สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์
อุดม เลิศวิทยสกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุดม เลิศวิทยสกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาสภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีประชากรศึกษาเป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร เกษตรกรที่ศึกษาครั้งนี้ จำนวน 80 คน มีอายุเฉลี่ย 47.75 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.8 เพศหญิงร้อยละ 26.2 สถานภาพส่วนใหญ่ร้อยละ 97.5 มีการสมรส มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.02 คน การศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 อยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์การปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 7.62 ปี มีกิจกรรมการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.5 กิจกรรม มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 17.60 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 100.0 มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในโครงการ 10 ไร่ มีจำนวนแรงงานใช้ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 2.23 คนต่อครัวเรือน รายได้ภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 94,730.50 บาทต่อครัวเรือน รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 14,263 บาทต่อครัวเรือน แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ร้อยละ 98.7 กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ด้านตำแหน่งทางสังคมพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.0 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่ม ธ.ก.ส. ร้อยละ 97.5 สถานภาพในกลุ่มทางการเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 88.7 เป็นสมาชิกกลุ่ม สถานภาพในกลุ่มส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 87.5 เป็นสมาชิก มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 4.51 ครั้ง แหล่งข้อมูลการปลูกถั่วเหลืองส่วนใหญ่ร้อยละ 98.7 รับทราบจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานเกษตร 2. สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง 2.1 ฤดูการปลูกถั่วเหลือง แนะนำให้เกษตรกรปลูกฤดูฝนในช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม และฤดูแล้งในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 ปลูกถั่วเหลืองในฤดูฝน และส่วนมากร้อยละ 76.7 จะปลูกในเดือนกรกฎาคม สำหรับฤดูแล้ง พบว่าเกษตรกรปลูกถั่วเหลืองร้อยละ 25.0 และส่วนมากร้อยละ 75.0 จะปลูกในเดือนมกราคม รองลงมาร้อยละ 25.0 ปลูกในเดือนธันวาคม 2.2 ชนิดดินที่เหมาะสมปลูกถั่วเหลืองเป็นดินร่วนหรือร่วนเหนียวที่มีความสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดี พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 ปลูกถั่วเหลืองในดินร่วนปนทราย รองลงมาร้อยละ 45 เป็นดินเหนียว 2.3 ชนิดพืชที่ปลูกในพื้นที่แปลงเดียวกันกับที่ปลูกถั่วเหลือง พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 56.3 ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รองลงมาร้อยละ 25.0 ปลูกข้าว ที่เหลือร้อยละ 17.5 ปลูกถั่วเขียวและร้อยละ 1.2 ปลูกผัก 2.4 พันธุ์ปลูก ได้แนะนำให้เกษตรกรปลูกพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งปลูกได้ดีทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 100.0 ใช้พันธุ์เชียงใหม่ 60 2.5 แหล่งพันธุ์ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 85.0 ใช้พันธุ์มาจากหน่วยงานราชการที่สนับสนุน รองลงมาร้อยละ 7.5 มาจากกองทุนถั่วเหลืองของกลุ่ม ส่วนที่เหลือร้อยละ 5 และ 2.05 ใช้เมล็ดพันธุ์จากร้านค้าและพ่อค้าในท้องถิ่น 2.6 การคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก ได้แนะนำให้เกษตรกรคลุก เมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูกในอัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 15 กก. โดยใช้น้ำเชื่อม เป็นตัวประสานให้เชื้อโรโซเบียมติดเมล็ดถั่วเหลือง พบว่าเกษตรกรร้อยละ 60.0 คลุกเชื้อ ไรโซเบียมอัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 15-17 กก. รองลงมาร้อยละ 22.5 คลุกเชื้อไรโซเบียมอัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 18-20 กก. และร้อยละ 3.7 คลุกเชื้อไรโซเบียมอัตรา 200 กรัมต่อ เมล็ดพันธุ์ 20 กก. ที่เหลือร้อยละ 13.7 ไม่คลุกเชื้อไรโซเบียม ด้วยเหตุผลว่าการคลุกเชื้อไรโซเบียมทำให้เกิดการเหนียวเหนอะติดกับเครื่องหยอดเมล็ด สำหรับวิธีการคลุกเชื้อไรโซเบียมส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 จะคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำก่อนคลุกเชื้อไรโซเบียม 2.7 การเตรียมแปลงปลูก พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 56.2 มีการไถดะ 1 ครั้ง ก่อนปลูกเฉลี่ย 12.18 วัน และพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 มีการไถแปร 1 ครั้งก่อนปลูกเฉลี่ย 4.75 วัน 2.8 การทำให้ดินชุ่มชื้นก่อนปลูกถั่วเหลือง พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ไม่มีการทำให้ดินชุ่มชื้น รองลงมาร้อยละ 25.0 มีการทำให้ดินชุมชื้น โดยการปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงเฉลี่ย 1.100 วัน แล้วระบายน้ำออกให้แห้งก่อนปลูกเฉลี่ย 7.100 วัน 2.9 วิธีการปลูกถั่วเหลือง ได้แนะนำให้เกษตรกรปลูกแบบโรยเป็นแถวมีระยะระหว่างแถว 30-50 ซม. มีจำนวนประมาณ 20 ต้นต่อแถวยาว 1 เมตร หรือหยอดหลุมโดยมีระยะระหว่างแถว 25-30 ซม. และระยะระหว่างหลุม 20-30 ซม. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-18 กก./ไร่ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 58.7 ใช้วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยส่วนใหญ่ร้อย 85.2 ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 36-50 ซม. เฉลี่ย 41.065 ซม. มีระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 5.234 ซม. รองลงมา ร้อยละ 22.5 ใช้วิธีการปลูกแบบหว่าน และร้อยละ 17.5 ใช้วิธีการปลูกแบบหยอดหลุม มีระยะห่างระหว่างหลุมเฉลี่ย 27.857 ซม. 2.10 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก ได้แนะนำให้ใช้ 15-18 กก./ไร่ พบว่าโดยเฉลี่ยเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก 20.262 กก./ไร่ 2.11 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แนะนำให้ใส่ช่วงเตรียมดินอัตรา 300 - 350 กก./ไร่ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 95.0 ใส่น้อยกว่า 15 กก./ไร่ โดยเฉลี่ยใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1.687 กก./ไร่ 2.12 การใส่ปุ๋ยเคมี แนะนำการใส่ปุ๋ยเคมีสูตรปุ๋ยและช่วงเวลาที่เหมาะสมกับชนิดดิน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะใส่ปุ๋ยไม่ตรงคำแนะนำ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 46.0 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 8.087 กก./ไร่ โดยใส่ในช่วงเวลาหลังปลูกเฉลี่ย 18 วัน 2.13 การกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มีการกำจัดวัชพืช พบว่า ร้อยละ 71.3 ใช้ สารเคมีกำจัดวัชพืชโดยมากร้อยละ 63.2 จะใช้ในระยะหลังปลูกหลังถั่วเหลืองงอก ส่วนสารเคมีกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ร้อยละ 49.1 ใช้สารเคมีชื่อการค้าเปอร์ซูต กำจัดวัชพืชใบกว้างและใบแคบ ส่วนการกำจัดวัชพืชโดยการไถดาย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 100.0 ไม่มีการไถดายกำจัดวัชพืชหลังปลูกถั่วเหลือง 2.14 การถอนตัดพันธุ์ปน ได้แนะนำให้เกษตรกรถอนตัดพันธุ์ปน และส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.2 จะถอนตัดพันธุ์ในระยะต้นอ่อนและระยะออกดอก - ฝักอ่อน 2.15 การให้น้ำ แนะนำให้เกษตรกรให้น้ำในระยะสำคัญ 4-5 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 ไม่มีการให้น้ำถั่วเหลืองหลังปลูก ส่วนการปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.0 มีการให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโต 2.16 การระบาดของโรคแมลง สัตว์ศัตรูพืช พบว่า ร้อยละ 100.0 มีการระบาดของ โรคแมลงและสัตว์ศัตรูถั่วเหลือง 2.17 การระบาดของโรคถั่ว พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.5 มีการระบาดของโรครากและโคนเน่า ร้อยละ 83.3 มีความรุนแรงของการระบาดมาก เกษตรกรร้อยละ 70.0 ทำการป้องกันกำจัด และเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 92.9 ใช้วิธีก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเพชรบูรณ์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลือง ปี 2546 จังหวัดเพชรบูรณ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร ตำบลโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สภาพการผลิตถั่วเหลืองปี 2546 /2547 ของเกษตรกรตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การทำแปลงทดสอบเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 พฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูแล้งปี 2546 ของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก