สืบค้นงานวิจัย
วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว
สุจินต์ แก้วฉีด - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development to use antagonistic microorganisms for agriculture I. Study on antagonistic bacteria to control rice blast and bacteria leaf blight
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุจินต์ แก้วฉีด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchin Kaewchit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เสาวนีย์ ศรีบัว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Souwanee Sribua
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แบคทีเรียปฏิปักษ์ มีคุณสมบัติในการแข่งขันทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ดี สามารถสร้างสารปฏิชีวนะ หรือ การเป็นปรสิต ซึ่งแบคทีเรียปฏิปักษ์อาจจะใช้คุณสมบัติหลายอย่างหรืออย่างเดียวในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช จึงได้มีการนำแบคทีเรียปฏิปักษ์หลายชนิดที่มีแหล่งอาศัยในดินและแหล่งอาศัยทั้งในหรือบนผิวชิ้นส่วนพืชนำมาประยุกต์ใช้เป็น biological control agent ที่ดีเช่น Pseudomonas sp. Bacillus sp. นำมาผลิตเป็นชีวภัณฑ์ในการควบคุมโรคพืช เช่น มีการใช้ Bacillus subtilis ควบคุมโรคกาบใบแห้งข้าว ซึ่งการศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคชอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว มีเป้าหมายเพื่อให้ได้แบคทีเรียปฏิบักษ์ที่มีประสิทธิภาพดีอย่างน้อย 4 ไอโซเลท ได้ดำเนินการทดลองดังนี้ นำขึ้นส่วนต้นข้าวที่ไม่มีอาการโรคจาก ลำต้น กาบใบ ใบ คอรวง ระแง้ ก้านเมล็ด ดอก เมล็ด ซึ่งนำมาจากแปลงนาข้าว เขต อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี อ.เมือง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อ.เทพา อ.ระโนด อ.กระแสสินธิ์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และ อ.เชียรใหญ่ อ.ปากพนัง อ.หัวไทร อ.เมือง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช จากชิ้นส่วนดังกล่าวสามารถดำเนินการแยกเชื้อบริเวณผิวและภายในเนื้อเยื่อ โดยวิธี tissue transplanting และ dilution plate ได้แบคทีเรียบริสุทธิ์ 971 ไอโซเลท ปีงบประมาณ 2547 สามารถดำเนินการทดสอบการยับยั้งต่อเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งและเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ในห้องปฏิบัติการได้จำนวน 460 ไอโซเลท ดังนั้นอีก 511 ไอโซเลท ดำเนินการทดลองในปีงบประมาณ 2548 ดำเนินการทดสอบการยับยั้งของเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ที่แยกได้ต่อเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งข้าว โดยวิธี paper disc diffusion ในห้องปฏิบัติการ จากการทดสอบครั้งแรกคัดเลือกได้ 138 ไอโซเลท ดำเนินการทดสอบช้ำได้จำนวน 36 ไอโซเลท และดำเนินการทดสอบช้ำอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกให้ได้ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพการยับยั้งต่อเชื้อแบคที่เรียสาเหตุโรคได้ดี จากการทดสอบทุกครั้งได้จำนวน 10 ไอโซเลท ผลการทดสอบพบว่า ไอโซเลท PTI226 มีความกว้างบริเวณใส 13 มิลลิเมตร มากที่สุด รองลงมาคือ ไอโซเลท PTI89 PTst326 มีความกว้างบริวณใส 12 และ 11 มิลลิมตร ตามลำดับ ในชณะที่ไอโซเลท PTI280 มีความกว้างบริเวณใส 5 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยที่สุด และพบว่าไอโซเลทที่นำมาเปรียบเทียบคือ ไอโซเลท SPR39 DAR33 และ CPL11 (สุจินต์, 2545) NSR24 NSR26 (นลินี่, 2534) มีความกว้างบริเวณใส 8 ,10, 8, 9 และ 8 มิลลิเมตร ตามลำตับ (ตารางที่ 1) ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการนำแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 10 ไอโซเลทและแบคทีเรียปฏิปักษ์เปรียบเทียบ 5 ไอโซเลทดังกล่าว นำไปทดสอบการควบคุมโรคขอบใบแห้งในเรือนปลูกพืชทดลองวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ใช้พันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 อายุ 30 วัน วิธีการโดยฉีตพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อน 24 ชั่วโมงหลังจากนั้นฉีดพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อสาเหตุโรค หลังจากนั้น 21 วัน บันทึกการเกิดโรค ผลการทดสอบพบว่าไอโซเลท PTI89 มีการเกิดโรค 27.15 % ซึ่งน้อยที่สุด ไอโซเลทรองลงมาคือ PTst296 PTst325 PTst415 และ DAR33 มีการเกิดโรค 30.58 35.38 36.09 และ 34.74 %ตามลำดับ ซึ่งแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 5 ไอโซเลท มีการเกิดโรคน้อยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบซึ่งเกิดโรค 64.28 % (ตารางที่ 2) ดังนั้นจะคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท PTI89 PTst296 PTst325 และ Ptst415 ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมการเกิดโรคได้ดีนำไปทดสอบการควบคุมโรคขอบใบแห้งในสภาพแปลงทดลองต่อไป โดยนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท SPR39 CPL11 DAR33 NSR24 และ NSR26 เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบต่อไป การทดสอบการยับยั้งของเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ที่แยกได้ต่อเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ข้าวโดยวิธี dual culture method ในห้องปฏิบัติการ จากการทดสอบครั้งแรกคัดเลือกได้ 168 ไอโซเลท ดำเนินการทดสอบช้ำได้จำนวน 89 ไอโซเลท และดำเนินการทดสอบซ้ำอีกครั้งเพื่อคัดเลือกให้ได้ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพการยับยั้งต่อเชื้อราสาเหตุโรคได้ดีจากการทดสอบทุกครั้งได้จำนวน 11 ไอโซเลท ผลการทดสอบพบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 11 ไอโซเลท มีความสามารถยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ได้ดีทุกไอโซเลทเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ (ตารางที่ 3) แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท PTI280 PTs410 PTst415 และ PTI116 มีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคได้ดีที่สุดคือ 76.41 % ดังนั้นสามารถคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 4 ไอโซเลทดังกล่าวนำไปทดสอบการควบคุมโรคไหม้ในสภาพแปลงทดลองลำดับต่อไป แต่ได้มีการดำเนินการทดลอง เพื่อทดสอบการควบคุมโรคไหม้ในห้องปฏิบัติการโดยวิธี detached leaf technique จากแบคทีเรียปฏิปักษ์ 11 ไอโซเลท เพื่อคัดเลือกให้ได้จำนวนไอโซเลทน้อยลง แต่พบว่า กรรมวิธีเปรียบเทียบไม่มีอาการโรคไหม้ และได้ดำเนินการทดสอบการควบคุมโรคไหม้ในเรือนปลูกพืชทดลองโดยปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในกระบะ อายุข้าว 15 วัน ปลูกเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ หลังจากนั้นฉีดพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ บันทึกการเกิดโรคที่ 14 21 และ 30 วัน พบว่า กรรมวิธีเปรียบเทียบไม่มีอาการโรคไหม้เช่นกัน จึงได้แก้ปัญหาอีกครั้งนำมาทดสอบแบบ Upland short row รึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการขั้นตอนดังกล่าว จากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2547 สามารถคัดเลือกได้แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท PTI89 PTst296 PTst325 และ PTst415 ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมโรคขอบใบแห้งในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองได้ดี พบว่าไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือ ไอโซเลท PTI89 และสามารถคัดเลือกไfhแบคที่เรียปฏิปักษ์ไอโซเลท PTI280 PTs410 PTst415 และ PTI116 ที่มีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ได้ดีในห้องปฏิบัติการ แต่ยังไม่สามารถรายงานผลการทดสอบสภาพเรือนปลูกพืชทดลองได้ เพื่อให้ได้จำนวนไอโซเลทน้อยลง นำไปทดสอบสภาพแปลงทลองต่อไป การดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2548 ซึ่งไม่ได้รายงานผลมีการดำเนินการทดสอบคัดเลือกแบคทีเรียบริสุทธิ์ที่แยกได้ 511 ไอโซเลท ทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้ง และเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ ในห้องปฏิบัติการ และทดสอบการควบคุมโรคขอบใบแห้งในสภาพเรือน ปลูกพืชทดลองโดยเปรียบเทียบกับแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพดีจากการดำเนินงานในงบประมาณปี 2547 และกำลังจะดำเนินการทดสอบสภาพแปลงทดลอง กรณีการทดสอบการควบคุมโรคไหม้ ต้องคัดเลือกในการทดสอบการควบคุมโรคไหม้แบบ Upland short row โดยเปรียบเทียบกับแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพดีจากการดำเนินงานในงบประมาณปี 2547 เช่นกันจากนั้นจะดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ดีต่อการควบคุมโรคไหม้ในสภาพแปลงทดลองต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156119
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 3 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว
กรมการข้าว
2548
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ การผลิตโพลีโคลนอลแอนติซีรัมที่จำเพาะต่อ Streptomyces-PR15 และการใช้ตรวจติดตามเชื้อรอบผิวรากต้นกล้าพริก ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าว แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดร (NPV) ของไหม โดยใช้ double-strand RNA interference ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก