สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกพันธุ์พริกพื้นเมืองอีสานภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า
พัฒนา ภาสอน - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์พริกพื้นเมืองอีสานภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of Horticultural Characteristics of E-san Hot Pepper Variety in Organic Farming System for Commercial Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัฒนา ภาสอน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ถวิล ชนะบุญ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พริกเป็นพืชที่มีความสัญในการประกอบอาหารทั้งอาหารอีสานและอาหารไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อที่จะคัดเลือกพันธุ์พริกอีสานจำนวน 4 สายพันธุ์ที่เหมาะสมในการปลูกภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ โดยการทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ 4 วิธีการคือ ปุ๋ยขี้วัว, ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้หมูและกลุ่มควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย) ผลการศึกษาพบว่าการใช้ปุ๋ยขี้หมูให้ผลผลิตพริกและปริมาณสาร capsaicinoids สูงที่สุด และพันธุ์พริกที่มีการตอบสนองในระบบการปลูกพืชแบบอินทรีย์มากที่สุดคือ พริกขาว และ พริกส้ม การศึกษาระบบการปลูกพืชแบบปลูกพืชร่วมในพริกทั้ง 4 สายพันธุ์ พบว่าการปลูกพริกร่วมกับข้าวโพด ฟักทอง ถั่วฝักยาว เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าการปลูกพริกร่วมกับข้าวโพดจะให้ผลผลิตและปริมาณสาร capsaicinoids สูงที่สุด และพริกที่ตอบสนองได้ดีกับระบบการปลูกพืชร่วมคือ พริกหัวเรือ พริกขาว และพริกส้ม ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สามารถที่จะมาประยุกต์ใช้ในระบบการปลูกพริกแบบอินทรีย์เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพและปริมาณของพริกพื้นเมืองอีสานให้สูงขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Hot-pepper is one of the main ingredients in E-san and Thai food. The objective of this research was to select the most suitable E-san hot pepper from four varieties for the organic farming system. We tested the effects of four different experiments including three fertilizers (cow dung, chicken dung, and pig dung) and a control set (no fertilizer). The results show that pig dung fertilizer provide the highest yield and gave the highest capsaicinoids content compared to other fertilizers. The most suitable varieties to grow in this organic farming system were Khao variety (Capsicum annuum) and Som variety (C. frutescense). Furthermore, the experiments in the cropping systems resulted that these four hot peppers variety grown better with corn (Zea mays Linn) plantation than other plants (pumpkin, yard long bean), and control. The most suitable variety to grow in cropping system was Hua Ruea, Khao, and Som varieties. This study can be applied to the organic farming system to improve both quality and quantity of the E-san hot pepper yield.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกพันธุ์พริกพื้นเมืองอีสานภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า
พัฒนา ภาสอน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30 กันยายน 2553
การคัดเลือกพันธุ์พริกที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรค การปลูกไม้ผลผสมผสานในระบบเกษตรอินทรีย์ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกลองกอง ในระบบเกษตรอินทรีย์ ศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการปลูกหน้าวัวทางภาคใต้ตอนบน การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกทุเรียนในระบบเกษตรอินทรีย์ ศึกษาอัตราเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดต่อการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อผลิตหน่อไม้ฝรั่งในระบบเกษตรอินทรีย์ การทดลองหาช่วงวันให้น้ำที่เหมาะสมของพริกในระบบเกษตรอินทรีย์ ปีที่2 ทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานเพื่อปลูกยางพารา การทดลองหาปริมาณการใช้น้ำที่เหมาะสมของข้าวโพดหวานที่ปลูกโดยระบบเกษตรอินทรีย์ (ปีที่ 2) การทดลองหาปริมาณการใช้น้ำที่เหมาะสมของข้าวโพดหวานที่ปลูกโดยระบบเกษตรอินทรีย์ (ปีที่ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก