สืบค้นงานวิจัย
ถั่วในประเทศไทย
สมชาย ชาญณรงค์กุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ถั่วในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): BEAN IN THAILAND
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ชาญณรงค์กุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ถั่วเขียว เนื่องจากถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียง 65-70 วัน ลักษณะการผลิตจึงเป็นแบบระบบพืชรอง หลังจากพืชหลักอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าว ถั่วเหลือง ฝ้าย เป็นต้น บางท้องที่ก็ปลูกก่อนพืชหลัก ทำให้การเอาใจวใส่ดูแลแปลงเพาะปลูกมีน้อย ขาดการดูแลเอาใจใส่ ส่วนใหญ่ยังมีการปลูกโดยไม่มีการเตรียมดิน และใช้วิธีหว่าน แต่อย่างไรก็ดีการผลิตถั่วเขียวของไทยมีความสัมพันธุ์กับราคา กล่าวคือ ปีใดที่ถั่วเขียวมีราคาค่อนข้างสูง เกษตรกรจะหันมาปลูกถั่วเขียวมากขึ้น ในปีถัดไปก็ลดการผลิตลง ประกอบกับภาวะความแห้งแล้งทีเกิดขึ้นในแหล่งที่เกิดขึ้นในแหล่งผลิตที่สำคัญ ทำให้พื้นที่เพาะปลูกและถั่วเขียวลดลงตามลำดับไปด้วย ผลผลิตถั่วเขียวที่ส่งออกหรือบริโภคถายในประเทศต้องผ่านพ่อค้าหลายระดับ เช่น ผู้รวบรวมระดับไร่นา พ่อค้ท้องที่ พ่อค้าทอ้งถิ่น และผู้ส่งออก เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายถั่วเขียวทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวและนวดแล้ว โดยจะนำถั่วเขียวที่นวดและทำความสะอาดแล้ว ไปขายยังแหล่งรับซื้อในหมู่บ้าน หรือขายให้กับพ่อค้าที่นำเครื่องนวดเข้าไปรับจ้างถึงไร่นาโดยคิดหักค่านวดและค่าขนส่งจากเกษตรกรอีกส่วนหนึ่งด้วย การขายถั่วเขียวของเกษตรกรยังมไม่มีการคัดเกรด แต่ใช้การตกลงราคา หากพอใจก็จะขายทันทีและมักจุขายหมด มิได้เก็บไว้สำหรับพันธุ์ในฤดูปลูกถัดไปแต่อย่างใด ปัญหาการผลิต พบว่าปัญหาเป็นลำดับดังนี้ แหล่งเมล็ดพันธุ์ ชนิดของพันธุ์ที่เลือกใช้ วิธีการปลูกและการเตรียมดิน แมลงศัตรูพืช และความแห้งแล้ง ในช่วงที่ถั่วเขียวมีความต้องการน้ำมาก นอกจากนี้ปัญหาเรื่องสิ่งเจือปนและเชื้อรา เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงคุณภาพเช่นกัน ถั่วนิ้วนางแดง การปลูก มีการเพาะปลูก 2 ลัษณะใหญ่ คือ ปลูกเป็นพืชแซมกับข้าวโพด ปลูกเป็นครั้งที่ 2 หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวดพดแล้ว พันธุ์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองเดิมที่ได้จากศรีลังกา หยอยหลุมละ 3-4 เมล็ด หรืออัตรา 6 กก./ไร่ ฤดูปลูกจะแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ปลุกแซมข้าวโพดช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม ปลูกระหว่างแถวข้าวโพดรุ่น 2 ประมาณเดือนมิถุนายน ส่วนการปลูกตามข้าวโพด จะปลูกประมาณเดือนสิงหาคม ศัตรูพืชสำคัญ เช่น หนอนผีเสื้อกัดกินไป หนอนเจาะฝัก การเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีการเกี่ยวทั้งต้นแล้วนำไปนวดแต่บางพื้นที่ก็ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวทั้งต้นแล้วนำไปนวด แต่บางพื้นที่ก็ใช้วิธีการเก็บฝักแต่มีน้อยมาก สภาพการตลาด เนื่องจากตลาดสำคัญของถั่วนิ้วนางแดงค่อนข้างจำกัด คือ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ทำให้ปริมาณการผลิตในแต่ละปีต้องจำกัด ปริมาณความต้องการของตลาด คือปีละไม่เกิน 20,000 ตัน ดังนั้น หากปีใดผลผลิตมากทำให้ราคาลดลง เกษตรก็ลดการผลิตลงทำให้ผลผลิตขาดแคลนในปีถัดไปราคาขึ้น เป็นภาวะวนเวียนเช่นนี้ตลอด การพัฒนาถั่วนิ้งนางแดง สามารถทำได้โดยเน้นการวิจัยและหาพันธุ์ที่เหมาะสมเพราะเป็นถั่วที่ปลูกง่าย และควรส่งเสริมด้านตลาดให้มากขึ้นด้วย ถั่วพุ่ม แหล่งผลิตใหญ่จะอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะผลผลิตและการผลิตจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการบริโภคคือ การบริโภคฝักสดจะปลูกต้นฤดูฝนก่อนพืชหลัก และเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อยจนกว่าจะหมด ถ้าเป็นถั่วพุ่มเมล็ดแห้ง ส่วนใหญ่จะปลูกหลังพืชหลักส่งเข้าขายในตลาดกรุงเทพฯ การพัฒนาการผลิตน่าจะมุ่งเน้นที่เรื่องการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับลักษณะการผลิตและความต้องการผลผลิตทุกรูปแบบ ส่งเสริมการปลูกเพื่อเสริมรายได้และแก้ปัญหาโปรตีนขาดแคลนในชนบท ทั้งก่อนละหลังพืชหลัก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ถั่วในประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำและผลผลิตของถั่วแปะยีภายใต้ระบบการปลูกพืชตามแนวระดับบนพื้นที่ลาดชันในจังหวัดเชียงใหม่ ผลของความสูงและความถี่ของการตัดถั่วมะแฮะที่มีต่อผลผลิตรวมของแปลงหญ้าผสมถั่ว การศึกษาถั่วลิสงเถาเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ (3) ผลของระยะตัดต้นถั่วและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงเถาสายพันธุอมาริลโล อิทธิพลของระยะเวลาตัดปิดแปลงถั่วที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดถั่วท่าพระสไตโล ความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมถั่วแปบในประเทศไทย การศึกษาปริมาณไอโอดีนในถั่วอาหารสัตว์ในประเทศไทย การทดสอบเสถียรภาพของผลผลิตถั่วเขียวอินทรีย์ การศึกษาถั่วลิสงเถาเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ (4) การปลูกถั่วลิสงเถาสายพันธุ์อมาริลโลร่วมกับหญ้าเขตร้อน 3 ชนิด การศึกษาผลผลิตของถั่วเวอราโนสไตโลและถั่วขอนแก่นสไตโลภายใต้สภาพแวดล้อมของศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ปากช่อง การศึกษาถั่วลิสงเถาเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ 6. ลักษณะการออกดอก ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของถั่วลิสงเถา 11 สายพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก