สืบค้นงานวิจัย
คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก
อัครเดช นาคประดิษฐ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก
ชื่อเรื่อง (EN): Embryo and Development of Golden Belly Barb Hypsibarbus wetmorei Smith, 1931
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัครเดช นาคประดิษฐ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Golden Belly Barb (Hypsibarbus wetmorei Smith, 1931), Embryo, Development
บทคัดย่อ: การศึกษาคัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก ที่ได้จากการเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ปลาตะพาก ที่รวบรวมจากแม่น้ําปิง นํามาเลี้ยงที่สถานีประมงน้ําจืดจังหวัดกําแพงเพชร ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2552 โดยศึกษาพัฒนาการของคัพภะ เริ่มจากไข่ปฏิสนธิจนกระทั่งฟักออกเป็นตัว และศึกษาพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของลูกปลาตะพาก ตั้งแตระยะลูกปลาวัยอ่อนที่ถุงอาหารสํารองปรากฏอยู่ (yolk sac stage) ถึงระยะลูกปลาขนาดเล็ก (juvenile stage) ซึ่งมีอายุ 40 วัน ผลการศึกษาพบวา ไข่ปลาตะพากเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย ใช้ระยะเวลาในการฟักเป็นตัว 14 ชั่วโมง 30 นาทีที่อุณหภูมิน้ํา 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนพัฒนาการของลูกปลาในระยะที่มีถุงอาหารสํารองปรากฏอยู่ลูกปลาแรกฟักจะมีลําตัวใส รูปรางเพรียวยาวความยาวประมาณ 2.81 มิลลิเมตร ส่วนหัวยังแนบติดอยู่กับถุงอาหารสํารอง ซึ่งเป็นถุงยาวไปตามความยาวลําตัว เมื่อลูกปลาอายุ 2 วัน ส่วนหัวยาวขึ้น และแยกออกจากถุงอาหารสํารอง เกิดครีบหูลูกปลาแรกฟักมีกลามเนื้อ32 มัด ส่วนลูกปลาวัยอ่อนระยะแรก มีจุดสีบริเวณส่วนหัวถุงอาหารสํารองลดขนาด และพัฒนาเป็นท่อทางเดินอาหาร ครีบต่างๆ มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นสําหรับลูกปลาวัยอ่อนระยะหลัง เริ่มจากกระดูกปลายหางโคงงอขึ้น ครีบหลัง ครีบกน ครีบท้อง และครีบหางแยกออกจากกัน มีกานครีบเกิดขึ้น และมีครีบแข็งที่ครีบหลัง 1 อัน มีชองจมูกเกิดขึ้น และลูกปลาขนาดเล็กอายุ 40 วัน ครีบทุกครีบสมบูรณดีและแยกออกจากกัน มีกานครีบแข็งและกานครีบอ่อนเสริมความแข็งแรงลําตัวมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัวรูปรางลักษณะภายนอกทั่วไปเหมือนตัวเต็มวัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=34
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
ผลขอฮอร์โมน LHRHa และ HCG ต่อการตกไข่และพัฒนาการทางคัพภะของปลาดุกทะเล (Plotosus canius Hamilton Buchanan, 1822) การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) พัฒนาการของลูกปลาหมอบัตเตอร์วัยอ่อน การศึกษาการเพาะพันธุ์ คัพภวิทยาและพัฒนาการของลูกปลารากกล้วยวัยอ่อน การศึกษาและพัฒนาการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ผลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพการพัฒนาการปลาตะพัดวัยอ่อน วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์น้ำจืด วิจัยและพัฒนาการใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบในปลาน้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจและปลาสวยงามบางชนิดเพื่อการขนส่งระยะไกล โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสร้อยปีกแดง การพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก