สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบผลผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม
วิเชียร รัตนพฤกษ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Comparision of Growth and Yield of Hybrid Coconut Varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิเชียร รัตนพฤกษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vichien Rattanaprik
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานทดลองเปรียบเทียบมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์มะพร้าวที่ให้ผลผลิตสูง ตกผลเร็ว เป็นพันธุ์สำหรับขยายให้กสิกรใช้ปลูก ในปี 2517 ได้สั่งมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมจากสถาบัน I.R.H.O. ประเทศไอวอรี่โคสท์ แอฟริกาตะวันตก เข้ามาปลูกทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ ที่สถานีทดลองพืชสวนสวี จ. ชุมพร ได้ปลูกมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมและพันธุ์ไทย รวม 5 พันธุ์ เริ่มปลูกเมื่อปี 2518 ปัจจุบัน มะพร้าวพันธุ์ลูกผสม มีอายุ 7 ปี การให้ผลผลิตในเบื้องต้นปรากฎว่า พันธุ์ลูกผสม P.B. 121 (พันธุ์สวีลูกผสม 1) ให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้งต่อไร่สูงที่สุด คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 280.72 กก./ไร่ และยังให้จำนวนผลผลิต 57.82 ผล/ต้น สูงที่สุดอีกด้วย พันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ไทยต้นสูงกับเวส์แอฟริกันต้นสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิต น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อไร่เป็นอันดับสอง คือให้ผลผลิต 197.78 กก./ไร่ และจำนวนผลเฉลี่ย 31.68/ต้น สำหรับพันธุ์ไทยต้นสูงให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 46.20 กก./ไร่ และจำนวนผลเฉลี่ย 6.12 ผล/ต้น ต่ำที่สุด
บทคัดย่อ (EN): A comparison trial on hybrid coconut varieties was established at Sawi Horticultural Experimental Station in 1975 with the aim of finding a higher - yielding variety which is more precocious than the local Thai Tall that would be of greater benefit to the farmer. Four hybirids were imported from the Ivory Coast in 1974 and were trial planted with the local Thai tall as a control. Seven years preliminary result suggests that P.B. 121 (Sawi Hybrid No.1) is the highest yielding of all these varieties with Thai Tall x West African Tall hybrid ranking the second an average yield 280.7 kg copra/rai with 57.8 nuts/palm, and 197.8 kg copra/rai with 31.7 nuts/palm respectively. The local Thai Tall has so far yielded only 46.2 kg copra/rai with 6.1 nuts/palm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2526
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบผลผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม
กรมวิชาการเกษตร
2526
เอกสารแนบ 1
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว การทดสอบผลผลิตของหญ้า Panicum maximum 4 สายพันธุ์ ในสวนมะพร้าวและสวนยางพารา โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก การทดแทนน้ำมะพร้าวด้วยน้ำสับปะรดในการผลิตวุ้นมะพร้าว-สับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม การพัฒนากรรมวิธีการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นส่วนประกอบเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารสุขภาพ การทดสอบเปรียบเทียบเครื่องจักรกลและอุปกรณ์เปิดผลมะพร้าวอ่อน การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ : ชุมชนผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ระยะที่ 2) โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีมะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม การผลิตและการบริโภคมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวในประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก