สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก
สมโภชน์ กูลศิริศรีตระกูล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก
ชื่อเรื่อง (EN): The Coffee Processing Improvement for Identity of Doi Muser Coffee Product, Tak Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมโภชน์ กูลศิริศรีตระกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก” แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดย ผศ.สมโภชน์ กูลศิริศรีตระกูล เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปรับปรุงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตกาแฟดอยมูเซอ 2) ศึกษาพัฒนากระบวนการแปรรูปเมล็ดกาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก และ 3) สร้างอัตลักษณ์และส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนการค้าของผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก จากการศึกษาวิจัย พบว่า ช่วงเวลารับแสงที่มีต่อผลผลิตกาแฟทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการรับแสงช่วงเช้าให้ผลผลิตกาแฟสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด ทั้งสายพันธุ์อาราบิก้าและโรบัสต้า คือ 9.37 และ 9.33 กิโลกรัมต่อต้น มีร้อยละโดยน้ำหนักของเมล็ดดีและปริมาณสารกาแฟมากที่สุด คือ 88.22, 94.43 และ 15.61, 19.56 ตามลำดับ มีร้อยละโดยน้ำหนักของสารกาแฟที่บกพร่องน้อยที่สุด คือ 7.15 และ 0.48 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน มกษ.5701-2552 และ มกษ.5700-2552 พบว่า สายพันธุ์อาราบิก้า มีข้อบกพร่องเกินเกณฑ์ ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้ามีข้อบกพร่องต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อนำขนาดเมล็ดสารกาแฟมาทดสอบทางสถิติด้วยวิธี One Way ANOVA พบว่า สายพันธุ์อาราบิก้าที่ปลูกในพื้นที่รับแสงแตกต่างกัน มีขนาดเมล็ดสารกาแฟไม่แตกต่างกัน ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้าที่ปลูกในพื้นที่รับแสงต่างกัน มีขนาดเมล็ดสารกาแฟแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (P<0.05) โดยต้นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่รับแสงช่วงบ่าย มีขนาดใหญ่ (A) มากกว่า 7.1 มิลลิเมตร มากที่สุด และพบว่า ขั้นตอนการแปรรูปแบบที่ศึกษาให้ผลร้อยละโดยน้ำหนักของสารกาแฟเมล็ดสมบูรณ์มากกว่าขั้นตอนการแปรรูปแบบดั้งเดิมทั้งสองสายพันธุ์ สำหรับคุณภาพทางการชิมโดยผู้เชี่ยวชาญ กาแฟคั่วที่ได้จากขั้นตอนการแปรรูปแบบที่ศึกษามีคะแนนรวม ในทุกด้านมากกว่าแบบดั้งเดิมทั้งสองสายพันธุ์ และเมื่อนำมาปรุงผสมในสัดส่วนร้อยละโดยน้ำหนัก อาราบิก้า : โรบัสต้า เท่ากับ 60:40 และเปรียบเทียบกับกาแฟมาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีระดับคะแนนเฉลี่ย 3.03 และ 3.13 ตามลำดับ (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (เกณฑ์ดี) ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากผู้บริโภคของสถานประกอบการร้านค้ากาแฟสดจังหวัดตาก อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากทั้งด้านกลิ่น รสชาติและความเข้ม และมีความเห็นว่า ควรส่งเสริมให้เป็นกาแฟของจังหวัดตาก ส่วนอัตลักษณ์กาแฟของจังหวัดตาก สามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านพื้นที่ปลูก มีระดับความสูง 700-1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเป็น 27 oC และ 1,523 มิลลิเมตร/ปี ตามลำดับ ทำให้ปลูกได้ทั้งสองสายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน 2) ด้านสายพันธุ์ มีสองสายพันธุ์ คือ อาราบิก้าและโรบัสต้า ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำมาปรุงผสมโดยไม่ต้องใช้กาแฟจากนอกพื้นที่ 3) ด้านเกษตรกรผู้ปลูก คือ ชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณดอยมูเซอ ตาบลด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก ได้แก่ ปะกาเกอญอ ลูกหลานของทหารพระวอ ม้ง ลีซูมูเซอ และ 4) ด้านการจัดการผลผลิต เก็บเกี่ยวแบบโน้มกิ่งจากต้นสู่ต้น มีเมล็ดเขียวปนไม่เกินร้อยละ 5 แปรรูปด้วยกรรมวิธีแบบเปียก ปลูกร่วมกับไม้ป่าโดยไม่ใช้สารเคมี ในเขตป่ากันชนของอุทยานแห่งชาติ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้ข้อมูลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกาแฟดอยมูเซอ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จ.ตาก ตั้งแต่การเพาะปลูก, สายพันธุ์, เกษตรกรผู้ปลูก และการจัดการผลผลิต และ ได้ขั้นตอนการแปรรูปกาแฟดอยมูเซอที่ช่วยสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-08-23
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-22
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
22 สิงหาคม 2557
การพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ จังหวัดตาก การปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพกระดาษเส้นใยกล้วยไข่ กาแฟเพื่อสุขภาพ การพัฒนากลิ่นรสกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการแปรรูปกาแฟ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบคุณภาพสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลแว่น การพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตหน่อไม้ปี๊บ การพัฒนากลิ่นรสกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการแปรรูปกาแฟ ระยะที่ 2 การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตหนังปลาทอดสำหรับผลิตภัณฑ์โอท๊อป การศึกษาการผลิตอาหารสุนัข

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก