาโอแกลบอยู่ในรูปสมการ F = 94.15FL2.453 ปลาโอแกลบมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกในเดือนธันวาคม ถึงเมษายน และช่วงที่สองในเดือนพฤษภาคม ถึงพฤศจิกายน ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวของปลาโอลายแกลบบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.0081FL3.214 เพศผู้ W = 0.0107FL3.137 และเพศเมีย W = 0.0127FL3.089 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาโอลายมีค่าเท่ากับ 1:0.71 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอลายเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 36.37 และ 38.68 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกไข่ของปลาโอลาย มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F = 3*10-9FL6.9267 ปลาโอลายทางฝั่งอ่าวไทยมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี และมีการวางไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน และในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวของปลาโอดำบริเวณอ่าวไทย แบบไม่แยกเพศ W = 0.012FL3.104 เพศผู้ W = 0.016FL3.039 และเพศเมีย W = 0.023FL2.936อยู่ ตามลำดับ อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาโอดำมีค่าเท่ากับ 1:0.97 ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของปลาโอดำเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 40.77 และ 42.16 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกไข่ของปลาโอดำ มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F = 2.6*10-6FL3.898 ปลาโอดำทางฝั่งอ่าวไทยมีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี และมีการวางไข่มากในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม และในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอแกลบ ปลาโอลาย และปลาโอดำทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย ได้ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องมืออวนล้อมจับที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดระนอง ภูเก็ต และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมงในทะเลอันดามันตั้งแต่บริเวณเกาะกำ จังหวัดระนอง จนถึงเกาะอาดัง จังหวัดสตูล พบว่าปลาโอแกลบทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 10.20-44.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 13.00-1,620.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0046FL3.3888 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 21.50-43.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 128.00-1,480.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0057FL3.3291 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 17.10-44.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 60.00-1,620.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0049FL3.3708 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.15 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 26.57 และ 28.88 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือเดือนมกราคม-มีนาคมและกรกฎาคม-พฤศจิกายน ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนกันยายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย เกาะไข่และทิศตะวันตกของเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (ตั้งแต่เกาะราชาใหญ่ถึงเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะเขียว เกาะพีพี และทิศใต้เกาะรอก) และบริเวณทิศเหนือของเกาะอาดัง จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 44,325.87-350,247.56 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับ ความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=0.0085FL4.6108 ปลาโอลายทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 7.00-60.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 5.00-3,750.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0064FL3.2814 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 22.00-57.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 170.00-3,200.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0176FL3.0036 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 22.30-55.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 170.00-3,040.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0231FL2.9313 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.74 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 37.74 และ 39.71 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนและสิงหาคม-ธันวาคม และวางไข่สูงสุดในเดือนพฤศจิกายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศใต้ของเกาะกำ จังหวัดระนอง บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของเกาะตาชัยและทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (หน้าหาดป่าตอง เกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะห้าถึงเกาะรอก) และบริเวณรอบเกาะอาดัง จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 25,310-484,676 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=0.000000003FL8.2881 ปลาโอดำทั้งหมดมีความยาวส้อมหาง 7.00-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 64.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0125FL3.1105 เพศผู้มีความยาวส้อมหาง 22.70-64.00 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 180.00-4,720.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0239FL2.9327 เพศเมียมีความยาวส้อมหาง 18.50-58.80 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 115.00-4,330.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับน้ำหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0251FL2.9187 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.76 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 41.46 และ 43.76 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มากในเดือนเมษายน มีแหล่งวางไข่บริเวณทิศใต้และทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์และทิศใต้ของเกาะตาชัย จังหวัดพังงา บริเวณทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต (หน้าหาดป่าตอง เกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย) บริเวณทิศตะวันตกของจังหวัดกระบี่ (เกาะห้าถึงเกาะรอก) และบริเวณรอบเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ความดกไข่เท่ากับ 44,628.56-240,477 ฟอง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส้อมหางกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=259.3139FL1.590
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2557
กรมประมง
สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาผิวน้ำในน่านน้ำไทย แนวทางการกำหนดเขตพื้นที่ทำการประมงในน่านน้ำไทย ชีวประมงของปลากะตักในน่านน้ำไทย สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน ความสมบูรณ์เพศของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญเขตทะเลชายฝั่งในน่านน้ำไทย การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม VIIRS เพื่อศึกษาการทำประมงประกอบแสงไฟในน่านน้ำไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก