สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไบโอเอทานอลจากการหมักของยีสต์ทนร้อนโดยใช้ชีวมวลของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
พงศนาถ ผ่องเจริญ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอเอทานอลจากการหมักของยีสต์ทนร้อนโดยใช้ชีวมวลของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
ชื่อเรื่อง (EN): Bioethanol production by thermotolerant yeast fermentation using cyanobacterial biomass as nutrient feedstock
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงศนาถ ผ่องเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pongsanat Pongcharoen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิทยา ทาวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Wittaya Tawong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จุลินทรีย์ประเภทยีสต์ที่มีความสามารถทนร้อนและผลิตเอทานอสได้ เป็นจุสินทรีย์ที่มีความสำคัญอย่างมากในวงการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการประยุกต์ใช้ในการผลิตไบโอเอทานอล การศึกษาครั้งนี้ สามารถคัดแยกสายพันธุ์ยีสต์ทนร้อนได้ทั้งหมดสามไอโซเลท (NUNS4, NUNS5 และ NUNS6) โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อประเภท enichment medium ที่มีส่วนประกอบของเอทานอล 4 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรโดยปริมาตร จากผลการทดลองพบว่า ทั้งสามไอโซเลทสามารถจริญเติบโตได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเชียส และสามารถเจริญเติบโตได้ที่ความเข้มข้นเอทานอลสูงถึง 13 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรโดยปริมาตรภายใต้อุณหภูมิ 37 องศาเชลเซียส ลำดับต่อมา วิเคราะห์ความสามารถในการผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิสูง พบว่ายีสต์สายพันธุ์ NUNS4, NUNS5 และ NUNS6 สามารถผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิ 40°C ได้สูงสุดที่ความเข้มขัน 88.60, 78.52 และ 77.97 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ และที่อุณหภูมิ 45°C สามารถผลิตความเข้มข้นเอทานอลได้สูงสุดที่ 54.30, 37.73 และ 44.04 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ จากการวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของยีน 265 ONA บนตำแหน่ง D1/02 พบว่าสามไอโซเลทที่คัดแยกมาได้นั้นคือยีสต์สายพันธุ์ Pichia kudtriavzevi ดังนั้นแล้ว สายพันธุ์ P. Kudriavzevi จำนวนสามไอโซเลทได้แก่ NUNS4, NUNS5 และ NUNS6 ที่คัดแยกได้จากรายงานวิจัยนี้เป็นสายพันธุ์ยีสต์ทนร้อนและความเข้มข้นเอทานอลที่มีความสามารถนำมาใช้ผลิตเอทานอลในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไป จากการคัดแยกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทั้งหมด พบจำนวน 105 สายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ในห้องปฏิบัติการ เมื่อตรวจทางลักษณะสัณฐานวิทยา และยีน 165 เRNA พบว่าสายพันธุ์ที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 9 สกุล 12 ชนิด ได้แก่ Dolichospermum spp., Anabaenopsis sp., Sphaerospermopsis spp., cylindrospermopsis raciborski,Wollea sp., Planktothricoides raciborski, Psuedoanabaena sp, Microcystis sp. และ Lyngbya sp. เมื่อทำการตรวจวัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตพบว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Dolichospermum sp.1_7 มีการสะสมปริมาณคาร์โบไฮเดรทมากที่ที่สุดเท่ากับ 23.54% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาสำหรับการใช้เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อผลิตพลังงานเอทานอลได้ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เช่น สารอาหาร ความเข้มแสง หรืออุณหภูมิเพื่อช่วยเพิ่มการผลิตคาร์โบไฮเดรตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในสูงขึ้นต่อไป เพื่อประเด็นที่ควรทำการศึกษาต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): The thermotolerant and ethanol- producing yeasts are especially required in numnerous industrial applications, such as alternative sources for bioethanol. In this study, we isolated three novel thermotolerant yeast strains (NUNS4, NUNS5 and NUNS6) using the enrichment technique with 4% (v/v) ethanol. All isolated strains showed their ability to grow at 45C and tolerate under ethanol concentration of 13% (v/V). The strain NUNSA, NUNS5 and NUNS6 could convert glucose to ethanot at concentration of 88.60, 78.52 and 77.97 g/L, respectively, under the temperature of 40°C, and of 54.30, 37.73 and 44.04 g/L, respectively, under the temperature of 45°C which showed higher productivity of ethanol than the reference strain Saccharomyces cerevisiae TISTR5606. The phylogenetic analysis based on the sequences of D1/D2 domain of 265 rDNA revealed that all strains were betonging to Pichia kudriavzevii. Considering the results in this study, it is suggested that the P. kudriavzevii NUNS4, NUNS5 and NUNS6 strains isolated in this study are thermo- and ethanol-tolerant ones which can be utilized as industrial microorganisms with traits that are important for future adaptation in industrial ethanol production. From all isolations of cyanobacteria in this study, 105 strians were successfully established in laboratory cultivation. Based on morphological features and 165 rRNA gene analysis, all isolated strains could be classified to 9 genera and 12 species including Dolichospermum spp., Anabaenopsis sp., Sphaerospermopsis spp., Cylindrospermopsis raciborski, Wollea sp., Planktothricoides raciborski, Psuedoanabaena sp., Microcystis sp. and Lyngbya sp. When determined the total carbohydrate content, the maximumn value (23.54 % dry weigth) was found in a strain of Dolichospermum sp. 1_7. This finding could be ultilized in the development of carbon source for bioethanol. However, studies of the optimum condition of growth such as nutrition, light intensity or temperature are necessary to increase the carbohydrate production of cyanobacteria.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-10-09
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-10-08
เอกสารแนบ: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3075/1/Fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 เพื่อคัดเลือกชนิดของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถสกัดคาร์โบไฮเดรตได้ในปริมาณสูงในสภาวะที่กำหนด (โครงการปีที่ 1) 2 เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ทนร้อนที่มีความสามารถผลิตเอทานอลได้ดีที่อุณหภูมิสูง (โครงการปีที่ 1) 3 เพื่อผลิตไบโอเอทานอลโดยใช้คาร์โบไฮเดรตจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่คัดเลือกได้มาเป็นแหล่งพลังงานชีวมวลให้กับกระบวนการหมักของสายพันธุ์ยีสต์ทนร้อนที่ค้นพบ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไบโอเอทานอลจากการหมักของยีสต์ทนร้อนโดยใช้ชีวมวลของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
มหาวิทยาลัยนเรศวร
8 ตุลาคม 2561
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาการผลิตไบโอเอทานอลที่อุณหภูมิสูงโดยยีสต์ทนร้อน โครงการวิจัยการผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การศึกษาระบบ Bioreactor Membrane เพื่อผลิตสาหร่ายโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือนเป็นสารอาหารอย่างครบวงจร การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก การพัฒนาการผลิตไบโอเอทานอลที่อุณหภูมิสูงโดยยีสต์ทนร้อน การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตชีวมวลของสาหร่าย Nostoc commune Voucher การผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวลสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุล Hapalosiphon sp. โดยวิธี three-step microbial hydrogen-producing system การคัดเลือกยีสต์ทนร้อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยเพื่อผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิสูง กลยุทธการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเอทานอลจากข้าวฟ่างหวานโดยใช้ยีสต์ทนร้อน Saccharomyces cerevisiae การจำลองการผลิตเอทานอลจากน้ำคั้นข้าวฟ่างหวานโดยใช้เทคโนโลยี Very High Gravity

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก