สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
สุมาลี เม่นสิน - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Bio-substance and Coating Fruit for Controlling Strawberry Fruit Rot
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุมาลี เม่นสิน
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ คัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าสตรอเบอรี่ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต และ คัดเลือกสารเคลือบผลสำหรับลดการสูญเสียจากเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าสตรอเบอรี่ในระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จากผลการดำเนินงาน พบว่ามีแบคทีเรียปฏิปักษ์ 2 ไอโซเลท ได้แก่ K27 และ S17 ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อสาเหตุของโรคผลเน่าสตรอเบอรีที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. และ Botrytis sp. ได้ดี และการคัดเลือกวัสดุรองรับ ได้สารชีวภัณฑ์สูตรผง 3 สูตร ได้แก่ สูตรแป้งข้าวจ้าว สูตร Lactose และ สูตร MCC เมื่อนำมาตรวจสอบการมีชีวิตรอดของเชื้อแบคทีเรีย หลังการผลิต พบว่า ทั้ง 3 สูตร สามารถใช้เป็นวัสดุรองรับได้ดีนานมากกว่า 6 เดือน เมื่อเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ส่วนสารเคลือบผลพบว่า 2% ascorbic acid และ 2% citric acid สามารถยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคผลเน่าสตรอเบอรีได้ โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื้อเยื่อ และ สีของผล สำหรับการทดสอบในสภาพโรงเรือน โดยพ่นสารชีวภัณฑ์ก่อนและหลังปลูกเชื้อราสาเหตุ บนต้นสตรอเบอรี่ พบว่า สารชีวภัณฑ์ K27 และ S17 ทั้ง 3 สูตร สามารถลดการเกิดโรคได้ โดยที่พ่นสารชีวภัณฑ์ก่อนการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค จะได้ผลการป้องกันได้ดีกว่าพ่นหลังการปลูกเชื้อราสาเหตุ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ข้อแนะนำการใช้งานสารชีวภัณฑ์ ในแปลงปลูกในระยะก่อนติดผล สามารถใช้สารชีวภัณฑ์ได้ทั้ง 3 สูตร ส่วนในช่วงระยะติดผลใกล้การเก็บเกี่ยวควรใช้สูตร Lactose เพื่อให้ผลผลิตไม่มีคราบของ ชีวภัณฑ์ติดที่ผล
บทคัดย่อ (EN): The objective of study was antagonistic microbial screening to control pathogen of strawberry fruit rot and selected organic compounds as coating fruit for control pathogen. The result shows that two antagonistic bacteria K27 and S17 showed spore and mycelium growth inhibition of Colletotrichum sp. and Botrytis sp. The selected formulation of antagonistic bacteria was found three formulation including 1) rice flour 2) lactose and 3) MCC. The formulations of isolates K27 and S17, they were observed to survive more than 6 months under storage at room temperature. Testing of the strawberry fruits coated with organic compound, the most effective was found that 2% ascorbic acid and 2% citric acid inhibited the pathogens and unchanged in texture and color of fruit. In greenhouse experiment, the formulations were tested on strawberry leaves by using three formulations of antagonistic bacteria isolates K27 and S17. The formulations sprayed 1 day before and after pathogen inoculation on strawberry leaves, the result showed formulation of isolates K27 and S17 in three formulas sprayed 1 day before pathogen inoculation reduced the severity of the disease, reduced the wound when compared with the control. Therefore, the suggestion used formulation for cultivator, could use three one of three formulation sprayed strawberry before reproductive stage while, during fruit stage could use lactose formula because it does not show white stained defect on fruit skin
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน โครงการย่อยที่ 3: การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ควบคุมโรคทางดินและโรคหลังการเก็บเกี่ยวของพริกกะเหรี่ยงบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื วิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 6: การศึกษาหาวิธีการควบคุมจิ้งหรีด วงศ์ Gryllidae โดยชีววิธี สำหรับการเพาะปลูกพืชบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก