สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
พรทิพย์ แพงจันทร์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technology of Chili Production by Integrated Management in the Upper North-East
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรทิพย์ แพงจันทร์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างปลูกพริกขี้หนูผลใหญ่ 65,890 ไร่ผลผลิต 43,112.97 ตัน ผลิตพริก 2 ฤดูคือ ฤดูแล้งช่วงเดือนกรกฎาคม-เมษายน ฤดูฝนช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ปลูกพริกในพื้นที่เดิมเป็นเวลานาน ทำให้ความสมดุลของธาตุอาหารลดลง สะสมโรคและแมลงศัตรูมากขึ้น จึงทำให้เกิดการระบาด โรคพริกที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมเกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. โรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capcisi, โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum, โรครากเน่าและโคนเน่า Sclerotium rolfsii, และโรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัส ปัญหาของแมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงวันเจาะผลพริก (Bactrocera latifrons Hendel) หนอนเจาะผล ฯลฯ จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอัตราที่สูงขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตพริก แนวทางแก้ไขปัญหา โดยปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP พริก เริ่มตั้งแต่ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การจัดการดินโดยการปรับสภาพดินให้เหมาะสม การปลูกพืชบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้น้ำหมักชีวภาพ และใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ การจัดการโรคและแมลงจะมุ่งเน้นวิธีผสมผสานเปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกร ทดสอบในพื้นที่ผลิตพริกฤดูแล้งดินร่วนปนทราย จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ดจำนวน 73 ราย และผลิตพริกฤดูฝนดินร่วนเหนียวจังหวัดนครราชสีมา ดินทรายจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 28 ราย ปี 2556-2558 มี 2 กรรมวิธี คือวิธีผสมผสานและวิธีเกษตรกร พบว่าการผลิตพริกแบบผสมผสานในฤดูฝนให้ผลผลิตมากกว่าวิธีเกษตรกร 27.23% มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร 2,024 บาท/ไร่แต่มีรายได้มากกว่าวิธีเกษตรกร 43.27% ในฤดูแล้งให้ผลผลิตมากกว่าวิธีเกษตรกรเพียง 6.09% มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 3,508 บาท/ไร่ มีรายได้มากกว่าวิธีเกษตรกร 6.07% ผลผลิตพริกฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน 3 เท่าจึงมีรายได้สุทธิมากกว่า 25,000 บาท/ไร่ ถึงแม้พริกฤดูฝนจะขายได้ราคามากกว่าพริกฤดูแล้งเกือบ 2 เท่า ดังนั้นเกษตรกรต้องลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะสารเคมี เนื่องจากการผลิตพริกแบบผสมผสานสามารถแก้ปัญหาโรครากปม โรครากเน่าโคนเน่า แอนแทรคโนส และหนอนเจาะผล บำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้พริกเจริญเติบโตได้ดีจึงเก็บผลผลิตได้นานขึ้น ผลผลิตปลอดภัย 99 % วิธีเกษตรกรปลอดภัย 35% สอดคล้องกับการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร ได้กลุ่มเกษตรกรผลิตพริกคุณภาพ 3 กลุ่มในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี นครราชสีมา และ ร้อยเอ็ด นำองค์ความรู้การผลิตพริกคุณภาพเผยแพร่ให้เกษตรกรรายอื่นได้ และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP
บทคัดย่อ (EN): In the Lower Northeast chili area 65,890 rais total yield 43,112 tons. Chili production in 2 season 1) rainy season in upper land between in April-October 2) dry season in upper land or paddy field between July-April. Becaused of farmer has grown chili in the same field so long,and then soilfertilizer not balance and chili pest wild spred such as: root knot disease(Meloidogyne incognita), Ca deficiency, anthacnose , fruit fly (Bactrocera latifrons Hendel) worm and mite ,so farmer sprays pesticide and applied more fertilizer, and then pestiside residue in production and high cost practice. The official of agricultural research and development in region 4 was testing the integrated system for chili production or testing GAP method comparing with the farmer method in 2013 to 2015 The testing was conducted in Ubonratchathani Srisaket Roi-et Umnartchareon and Nakornratchasrima in dry season 73 farmers field and in rainy season 28 farmers. Control Technology 1)Seed Treatment: Chili seeds were soaked in warm water (50-55 ?C) for 15-20 minutes. Then they were subsequently soaked in fresh Trichoderma solution for 1 night. 2) Seedling Treatment: Seedlings (35-40 days after emergence) were soaked with fresh Trichoderma solution for 30 minutes before planting. 3) Fertilizer Application: Chicken manure was applied at 100 kg/rai, once a month. Chemical fertilizer grade 15-15-15 was applied 20 kg/rai at 15 and 30 DAP, then it was increased to 30 kg/rai, at 60 and 90 DAP. Fertilizer grade 13-13-21 was applied 30 kg/rai at 120 DAP, and then every month throughout the crop cycle. In addition, calcium nitrate was sprayed at 30 DAP, calcium boron was sprayed at 45 DAP and every month, later. Some farmers sprayed plant hormones and fish bio-extracts.4) Pest Control:. Integrated pest management; i.e. spraying pesticides, Bacillus thuringiensis, Bacills subtilis, and herbal bio-extracts were introduced to control the insects and diseases. 5) The root-knot nematode control techniques were; plowing area, broadcasting 5 kg/rai of sunnhemp seeds in the planting area. At 45-50 days after emergence, plowing sunnhemp and left them to be decomposed for 2 weeks before planting chili. 6) fruit fly control by insecticide and protein hydrolysis bait. From the testing. In rainy season ,the integrated system gave 27.23% higher total yield than the farmer method. But cost production higher than farmer method 2,024 baht/rai but more income than farmer method 43.27%. In dry season the integrated system gave 6.09% higher total yield than the farmer method, cost production lower than farmer method 3,508 baht/rai and more income than farmer method 6.07%.These also can be used lower cost production and high quality than the farmer method. Such as: fresh yield safety in integrated system 99 % while farmer method safety 35%. Technology accept and smart farmer to farmers group in Ubonratchathani Nakornratchasrima and Roi-et have GAP standard.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292800
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
เทคโนโลยีการปลูกพริกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกคุณภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มคุณภาพพริกชี้ฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก