สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อผลผลิตและพลังงาน
ชลิดา เล็กสมบูรณ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อผลผลิตและพลังงาน
ชื่อเรื่อง (EN): Sugarcane Improvement for Yield and Energy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชลิดา เล็กสมบูรณ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เนื่องจากอ้อยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของลำต้น เมื่อได้ต้นอ้อยที่มีลักษณะแตกต่างกันทางพันธุกรรมแล้วจะสามารถรักษาพันธุกรรมและขยายพันธุ์ได้ทันที ซึ่งแตกต่างจากพืชที่ขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของเมล็ด นอกจากนี้เนื่องจากพันธุกรรมของอ้อยส่วนใหญ่เป็นแบบไม่คงตัว ทำให้ลูกผสมในรุ่นที่ 1 มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม สามารถคัดเลือกเป็นพันธุ์ใหม่ได้ทันที แต่ทั้งนี้เนื่องจากในระยะแรกแต่ละพันธุ์มีอ้อยเพียง 1 กอ ที่อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคัดเลือกค่อนข้างต่ำ และมีท่อนพันธุ์สำหรับขยายพันธุ์น้อย ดังนั้นจึงมีการคัดเลือกซ้ำในระยะที่ 2 และ 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดเลือกและเพิ่มปริมาณท่อนพันธุ์ จนกระทั่งเหลือพันธุ์ที่คัดเลือกประมาณ 30-40 พันธุ์ในแต่ละปี จะนำไปปลูกทดสอบในพื้นที่ที่ต่างๆทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน และคัดเลือกเหลือประมาณ 10 พันธุ์ ไฟล์แนบ Proposal ไฟล์แนบ ProgressObjective1.ปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกต่างๆและทราบถึงสภาพแวดล้อมจำเพาะในแต่ละพันธุ์ ที่ต้านทานต่อโรคที่สำคัญและมีลักษณะผลผลิตสูงในด้านของน้ำหนักอ้อยและน้ำตาล 2.ต่อยอดโครงการปรับปรุงพันธุ์ของชุดโครงการวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาลโดยได้จากการผสมและคัดเลือกเพื่อให้ได้อ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ 3.ศึกษาวิธีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการได้แก่ การเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับดินที่ไม่เหมาะสม เช่นดินเค็มและสภาพแล้งรวมทั้งด้านการใช้เครื่องหมายโมเลกุล 4.ตรวจสอบพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมต่อการผลิตเอทานอล โดยเป็นพันธุ์ที่สะสมน้ำหนักชีวมวลและความหวาน 5.จัดต้องสถานีผสมพันธุ์อ้อยและแปลงรวมพันธุ์สำหรับผสมพันธ์ ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรีซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมStatusโครงการวิจัยเสร็จสิ้น (ต่อเนื่องปีถัดไป)Expected BenefitIntermidiate Result : ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกต่าง ๆ ในแต่ละภาคของประเทศไทย  ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต โดยมีต้นทุนการผลิตของการปลูกอ้อยที่ต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการปลูกอ้อยเพิ่มสูงขึ้น  ตลอดจนโรงงานน้ำตาลได้วัตถุดิบจากการปลูกอ้อยเพิ่มสูงขึ้น  ได้พันธุ์อ้อยใหม่ ที่มีผลผลิตทั้งอ้อยและน้ำตาลสูง ตลอดจนมีลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งมีผลในการเพิ่มผลผลิตอ้อยและน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีลักษณะเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การผลิตเอทานอลและพลังงาน โดยเกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนน้อย อันเป็นการเพิ่มกำไรแก่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อผลผลิตและพลังงาน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2558
การประเมินเชื้อพันธุกรรมอ้อยป่าเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยพลังงาน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในอ้อยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพในการผลิตอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์ การประเมินพันธุ์อ้อยพลังงานลูกผสม (Saccharum officinarum x S. Spontaneum) และการใช้น้ำทิ้ง (digested) จากระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อการผลิตอ้อยพลังงานในพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์ต่ำและดินลูกรังสำหรับใช้เป็นพืชพล การพัฒนาและประเมินพันธุ์อ้อยใหม่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย การจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยและระบบการผลิตอ้อยเพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตอ้อย ความผันผวนของราคาอ้อยและน้ำตาล ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตอ้อยในประเทศไทย การวิเคราะห์ผลกระทบการผลิตอ้อยจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและสภาพแวดล้อมการผลิต การศึกษาโครงสร้างต้นทุนการผลิตอ้อยจังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก