สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาเพื่อร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีศักยภาพ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
วาสนา. มั่งคั่ง, วาสนา. มั่งคั่ง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาเพื่อร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีศักยภาพ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
ชื่อเรื่อง (EN): Study for Drafting the Test Guidelines (TGs ) of Potential Plants according to Plant Varieties Protection Act B.E. 2542
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พืชที่มีศักยภาพ 5 ชนิด ได้แก่ ไผ่ กะหล่ำปลี ผักกาดหัว มันเทศ และเบญจมาศ เป็นชนิดพืชที่ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นชนิดพืชที่จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ทั้งในและต่างประเทศ ความหลากหลาย การใช้ประโยชน์และการกระจายพันธุ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลพืชทั้ง 5 ชนิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานด้านการคุ้มครองพันธุ์พืช และเตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศกำหนดชนิดพืชให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครองต่อไป ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ของพืชทั้ง 5 ชนิด โดยร่วมกับนักวิจัยของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง มูลนิธิโครงการหลวง องค์การสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ ทัณฑสถานเปิดปราจีนบุรี สวนเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ กะหล่ำปลี เบญจมาศ เพื่อการค้า โดยปลูกทดสอบพืชทั้ง 5 ชนิด เพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ที่สถานที่ดังกล่าว และได้ลักษณะประจำพันธุ์เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ที่ใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ ได้แก่ ไผ่ จำนวน 56 ลักษณะ กะหล่ำปลี จำนวน 32 ลักษณะ ผักกาดหัว จำนวน 28 ลักษณะ มันเทศ จำนวน 29 ลักษณะ และเบญจมาศ จำนวน 82 ลักษณะจากนั้น นำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด โดย ที่ประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักปรับปรุงพันธุ์พืช และผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันพิจารณารายละเอียดในร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด จนกระทั่งได้หลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ที่นำไปทดลองบันทึกข้อมูลในภาคสนาม ปรับปรุงจนสามารถนำไปใช้ในการจำแนกพันธุ์ พืชทั้ง 5 ชนิด และ จัดทำคู่มือบันทึกลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ชนิดละ 1 คู่มือ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาเพื่อร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีศักยภาพ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยการศึกษาสถานภาพและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โครงการศึกษาพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืช ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โครงการวิจัยการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โครงการวิจัยเพิ่มศักยภาพการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไยเพื่อการส่งออกในภาคตะวันออก การศึกษาวิเคราะห์ชนิดสมุนไพรที่มีศักยภาพส่งเสริมการปลูกเป็นการค้า โครงการวิจัยการศึกษาการอนุรักษ์พืชพื้นเมืองในชุมชนและพืชหายากตลอดจนการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนเพื่อการอนุวัตตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โครงการวิจัยการวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตมะม่วง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศ ศักยภาพพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก