สืบค้นงานวิจัย
การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
รัตนาภรณ์ นวลโคกสูง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่อง (EN): The Business Management for Agricultural Product Processing of the Farmer’s house-wives Groups at Nong Khai Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนาภรณ์ นวลโคกสูง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rattanaporn Nuankhoksung
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฉัตรชัย ปรีชา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chatchai Preecha
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแปรรูปผลผลิตทาง การเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร วิธีการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และปัญหาและ ข้อเสนอแนะจากการดำเนินการของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในจังหวัดหนองกาย แบบสอบถาม ปลายเปิดและปลายปิดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรใน จังหวัดหนองคาย พบว่าส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มมีความต้องการวัตถุดิบในการแปรรูปเพิ่มขึ้น ใน ขณะเดียวกันส่วนใหญ่ความต้องการสินค้าแปรรูปของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และราคาผลผลิตจากการ แปรรูปแต่ละกลุ่มเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของรายได้ของสมาชิกแต่ละกลุ่ม ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของสมาชิกแต่ละกลุ่ม และเงินออมของสมาชิกแต่ละกลุ่มด้วย การจัดการ ธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ด้านการจัดการทั่วไป โครงสร้างการ บริหารงานของแต่ละกลุ่มแม่บ้านประกอบด้วย ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม เลขานุการ เหรัญญิก และประชาสัมพันธ์ สมาชิกภายในกลุ่มเป็นผู้วางแผนในการดำเนินงานต่างๆ และช่วย บริหารงานของกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ด้านการจัดการด้านการผลิต การวางแผนการผลิตของแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด แหล่งที่มาของวัตถุดิบของแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่มาจากภายนอกกลุ่ม ต้นทุนเฉลี่ยต่อรอบการผลิตพบว่า ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5,000 บาท ด้านการจัดการด้านการตลาด กลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่มีการวางแผนตามความต้องการของตลาด ส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มมีการตั้งราคาตามต้นทุนการผลิต กลุ่มแม่บ้านแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้กำหนคราคาสินค้าของกลุ่ม รูปแบบการจำหน่ายสินค้าของแต่ละกลุ่มเป็นรูปแบบขายปลีกและส่งเป็นส่วนใหญ่ แหล่งจำหน่ายสินค้า ของแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่อยู่ภายในตำบลของแต่ละกลุ่ม ช่องทางการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มแต่ละกลุ่ม คือ บอกปากต่อปากเป็นส่วนใหญ่ จุดเด่นของสินค้าแต่ละกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่อยู่ที่รสชาติด้านการจัดการด้านการเงิน พบว่าแหล่งเงินทุนของแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่มาจากเงินสมาชิกภายในแต่ละกลุ่ม จำนวนเงินกองทุนของแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อปี ของสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมแปรรูปผลผลิต ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ผลกำไรจากการดำเนินการของแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่ผลกำไรไม่เกิน 10,000 บาท ปัญหาจากการดำเนินการธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมพบว่า แต่ละกลุ่มมีปัญหาในการดำเนินการระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปในการศึกษาครั้งต่อไปควรจะพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้มีความเหมาะสมมากขึ้น นอกจากนี้ควรจะศึกษาเฉพาะกลุ่ม เพื่อทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจธุรกิจแต่ละกลุ่มให้มากขึ้นและกำหนดแนวทางการวางนโยบายของธุรกิจการแปรรูปฉพาะต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research are to conduct the economic impacts of the agricultural product processing of farmers housewives groups, the agricultural product processing of farmers housewives groups, and the problems and suggestions in the operation of farmers housewives groups in Nong Khai Province. A questionnaire, which is composed of open and closed questions, is the tool for collecting data. The economic impacts of the agricultural product processing of farmers housewives groups in Nong Khai Province are revealed that most groups demand more raw materials for processing. Demand for agricultural product consumption on major consumers groups is increasing at the same time and the agricultural product price is mostly increasing. There is an increase in the income, the consumption, and savings of the farmers housewives groups as well. The business management of farmers housewives groups in Nong Khai Province is that the general management consists of the president, vice president, secretary, treasurer and public relations. The members are responsible for planning and administration. In the production process, the production planning of each group mainly depends on the demand for the market. Mostly, the sources of the raw material for each group derive from outside the group. The average cost per production cycle is not more than 5,000 baht. In the marketing process, the members organize the marketing plan according to the demand for the market. The price of their products mainly depends on the production cost, which the members are responsible for pricing the products. Distribution patterns of the product are mostly retail and wholesale. The selling places of the product are near the area of the groups. Mostly, the distribution channels of the product achieve from word of mouses. Products taste is largely strong selling point of the product. In the financial management process, the fund for each group is originated from the members, which is approximately 10,000 baht per year. The average annual income of the member who participates in the group is approximately 10,000 baht. The profit is approximately 10,000 baht per group. Overall, problems from the operation of agricultural product processing of farmers housewives groups in Nong Khai Province are medium level. For suggestions for the next research, the tool for collecting data should be developed to be more appropriated. Furthermore, the research should be conducted with some specific groups in order to gaining inside knowledge and understanding deeply in each group. It is also recommend to determine a specific policy for processing the business in the future.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 132,200.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จ.หนองคาย
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2551
การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เปรียบเทียบสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่กับมาตราฐานกระทรวงสาธารณสุข ปัจจัยที่ทำให้การบริหารจัดการโครงการแปรรูปผลผลิตการเกษตรประสบผลสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่ได้รับรองการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (เครื่องหมาย อย.) ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ความต้องการในการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ความต้องการในการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ความต้องการความรู้ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก