สืบค้นงานวิจัย
โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
อภิชัย อุทัยธรรม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิชัย อุทัยธรรม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันตก เพื่อทราบผลการก่อสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซและกากที่ได้จากการผ่านขบวนการหมัก และเพื่อทราบปัญหา/อุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรในภาคตะวันตก ผู้ได้รับการสนับสนุนในการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ ตามโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 2 เกษตรกร ปี 2541 - 2546 จำนวน 85 ราย ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชายอายุ 26-55 ปี จบการศึกษาภาคบังคับ มีสมาชิกในครัวเรือน 1-3 คน มีพื้นที่การเกษตรน้อยกว่า 15 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงอิสระและเลี้ยงสุกรขนาดบ่อเกือบทั้งหมดไม่สามารถรองรับมูลจากคอกสัตว์ภายในฟาร์มได้หมด บ่อที่สร้างส่วนมากขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งราคาค่าก่อสร้างเฉลี่ย 186,709.52 บาท/บ่อ ขนาด 100 ลบ.ม.) ส่วนใหญ่เกษตรกรรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มอื่นที่มีและใช้ประโยชน์จุากบ่อก๊าซชีวภาพ เหตุผลที่ต้องการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการนำก๊าซที่ได้มาใช้เป็นพลังงานทดแทน ไฟฟ้า และ LPG เดิมที่ใช้อยู่ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย กลิ่นแมลงวัน จากการนำสิ่งปฏิกูลในคอกสัตว์ลงบ่อหมัก ทำให้ลดมลภาวะด้านน้ำเสีย กลิ่น และแมลงวัน ลงได้ระดับหนึ่ง และผลพลอยได้จากบ่อก๊าซชีวภาพจะอยู่ในรูปของก๊าซและของเหลือที่ผ่านขบวนการหมัก ซึ่งก๊าซที่ผลิตได้จะใช้ไม่หมดในแต่ละวันเป็นส่วนใหญ่ และส่วนมากใช้เพียงครัวเรือนเดียวในแต่ละบ่อ ก๊าซส่วนใหญ่นำไปทดแทนพลังงานไฟฟ้า และ LPG ในครัวเรือนและในฟาร์ม ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ ไม่ต่ำกว่า 2,500 บาท/เดือน ในบ่อขนาด 50 และ 100 ลบ.ม. ส่วนกากที่ได้ใช้ในการปรับปรุงดินและจำหน่าย เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระบบก๊าซชีวภาพ และสนับสนุนให้มีการส่งเสริมต่อไป ด้านปัญหาอุปสรรคเกษตรกรต้องการให้ช่างก่อสร้างทำตามรูปแบบ ขั้นตอน และรับผิดชอบในผลงานของตนเอง ข้อตอลงในราคาค่าก่อสร้างชัดเจน มีแหล่งผลิตเครื่องยนต์สำหรับใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงาน และควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ติดตามการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา และให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอในด้านของข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่ยังขาดความรู้ ช่างฝีมือท้องถิ่นเพิ่มเติมโดยเน้นมาตรฐานการก่อสร้างทั้งช่างเก่าและใหม่ ทำสัญญาค่าก่อสร้างชัดเจนระหว่างช่างก่อสร้างและเกษตรกร เน้นสนับสนุนเกษตรกรที่สร้างมลภาวะกับสภาพแวดล้อมและชุมชน รวมถึงสนับสนุนจำนวนบ่อให้รองรับสิ่งปฏิกูลภายในฟาร์มให้หมด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน การใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนสำหรับการผลิตไฟฟ้าบนพื้นที่สูง การส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ Lignocellulolytic Consortium (ระยะที่ 2) การวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสำ หรับครัวเรือน บนที่สูง โครงการศึกษาการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มโคนม แก๊สชีวภาพพลังงานจากมูลสัตว์ ผลของค่าพีเอชและอุณหภูมิต่อความเป็นพิษของแอมโมเนียในการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่ การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียจากการทำฟาร์มกุ้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก