สืบค้นงานวิจัย
สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี
ไกวัล กล้าแข็ง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไกวัล กล้าแข็ง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการศึกษา เพื่อให้ทราบสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกรที่ปลูกแห้วจีนและเพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติบางประการของผู้ปลูกแห้วจีนโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 120 ราย โดยเจ้าหน้าที่นำแบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS ซึ่งผลการศึกษาเป็นดังนี้ เกษตรกรที่ปลูกแห้วจีนเป็นครอบครัวขนาดเล็กร้อยละ 70 มีแรงงานที่ใช้เพียง 1- 2 คน เกษตรกรกว่าร้อยละ 50.80 มีพื้นที่ปลูกแห้วจีนต่ำกว่า 5 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 64.20 และร้อยละ 33.30 จะปลูกแห้วจีนระหว่างเดือนมีมนาคมและเมษายน และเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม แหล่งพันธุ์แห้วจีนของเกษตรกรมี 2 แหล่งใหญ่ คือ จากเพื่อนบ้านและเพาะพันธุ์ไว้ใช้เอง เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่มักจะเพาะพันธุ์ใช้เอง การให้น้ำในแปลงปลูกแห้วจีนพบว่าเกษตรกรกว่าร้อยละ 80 จะให้น้ำต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกร อัตราปลูกแห้วจีน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 67.50 ปลูกแห้วจีน 1,600 ต้นต่อไร่ และมีเพียงร้อยละ 1.0 ที่ปลูกแห้วจีน 1,100 ต้นต่อไร การใส่ปุ๋ยพบว่าเกษตรกรร้อยละ 75.80 ใส่ปุ๋ยน้อยกว่า 400 กิโลกรัมต่อไร่ (ระดับที่เหมาะสม 40 กิโลกรัมต่อไร่) ฉะนั้น น่าจะมีการแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น รวมถึงจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นด้วย โรคราสนิมเป็นศัตรูที่สำคัญของแห้วจีนคิดเป็นร้อยละ 58.50 ของปัญหาในการผลิตทำให้มีการใช้สารเคมีถึงร้อยละ 26.70 ในการป้องกันกำจัด 16-20 ครั้ง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิต และสารตกค้างในแห้งจีน หากสามารถลดปริมาณการใช้ลงได้จะทำให้ต้นทุนการผลตแห้วจีนลดลงไดมาก แนวทางหนึ่งที่มีความเป็นไปได้คือการปรับปรุงพันธุ์ให้แห้วจีนต้านทานต่อโรคราสนิม สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ถึงร้อยละ 20 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ข้อเสนอแนะ หากต้องการปรับปรุงระบบการผลิตแห้วจีนให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาหาวันปลูกหรือช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนใช้วิธีการจัดการช่วงแสงให้เหมาะสม เพื่อให้แห้วจีนมีคุณภาพดีขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น หาพันธุ์ใหม่ที่ต้านทานต่อโรคราสนิมให้กับเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตลงซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุพรรณบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
การยอมรับเทคโนโลยีการอารักขาข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ปี 2547 ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการปลูกอ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่2) ลักษณะการแพร่กระจายและการยอมรับเทคโนโลยีเกษตร จากการรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตร ทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การปฏิบัติในการผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออกตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของกลุ่มเกษตรกร ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวสู่ความสำเร็จการบริหารจัดการชลประทาน โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสาร : การยอมรับวิธีการทำนาหว่านน้ำตม แผนใหม่ของเกษตรกรอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก