สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องคัดแยกทุเรียนอ่อน
นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องคัดแยกทุเรียนอ่อน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Immature Durian Fruit Grading Machine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกทุเรียนอ่อนประกอบด้วยกิจกรรมที่หนึ่งได้แก่ การวิจัยทดสอบและพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกทุเรียนตามความอ่อน-แก่ของผล เป็นการต่อยอดโครงการคัดแยกความอ่อน-แก่ทุเรียนด้วยเครื่องวิเคราะห์สัญญาณด้วย Fast Fourier Transform โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Matlabในการวิเคราะห์สัญญาณ หาค่าความถี่ธรรมชาติจากการเสียงเคาะมากำหนดค่าความอ่อน-แก่ของทุเรียน โดยไม่ทำลายผลทุเรียน (non-destructive) เครื่องคัดแยกทุเรียนประกอบด้วยชุดลำเลียงผลทุเรียน หัวเคาะและวงจรควบคุม อุปกรณ์รับสัญญาณเสียงเคาะและวงจรควบคุม สัญญาณเสียงเคาะที่ได้จะถูกส่งไปทำการวิเคราะห์ค่าความถี่ธรรมชาติเพื่อกำหนดค่าความอ่อน-แก่ของทุเรียน โดยเครื่องคัดจะทำการคัดแยกผลทุเรียนได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ผลต่อชั่วโมง ที่ค่าความผิดพลาดไม่เกิน ? 2.5 % กิจกรรมที่สองได้แก่ การศึกษาและพัฒนาการใช้น้ำหนักแห้งของผลทุเรียนตรวจสอบความอ่อน-แก่และคุณภาพภายในผลทุเรียน ได้ดำเนินการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักแห้งซึ่งถูกกำหนดให้เป็นดัชนีความอ่อน-แก่กับค่าทางไฟฟ้าของผลทุเรียนซึ่งได้แก่ ค่าความต้านทานและค่าความจุไฟฟ้า พบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในรูปเอ็กโปเนนเชียล (exponential) โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (R2) สูงกว่า 0.75 จากการศึกษาได้มีการดำเนินการออกแบบ สร้าง ทดสอบ ต้นแบบการวัดค่าน้ำหนักแห้งด้วยค่าความต้านทานและความจุไฟฟ้าซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำการพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องวัดความอ่อน-แก่โดยน้ำหนักแห้งของผลทุเรียน เพื่อให้แยกคัดผลทุเรียนได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อลดการคละปนของผลผลิตที่อ่อน ในพื้นที่ผลิตทุเรียน ลดปัญหาการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนไทยเพื่อการค้า และการส่งออก โดยใช้เวลาในการวัดน้อย และมีราคาต่ำ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานได้แก่ เกษตรกร พ่อค้ารับซื้อ ตลอดจนผู้ประกอบการแปรรูปทุเรียน และผู้ส่งออก
บทคัดย่อ (EN): Research and development on immature durian fruits grading machine consisted of two research experiment. Firstly, study and development on non-destructive maturity and internal quality determination machine by natural frequency value of fruit. Fast Fourier Transform attained from MatLab, high-level programming language and interactive environment that able to perform computationally intensive tasks. Quality grading machine consist of fruit conveyor, knocking tip and controlling circuit, sonic receiver, signal amplifier and conditioning circuit, signal controlling circuit and microcomputer with MatLab program. Prototype grading machine is able to determine non-destructively of at least 2,000 fruits per hour within an error of ? 2.5 % Secondary, study and development on non-destructive maturity and internal quality determination by dry matter of flesh fruits from Eastern and Southern parts of Thailand were done for high accuracy and easy procedure in under-matured separation of durian. Objective test in terms of digital value would be applied as standard for quality grading of Thai durians. Two durian electrical parameters such as resistance (R) and capacitance (C) were measured by standard meter are significantly related with their dry matter (DM). Exponential expressions of quality determination of durian could be utilized as database in prototype microcontroller grading machine design and development. Wide spread, precise and speedy prototype grading machine would be achieved to decrease immature combination.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องคัดแยกทุเรียนอ่อน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2551
ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือทดสอบการวัดความแก่อ่อนของทุเรียนแบบไม่ทำลาย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาทุเรียน การสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยความถ่วงจำเพาะ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องวัดความแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้ง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งเมล็ดทุเรียน โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน อิทธิพลของ Paclobutrazol และสภาพแวดล้อม ต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก