สืบค้นงานวิจัย
มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3"
โสภณ สินธุประมา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3"
ชื่อเรื่อง (EN): New Cassava Variety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โสภณ สินธุประมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sophon Sinthuprama
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง
บทคัดย่อ: มันสำปะหลังเป็นพืชไร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำรายได้ให้แก่ประเทศจากการส่งออกมีมูลค่า 19,744 ล้านบาท ในปี 2525 มีพื้นที่ปลูกในปี 2524 จำนวน 7.9 ล้านไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.235 ตัน/ไร่ กรมวิชาการเกษตรได้รับรองและแนะนำพันธุ์มันสำปะหลังระยอง 3 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2526 มันสำปะหลังระยอง 3 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ M. Mex 55 x M. Ven 307 ซึ่งสาขาพืชหัว สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้นำเมล็ดพันธุ์เข้ามาจากศูนย์วิจัยเกษตรเขตร้อนนานา ชาติคลอมเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2518 จากนั้นได้ทำการคัดเลือกครั้งแรกจากต้นที่เกิดจากเมล็ด และคัดเลือกต้นต่อแถว จนถึงปี พ.ศ. 2519 ที่สถานีทดลองพืชไร่ห้วยโป่ง จังหวัดระยอง โดยพิจารณาค่า H.I. ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูง ปราศจากโรคและแมลงศัตรู ต่อมาได้ทำการเปรียบเทียบผลผลิตตามขั้นตอนต่าง ๆ ในสถานีทดลองพืชไร่และในไร่กสิกร ในท้องที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึง 2524 และพบว่า พันธุ์ระยอง 3 ให้ผลผลิตหัวสดใกล้เคียงกับพันธุ์มาตรฐานระยอง 1 แต่มีแป้งสูงถึง 23.5% โดยที่พันธุ์ระยอง 1 มีแป้งเพียง 18.4% เป็นผลให้พันธุ์ระยอง 3 ให้ผลผลิตแป้งต่อไร่สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ถึง 19.8% และพันธุ์ระยอง 3 ให้ผลผลิตมันแห้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ถึง 11.5% จากคุณสมบัติที่พันธุ์ระยอง 3 มีเปอร์เซ็นต์และผลผลิตแป้งสูงกว่า จึงทำให้ราคาผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ประมาณ 15.3% (ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิต) และมีการขยายพันธุ์และแนะนำให้กสิกรปลูกในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศ ก็จะมีแนวโน้มทำให้มูลค่าผลผลิตมันสำปะหลังของประเทศสูงขึ้นปีละประมาณ 1,200 ล้านบาท
บทคัดย่อ (EN): Rayong 3 cassava variety was developed from hybrid seed of CM407 cross which was introduced from CIAT in 1975. selections were done in Rayong Field Crops Research Center in 1976 - 1977 and CM 407-7 clone was selected Evaluations were done in the research centers and the experimental stations located in cassava growing area from 1978 - 1980. the clone was named HP 4. HP 4 was tested in on-farm trials and farmer fields in 1981 - 1982. Teh results of experiments showed that dry matter content and starch content of HP 4 were higher than Rayong 1, variety, Rayong 3 in 1983. Because of higher starch content, price of Rayong 3 is higher than Rayong 1. Growing Rayong 3, farmers earn more income or lower cost of production.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2528
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2528
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3"
กรมวิชาการเกษตร
2528
เอกสารแนบ 1
ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง การชักนำการออกดอกในมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังแบบแม่นยำ ผลการใช้มันสำปะหลังแคโรทีนสูง (พันธุ์ระยอง 2) เป็นอาหารไก่กระทง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน การประเมินและการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง การเพิ่มโปรตีนในกากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลังโดยใช้จุลินทรีย์ การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง (ปีที่ 2) ผลของสภาวะในการเพาะปลูกต่อคุณภาพของหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4 การประเมินสายพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อให้ผลผลิตและคุณภาพใบสูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก