สืบค้นงานวิจัย
การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว
อุษา จักราช, สุปราณี ศรีทำบุญ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Soil carbon sequestration in saline soil as affected by using organic materials in rice production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว ดำเนินการในพื้นที่ดินเค็มปานกลาง ที่ระดับความเค็ม(ECe) 6.91-7.88 เดซิซีเมนต่อเมตร ชุดดินกุลาร้องไห้ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มในช่วงเวลาต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ของสมบัติบางประการของดินต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินเค็ม โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 7 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับที่ 1 วิธีเกษตรกร (แปลงควบคุม) ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ ตำรับที่ 3 ใส่แกลบอัตรา 2 ตันต่อไร่ ตำรับที่ 4 ปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 5 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับการปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 5 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 6 ใส่แกลบอัตรา 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 5 กิโลกรัมต่อไร่ และตำรับที่ 7 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับการใส่แกลบอัตรา 1 ตันต่อไร่ ผลการศึกษา ปรากฏว่า วิธีการใส่แกลบอัตรา 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับการปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 5 กิโลกรัมต่อไร่ และไถกลบเป็นพืชปุ๋ยสดเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดิน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินสูงที่สุดที่ระยะแตกกอของข้าว และมีปริมาณลดลงในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต และหลังไถกลบตอซัง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเสถียรภาพของปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินได้นาน คือ การใช้วัสดุอินทรีย์ที่มีอัตราการย่อยสลายช้า (แกลบ) ร่วมกับวัสดุอินทรีย์ที่มีอัตราการย่อยสลายเร็ว (โสนอัฟริกัน)และจากผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ปรากฏว่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจนทั้งหมดในดิน และความจุแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ ในระยะแตกกอและระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตของข้าวทั้งที่ระดับความลึกของดิน 0-15 และ 15-30 เซนติเมตร แต่ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินหลังไถกลบตอซัง มีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณอินทรียวัตถุในดินและไนโตรเจนทั้งหมดในดินที่ระดับความลึกของดิน 0-15เซนติเมตร และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินและคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินที่ระดับความลึก 15-30 เซนติเมตร สำหรับการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นปริมาณตอซังอย่างไรก็ตามผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใส่วัสดุอินทรีย์ลงในดินเค็มเป็นวิธีที่ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Soil organic carbon sequestration (SOCseq) is the adaptation to climate change. Also SOCseq has a positive correlation with soil improvement. This study aimed to investigate the potential of organic materials for SOCseq in the saline soil, to study the dynamic of SOCseq, and to study the correlation between SOCseq and soil properties. The experiment was conducted in salinity area in Khon Kaen Province, Northeast, Thailand during 2013-2014. The field experiment was set up on Kula Ronghai series (fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Natraqualfs) and glutinous rice variety is RD.6. Soil samples were collected four times including; starting trial, tillering stage, harvesting, and after rice straw plough at 0-15 and 15-30 cm. depth. A randomized complete block design was employed with three replications and seven treatments that were T1=farmer method (control), T2= compost fertilizer 12.5 tons/ha, T3= rice husk 12.5 tons/ha, T4= Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, T5= compost fertilizer 12.5 tons/ha with Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, T6= rice husk 12.5 tons/ha with Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, and T7= compost fertilizer 6.25 tons/ha with rice husk 6.25 tons/ha. All treatments had grown Sesbania rostrata that it was plowed into the soil at 60 days after plant(DAP). As chemical fertilizer was applied at rate 56.25 kg N/ha, 37.5 kgP2O5/ha, and 37.5 kg K2O/ha for all treatments. The result indicated that the applying rice husk incorporated with Sesbania rostrata for plowing into the soil at 60 DAP can maximize the SOCseq in a salinity soil. And this method could conserve the SOCseq for long time in a soil. Moreover, the SOCseq was the highest at the tillering stage and decreased in harvesting and after rice straw plough. The correlation analysis showed that SOCseq has a positive relation with organic matter and nitrogen at tillering stage and harvesting both 0-15 and 15-30 cm. depth. But it had a negative correlation with organic matter and nitrogen at 0-15 cm. depth at after rice straw plough. While it did not present a relation with soil properties at 15-30 cm. depth. As an agronomic data, it did not significant. But an application organic material into soil could increase the paddy yield.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม การใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อผลิตข้าวและกักเก็บคาร์บอนในดิน ผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการปรับปรุงดินเค็ม การจำแนกคาร์บอนอินทรีย์และการกักเก็บคาร์บอนในดินนาทรายที่ใส่วัสดุอินทรีย์ การใช้ค่าวิเคราะห์ดิน ผลผลิตที่คาดหวัง และธาตุอาหารหลักในผลผลิตเพื่อกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับข้าว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การประยุกต์ใช้ระบบไม้ยืนต้นและหญ้าแฝกร่วมกับวัสดุอินทรีย์คุณภาพต่างกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก